ระนาดหิน เครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเมอนง

(VOVworld)-ตั้งแต่นับพันปีก่อนในเขตเตยเงวียนได้ปรากฎเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เป็นเอกลักษณ์เรียกว่าระนาดหินหรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า กองลู่ เป็นเครื่องดนตรีที่สะท้อนความในใจของชาวเตยเงวียน เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ กับภูผาและป่าเขา สะท้อนลีลาชีวิตที่มีทั้งความทุกข์ความสุขของชาวเตยเงวียน



(VOVworld)-ตั้งแต่นับพันปีก่อนในเขตเตยเงวียนได้ปรากฎเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เป็นเอกลักษณ์เรียกว่าระนาดหินหรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า กองลู่ เป็นเครื่องดนตรีที่สะท้อนความในใจของชาวเตยเงวียน เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ กับภูผาและป่าเขา สะท้อนลีลาชีวิตที่มีทั้งความทุกข์ความสุขของชาวเตยเงวียน

ระนาดหิน เครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเมอนง - ảnh 1
ชาวเมอนงได้ตั้งชื่อระนาดหินว่า กองลู่

ระนาดหินชุดแรกถูกค้นพบในชุมชนชาวเมอนงที่อ.ดั๊ก เรอ เลิบ จ.ดั๊กนงเมื่อปี1993 ซึ่งตามเรื่องเล่าขานจากชาวบ้านนั้น มีชาวบ้านคนหนึ่งที่ไปจับปลาในลำธารแล้วเจอแท่นหิน3แท่นที่เมื่อใช้มือเคาะก็เกิดเสียงที่ไพเราะจับใจ ต่อมาก็มีการศึกษาวิจัยจนสามารถระบุได้ว่าแท่นหินเหล่านี้เป็นชิ้นส่วนของระนาดหินในยุคหินโบราณที่มีอายุประมาณเกือบ3พันปี โดยมนุษย์โบราณได้ใช้หินที่มีอยู่รอบตัวมาทำเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะเร้าใจเหมือนเสียงเพรียกจากป่าเขาลำเนาไพรแห่งเตยเงวียน นาย เหงวียนเติม นักวิจัยเกี่ยวกับระนาดหินของเตยเงวียนได้เผยว่า“แท่นหินเหล่านี้ให้เสียงที่แปลกๆเนื่องจากอยู่ใต้น้ำมานาน ถูกน้ำกัดเซาะส่วนผิวภายนอกจนเหลือแต่ส่วนหินด้านใน ที่แข็งเมื่อลองตีก็มีเสียงก้องและใสเหมือนเสียงระฆังกังวาน นี่คือวัสดุที่ใช้ทำระนาดหิน เมื่อมีการบรรเลงก็เหมือนนำผู้คนผสมผสานเข้ากับธรรมชาติ

จากความสามารถในด้านดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ในการศึกษา ชาวเมอนงก็ได้คิดค้นจัดทำระนาดหินชุดต่างๆเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานอย่างกลมกลืนและการพิชิตธรรมชาติของมนุษย์ โดยแท่นหินที่ใช้ทำเป็นระนาดหินนั้นมักจะเป็นหินควอร์ตไซต์ แปรสภาพมาจากหินทรายหรือหินกรวด ลักษณะของเนื้อหินมีความแน่นและแข็ง โดยแท่นหินเหล่านี้ถูกแกะสลักอย่างละเอียดตามลักษณะสั้นยาว บางหนาที่ไม่เท่ากันเพื่อสามารถให้โทนเสียงที่แตกต่างกัน

ระนาดหิน เครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเมอนง - ảnh 2
ระนาดหินโบราณอายุหลายพันปีที่จังหวัดดั๊กนง

ชาวเมอนงได้ตั้งชื่อระนาดหินว่า กองลู่ ซึ่งหมายถึงเครื่องดนตรีที่สร้างโทนเสียงขึ้นมาเองไม่ต้องมีตัวช่วย โดยจะประกอบด้วยแท่นหิน6แท่นที่มีขนาดไม่เท่ากัน แท่นที่ยาวที่สุดคือประมาณ30เซ็นติเมตร ส่วนแท่นที่สั้นที่สุดก็ราว10เซ็นติเมตร หนักตั้งแต่5-7กิโลกรัม แท่นหินแต่ละอันมีโทนเสียงเท่ากับฆ้อง1ใบในชุดฆ้อง กุงบอร์  ซึ่งเริ่มแรกระนาดหินเป็นเครื่องมือไล่สัตว์ร้ายในป่า ปกป้องพืชผักในสวน ต่อมาก็ถูกนำไปใช้ประกอบในชีวิตวัฒนธรรมชุมชน โดยวันธรรมดาก็จะเก็บไว้อย่างดีเมื่อถึงวันงานสำคัญหรือเทศกาลใหญ่เช่นวันขึ้นปีใหม่ถึงจะเอามาเล่นโชว์ชาวเมอนงเชื่อว่าเสียงระนาดถือเป็นสายสัมพันธ์เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกจิตวิญญาณแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อมระหว่างอดีตและปัจจุบัน นายเดี๋ยวโญม ศิลปินเล่นระนาดหินชาวเมอนงที่จังหวัดดั๊กนงเล่าว่า “เมื่อบรรเลงระนาดหินเราก็คิดถึงบรรพบุรุษ นี่คือเสียงที่เราขาดมิได้ในชีวิตและต้องสืบทอดกันต่อไป เราบรรเลงเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์รับทราบถึงความปรารถนาของชาวบ้าน ปกป้องคุ้มครองให้ชีวิตมีความสงบสุข ข้าวของเต็มคลัง

กาลเวลาผ่านไปนับพันปี แม้จะมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องดนตรีใหม่เช่น กลองและฆ้อง แต่ชาวเตยเงวียนรวมทั้งชาวเมอนงยังคงอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการบรรเลงระนาดหินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนไว้อย่างต่อเนื่อง โดยเสียงระนาดนั้นเสมือนเสียงกระซิบจากธรรมชาติและจากหัวใจของชาวบ้านที่ปรารถนาให้ชีวิตมีแต่ความสงบสุข./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด