ศิลปะการร้องเพลง ดุ๊ม ของชนเผ่าเหมื่อง

(VOVWORLD) -ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหมื่องเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ไม่กี่กลุ่มที่ยังคงธำรงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นเอาไว้อย่างสมบูรณ์ โดยหนึ่งในเอกลักษณ์ที่น่าสนใจคือศิลปะการร้องเพลงดุ๊มหรือเป็นการร้องเพลงโต้ตอบหาคู่ระหว่างหนุ่มสาว ซึ่งนับเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่ขาดมิได้ในชีวิตจิตใจของชาวเหมื่องซึ่งได้รับการสืบทอดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ศิลปะการร้องเพลง ดุ๊ม ของชนเผ่าเหมื่อง - ảnh 1การร้องเพลงดุ๊มเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้แสดงความรู้ความสามารถในทุกด้านเพื่อหาคู่ผ่านการร้องโต้ตอบกัน(internet) 

การร้องเพลงดุ๊มยังเรียกว่าร้องหมู่หรือร้องโต้ตอบมีทำนองเนื้อร้องที่หลากหลายและผูกพันกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมรวมทั้งประเพณีของชุมชนเผ่าเหมื่องตั้งแต่เรื่องการทักทายกัน ความรักของหนุ่มสาว การเก็บเกี่ยว ประเพณีที่โดดเด่น การอวยพรตรุษเต๊ตตลอดจนการสรรเสริญบ้านเกิดเมืองนอน เอกลักษณ์เฉพาะของการร้องเพลงนี้คือความรู้ที่ลึกซึ้งและหลากหลายของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย โดยคนร้องจะต้องแต่งคำร้องเองหรือใช้คำศัพท์จากคลังเพลงพื่นเมืองของเวียดนาม การร้องเพลงดุ๊มเป็นรูปแบบสังสรรค์ชุมชน เป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้แสดงความรู้ความสามารถในทุกด้านเพื่อหาคู่ผ่านการร้องโต้ตอบกันจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในชุมชนชาวเหมื่อง ดร.เหงวียนถิหั่ง ผู้ที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมเผ่าเหมื่องอย่างหลากหลายลึกซึ้งเผยว่า ตั้งแต่อดีตเมื่อมีงานเทศกาลของหมู่บ้านก็จะมีการจัดเวทีให้หนุ่มสาวร้องเพลงหาคู่รักพร้อมพิธีกรรมขว้างลูกช่วงระหว่างกัน ซึ่งในภาษาชนเผ่านั้นลูกช่วงเรียกว่าดุ๊มเลยตั้งชื่อรูปแบบการร้องเพลงโต้ตอบนั้นว่าเป็นการร้องดุ๊ม การร้องดุ๊มเป็นรูปแบบการหาคู่รักของหนุ่มสาวผ่านการเลือกเพลงที่ไพเราะมาร้องตอบกัน ซึ่งถือเป็นลีลาแห่งความรักที่มักจะมีขึ้นในช่วงวสันต์ที่ดอกท้อดอกพลัมบานสะพรั่ง” ท่ามกลางบรรยากาศที่แสนโรแมนติกนั้น การร้องดุ๊มจะใช้ทำนองที่หวานซึ้งเร้าใจ ใช้ภาพที่งดงามจากธรรมชาติเพื่อสะท้อนความในใจจึงทำให้การร้องเพลงดุ๊มนั้นมีความอ่อนหวานไพเราะเพราะพริ้งเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเริ่มด้วยการร้องเพลงทักทายสวัสดี ยินดีได้พบกัน ต่อจากนั้นคือการร้องโต้ตอบ สุดท้ายคือการร้องอำลาและมีการนัดหมายที่จะพบกันต่อไป ในระหว่างการร้องเพลง แต่ละฝ่ายจะส่งหนึ่งคนมาเป็นตัวแทนร้องตอบ ส่วนคนอื่นในกลุ่มจะคอยให้ข้อมูลเรื่องราวต่างๆ โดยมีวงดนตรีประกอบการขับร้องรวม8โทนเสียง ถ้าฝ่ายไหนตอบไม่ได้ก็ถือว่าแพ้ นี่ก็เป็นการทดสอบความสามารถด้านวรรณกรรมและความรู้ระหว่างกัน ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มร้องดุ๊มต้องเป็นคนที่รู้สุภาษิตคำพังเพยและตำนานนิทานต่างๆอย่างหลากหลาย การร้องเพลงดุ๊มไม่มีการพัฒนาในด้านลีลาแต่พัฒนาในทำนองเนื้อร้องเพื่อตอบสนองการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ ศิลปิน เจืองท้ายเวียน ชาวเหมื่องที่อำเภอบ๊าเทือกจังหวัดแทงฮว้าเผยว่า“ในด้านลีลาจะมี4-5แบบเท่านั้นแต่ในระหว่างการร้อง ผู้ร้องได้คิดค้นรูปแบบและทำนองขึ้นมาเองเพื่อให้สอดคล้องกัน”

ในอดีต การร้องเพลงดุ๊มมีสองรูปแบบคือการร้องเป็นกลุ่มเล็กๆที่สามารถร้องได้ทุกที่ทุกเวลาโดยคนร้องจะมีเพียงคนเดียวทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย การร้องเป็นหมู่คณะมักจะเป็นการแสดงตามศาลาประจำหมู่บ้านในงานเทศกาลต่างๆโดยสองฝ่ายชายหญิงจะนั่งเป็นแถวตรงข้ามกัน ถ้าหากคนร้องฝ่ายชายอยากร้องโต้ตอบกับสาวคนไหนของฝ่ายหญิงจะเดินมาร้องเชิญหากฝ่ายหญิงตอบรับก็จะให้ฝ่ายชายจับมือแล้วยืนขึ้นมาร้องเพลงร่วมกัน ซึ่งการร้องดุ๊มอาจจะดำเนินไปจนถึงช่วงค่ำคืนกว่าที่จะถึงตอนร้องอำลากันทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความอาลัยอาวรนัดพบกันในงานครั้งหน้า และจากการเข้าร่วมงานเทศกาลวสันต์ฤดูทุกปีก็มีหนุ่มสาวหลายคู่ได้กลายเป็นคู่รักแล้วมาอยู่ร่วมกันเป็นฝั่งเป็นฝาอย่างมีความสุข. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด