เครื่องดนตรีและศิลปะการฟ้อนรำของชนเผ่าห่าญี่

(VOVworld)-คลังวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าผ่าญี่นั้นมีความหลากหลายมากทั้งการฟ้อนรำ เพลงพื้นเมืองและเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับชีวิตจิตใจของชาวห่าญี่และยังได้รับการสืดทอดมาจนถึงปัจจุบัน


(VOVworld)-คลังวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าผ่าญี่นั้นมีความหลากหลายมากทั้งการฟ้อนรำ เพลงพื้นเมืองและเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับชีวิตจิตใจของชาวห่าญี่และยังได้รับการสืดทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เครื่องดนตรีและศิลปะการฟ้อนรำของชนเผ่าห่าญี่ - ảnh 1
สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงพื้นเมืองหรือในงานสำคัญต่างๆชาวห่าญี่ก็มีครบทั้งเครื่องเป่า เครื่องเคาะ เครื่องตี (Photo internet)

ชุมชนชาวห่าญี่ได้ตั้งหลักอาศัยในเขตเขาสูงบริเวณชายแดนดังนั้นในชีวิตวัฒนธรรมจึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชนเผ่าอื่นๆ โดยการระบำรำฟ้อนและเพลงพื้นเมืองของชาวห่าญี่เสมือนสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงทุกคนในชุมชนเข้าด้วยกันอย่างแน่นแฟ้นมั่นคง แม้จะไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเองแต่ชนเผ่าห่าญี่ก็ยังคงสามารถรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ นายลี้เมอจื่อ ชาวห่าญี่ที่จังหวัดลายเจาเผยว่าเพลงพื้นบ้านของชาวห่าญี่นั้นถือเป็นมรดกที่มีค่ามาก แม้จะอพยพไปตั้งหลักแหล่งที่ไหนและต้องทิ้งสิ่งของทรัพย์สินต่างๆแต่เพลงพื้นเมืองคือสมบัติทางวัฒนธรรมที่เราจะไม่ละทิ้งหากได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

เมื่อกล่าวถึงมรดกที่เป็นดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าห่าญี่ต้องเอ่ยถึงเพลงทำนองโต้ตอบระหว่างชายหญิงของหนุ่มสาวที่ใช้สื่อสารกันในการหาคู่และบอกเล่าความในใจของตน สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงพื้นเมืองหรือในงานสำคัญต่างๆชาวห่าญี่ก็มีครบทั้งเครื่องเป่า เครื่องเคาะ เครื่องตี แต่สิ่งที่ขาดมิได้ในการร้องเพลงโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวคือเครื่องเป่า โดยที่น่าสนใจคือ แคน ชี้ปาโป ที่มีลักษณะคล้ายแคนใบไม้ของชาวม้ง  ส่วนเครื่องเป่าอีกชุดมีชื่อว่า อามบา คือเครื่องดนตรีที่ใช้ต้นฟางเป็นตัวเป่า ทั้งนี้สำหรับหนุ่มสาวห่าญี่การที่จะเล่นดนตรีบางทีแค่ใช้เป็นเหตุผลเพื่อให้พวกเขาได้พบปะสังสรรค์กันเท่านั้น นายเลซิ้เถาะ นักวิจัยเกี่ยวกับชนเผ่าห่าญี่เผยว่า “ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมการร้องเพลงโต้ตอบเพื่อหาคู่รักมักจะมีขึ้นตามงานเทศกาลต่างๆและจะมีการใช้เครื่องดนตรีเป่าในงาน แต่ในขณะเดียวกันการหาคู่นั้นยังมีวิธีการอื่นๆเช่นการพบปะพูดคุยหรือการสังเกตุจากกองฟืนในบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งถ้าฟืนถูกตั้งเป็นกองใหญ่ก็แสดงว่าสาวบ้านนั้นเป็นคนขยัน ซึ่งหนุ่มๆจะพยายามเป่าปี่ร้องเพลงเพื่อเอาใจสาวคนนั้น”

นอกจากการใช้เครื่องเป่าแล้ว เครื่อนดนตรีที่มักจะพบเห็นทั่วไปในงานเทศกาลต่างๆคือกลองและฉิ่ง ฉาบ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะลีลาที่บ่งบอกถึงพลังอันแข็งเเกร่งของชุมชน สำหรับเพลงพื้นเมืองประกอบการฟ้อนรำของชาวห่าญี่นั้นก็มีความหลากหลายเช่น เพลงกล่อมลูก เพลงรับแขกเชิญดื่มเหล้า เพลงส่งเสียในงานศพ เพลงรื่นเริงฉลองบ้านใหม่-ข้าวใหม่ เป็นต้น นายเลวันเทียด เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่า“การฟ้อนรำและเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าห่าญี่ล้วนสะท้อนภาพของชีวิตประจำวันพร้อมประเพณีต่างๆเช่น การรำทอผ้า ที่บรรยายเกี่ยวกับงานทอผ้าของชาวท้องถิ่น หรือการรำซามาน ที่ใช้ประกอบการเซ่นไหว้ในเทศกาลโคหย่าหย่าที่มีการผสานระหว่างดนตรีพื้นเมืองและบทสวดของหมอผี”

ปัจจุบันนี้ ชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนชาวห่าญี่แม้จะมีการผสานกับวัฒนธรรมของชนเผ่าอื่นๆและเริ่มปรากฎรูปแบบวัฒนธรรมใหม่เช่นมีเพลงที่มีทำนองเนื้อหาใหม่รวมทั้งเพลงต่างชาติ แต่ทุกอย่างล้วนได้รับการถ่ายทอดเผยแพร่เป็นภาษาห่าญี่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิธีการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าห่าญี่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกียรติประวัติของชนเผ่าตนได้รับการพัฒนาคงอยู่ต่อไปในสังคมที่ทันสมัย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด