เอกลักษณ์วัฒนธรรมของ ชนเผ่าจูรู ในเขตเตยเงวียน

(VOVWORLD) -วัฒนธรรมของชนเผ่า จูรู ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่สร้างความดึงดูดใจให้แก่ผู้ที่มีโอกาสเยือนเขตที่ราบสูงเตยเงวียนจนหลงรักและอยากค้นคว้าสิ่งที่แปลกใหม่อีกมากมายตั้งแต่ชุดแต่งกาย ศิลปะพื้นเมืองไปจนถึงอาชีพการทำเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ชาวจูรูได้พยายามอนุรักษ์และพัฒนาอย่างสมบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้
เอกลักษณ์วัฒนธรรมของ ชนเผ่าจูรู ในเขตเตยเงวียน - ảnh 1(photo internet) 

ชนเผ่าจูรูมีคลังวัฒนธรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจและมีความหมายสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านบทเพลงหรือสุภาษิตที่ยกย่องบทบาทของสตรีและการต่อสู้กับธรรมชาติเพื่อชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก สำหรับเครื่องดนตรีมักจะใช้ กลอง ปี่เรอเกล ดงลา โดยเฉพาะฆ้อง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดมิได้ในทุกกิจกรรมและในทุกการแสดงรำ ตามีอา อาร์ยา ที่ชาวจูรูทุกเพศทุกวัยคุ้นเคย นาง ลิงงา เนียเกอดาม นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆในเขตเตยเงวียนเผยว่า“เผ่าจูรูมีฆ้องชุด3ใบและการแสดงฆ้องก็แตกต่างกับอีกหลายชนเผ่าที่มักถือฆ้องคนละใบเเล้วเดินรำเป็นวงกลมรอบกองไฟหรือรอบเสาตุง แต่ชาวจูรูจะแขวนฆ้องไว้หรือวางบนโครงตั้งเพื่อให้ศิลปินแสดงเพียงคนเดียว”

ชาวเผ่าจูรูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีฝีมือดีและมีภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ในการใช้ดินเพื่อทำเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน  ซึ่งที่หมู่บ้าน กรังเกาะ อ.เดินเยือง จ.เลิมด่ง ยังคงรักษาอาชีพทำเครื่องเคลือบดินเผาพื้นเมืองที่เก่าแก่เป็นพันปี เทคนิกการทำเครื่องเคลือบดินเผาของพวกเขาก็ไม่ยุ่งยากมากเพราะเป็นงานหัตกรรมทั้งหมด หลังจากปั้นนวดเป็นสิ่งของที่ต้องการก็จะนำไปเผาโดยมักจะทำในช่วงหน้าเเล้งเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมปีถัดไป นางเลืองแทงเซิน นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าเตยเงวียนเผยว่า“อาชีพการทำเครื่องเคลือบดินเผาของชนเผ่าจูรูเหมือนของชาวจามที่หมู่บ้านเบ่าจุกคือจะไม่ใช้ฐานหมุนในการปั้นดิน หากคนทำต้องวิ่งหมุนตามเสาหลักที่ตั้งไว้เพื่อปั้นดิน ส่วนการเผานั้นก็ได้ทำแบบดั้งเดิมไม่มีการสร้างเตาเผาเหมือนหมู่บ้านอื่นๆ”

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของ ชนเผ่าจูรู ในเขตเตยเงวียน - ảnh 2 วิธีการทำเครื่องเคลือบดินเผาของชาวจูรู(internet)

หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในชีวิตวัฒนธรรมของชนเผ่าจูรูคือเรื่องงานแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆในครอบครัวและก็เป็นฝ่ายเลือกคู่ ส่วนลูกหลานที่เกิดมาก็ใช้นามสกุลของแม่ จนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีการ “จับสามี” ของชาวจูรูยังคงได้รับการรักษาและปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องในชุมชนชาวจูรูที่จังหวัดเลิมด่ง ตามนั้นเมื่อมีสาวคนใดถึงวัยแต่งงานแล้วชอบผู้ชายคนไหนก็จะคุยกับพ่อแม่เพื่อนำสิ่งของไปขอหมั้น ถึงฤดูใบไม้ผลิ ฝ่ายหญิงจะเลือกวันที่มีฤกษ์ดีเพื่อนำสิ่งของไปที่บ้านฝ่ายชายสู่ขอ หากฝ่ายชายยังไม่รับก็จะนัดกลับมาใหม่ในโอกาสหน้าจนกว่าจะได้รับคำตอบตกลง ซึ่งถ้าหากผู้ชายคนนั่นยังไม่ยอม ฝ่ายหญิงก็จะพยายามหาทางใส่แหวนหมั้นให้ได้เพราะถ้าใส่แหวนหมั้นที่นิ้วมือของผู้ชายได้แล้วก็ถือว่าภารกิจ “จับสามี” ประสบความสำเร็จ ซึ่งหากฝ่ายชายยังถอดแหวนหมั้นคืนก็จะต้องเตรียมวัวควายและเหล้าเป็นสิ่งของชดเชยให้แก่ฝ่ายหญิง แต่ถ้าหากทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน ฝ่ายหญิงก็จะเตรียมพร้อมสิ่งของทุกอย่างตามคำเรียกร้องของฝ่ายชายเพื่อจัดงานแต่งงาน  เมื่อถึงวันแต่งงาน ฝ่ายหญิงก็จะส่งขบวนไปรับเจ้าบ่าว โดยคู่บ่าวสาวจะถูกผูกมัดด้วยกันพร้อมมีผ้าคลุมศรีษะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการที่สำคัญเพื่อเป็นการอวยพรให้ทั้งคู่ได้อยู่ร่วมกันเป็นสุขไปตลอดชีวิต.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด