การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมฆ้องของเตยเงวียน

VOVworld - 5 การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมตามกลไกตลาดได้ส่งผลกระทบในทางลบทำให้วัฒนธรรมและเทศกาลพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยในเตยเงวียนถูกหลงลืมโดยปริยาย แต่มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของตนไว้ได้อย่างไม่ถูกกลมกลืนนั่นคือหมู่บ้านเมอ หรา ตำบลเตอตุง อำเภอคบาง ซึ่งได้อนุรักษ์วัฒนธรรมการบรรเลงฆ้องพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยบานาโดยศิลปินผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดเทคนิกและศิลปะการตีฆ้องให้แก่ชนรุ่นหลัง

VOVworld - 5 การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมตามกลไกตลาดได้ส่งผลกระทบในทางลบทำให้วัฒนธรรมและเทศกาลพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยในเตยเงวียนถูกหลงลืมโดยปริยาย แต่มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของตนไว้ได้อย่างไม่ถูกกลมกลืนนั่นคือหมู่บ้านเมอ หรา ตำบลเตอตุง อำเภอคบาง ซึ่งได้อนุรักษ์วัฒนธรรมการบรรเลงฆ้องพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยบานาโดยศิลปินผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดเทคนิกและศิลปะการตีฆ้องให้แก่ชนรุ่นหลัง

การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมฆ้องของเตยเงวียน  - ảnh 1
ทีมฆ้องของเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ( ภาพอินเตอร์เน็ต )

พวกเรามาเยี่ยมเยือนบ้าโรงของหมู่บ้านเมอ หรา ตำบลเตอตุงตรงกับช่วงเวลาที่ทางหมู่บ้านกำลังจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นเมืองในชุมชน  ชาวบ้านสวมใส่ชุดพื้นเมืองกำลังพูดคุยกันอย่างคึกคักท่ามกลางเสียงเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าบานาจากการบรรเลงของพิณกอองและพิณเกอนีพื้นเมืองดังไปทั่วบริเวณหมู่บ้านอันเป็นการนำเขตที่ราบสูงเตยเงวียนที่เต็มไปด้วยป่าทึบและภูผาสูงหวนกลับมากับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ต่อจากการร้องเพลงพื้นเมืองคือช่วงเวลาเข้าสู่การฝึกบรรเลงฆ้องของทีมฆ้องหนุ่มสาว ๔๐ ชีวิตของหมู่บ้าน  พวกเขาใส่ชุดพื้นเมืองของชนเผ่าบานา ซึ่งชุดนี้แต่ละครอบครัวต้องทอด้วยมือเอง  ทีมฆ้องดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมที่มีอายุที่แตกต่างกันตั้งแต่เด็ก ๖ ขวบไปจนถึงอายุ ๑๗ ปี เด็กหญิงดิงเลอ อายุ ๗ ขวบที่มีอายุน้อยที่สุดของทีม   “ หนูชอบเรียนตีฆ้องมากๆ หนูจะพยายามเรียนให้ดี เพื่อมีส่วนร่วมในการการอนุรักษ์วัฒนธรรมการตีฆ้องของชาวบ้าน

การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมฆ้องของเตยเงวียน  - ảnh 2
หนุ่มสาวชนเผ่าตีฆ้องในงานเทศกาล ( ภาพจากอินเตอรืเน็ต )

ศิลปินดิงเจินหัวหน้าทีมฆ้องของหมู่บ้านคุยกับพวกเราขณะกำลังฝึกการตีฆ้องให้กับเด็กว่า ท่านได้ร่วมงานนี้มากว่า ๕ ปี  ท่านกับศิลปินคนอื่นๆของหมู่บ้านรู้สึกดีใจและเต็มใจที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตนโดยไม่คำนึงถึงค่าตอบแทน “ เด็กๆมีความก้าวหน้ามากโดยสามารถตีฆ้องตามจังหวะแทงกระบือและเทศกาลข้าวใหม่  พวกเขามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมฆ้องทำให้เรารู้สึกมีความสุข ผมหวังว่าชนรุ่นหลังๆของหมู่บ้านจะรู้จักส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าบานาตราบนานเท่านาน
แม้จะไม่เข้าใจความหมายของบทเพลงได้ทั้งหทด แต่จากจิตใจการถ่ายทอดของศิลปินให้แก่ชนรุ่นหลัง พวกเราจะเข้าใจถึงใจรักและพลังอันอมตะของวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าบานา  ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องในหมู่ชาวเผ่าบานาจังหวัดยาลายที่ได้รับการดำเนินมาตั้งแต่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษย์ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด