การเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์ในเขตที่รายสูงหินห่ายาง

(VOVworld) – สำหรับชาวม้งบนที่ราบสูงหินห่ายาง วัวไม่เพียงแต่ช่วยชาวบ้านในการทำนาเท่านั้น หากยังเป็นการทำปศุสัตว์ที่มีกำไรสูงอีกด้วย ดังนั้น ทางการอำเภอแหม่วหวาก จังหวัดห่ายางได้ระบุให้การเลี้ยงวัวในเชิงพาณิชย์เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้สูงและมีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรของอำเภอ

(VOVworld) – สำหรับชาวม้งบนที่ราบสูงหินห่ายาง วัวไม่เพียงแต่ช่วยชาวบ้านในการทำนาเท่านั้น หากยังเป็นการทำปศุสัตว์ที่มีกำไรสูงอีกด้วย ดังนั้น ทางการอำเภอแหม่วหวาก จังหวัดห่ายางได้ระบุให้การเลี้ยงวัวในเชิงพาณิชย์เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้สูงและมีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรของอำเภอ

การเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์ในเขตที่รายสูงหินห่ายาง - ảnh 1
ตลาดวัวในเขตที่ราบสูงหินห่ายาง

ในรอบ 10 ปีมานี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดห่ายางมีการเปลี่ยนแปลงมาก โดยผลสำเร็จของโครงการเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์ได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการเปลี่ยนโฉมใหม่ของท้องถิ่น เพื่อสามารถเป็นฝ่ายรุกในการเลี้ยงฝูงสัตว์ขนาดใหญ่ ทางอำเภอได้ปฏิบัติโครงการปลูกหญ้าในพื้นที่ว่างเปล่า เช่น พื้นที่ริมถนน และริมรั้วหิน เป็นต้น ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวและพืชเพื่อค้ำประกันด้านโภชนาการ ปริมาณและคุณภาพของวัวในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้และทั้งนั้นได้ช่วยให้การเลี้ยงวัวของชาวบ้านสะดวกมากขึ้น นายเหล่ามี้หวื่อ นายกสมาคมเกษตรกรตำบลก๊านจูฝิ่น อำเภอแหม่วหวากเผยว่า “ถึงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม มีแม่คะนิ้งทำให้หญ้าเหี่ยวทั้งหมด พวกเราต้องหาหญ้าในป่า แต่ถ้าหากครอบครัวใดสามารถปลูกหญ้าได้ก็จะตัดแล้วหมักเป็นหญ้าเปรี้ยวเพื่อใช้เป็นอาหารให้แก่วัวในช่วงเวลานั้น”
ปัจจุบันนี้ ที่ตำบาลก๊านจูฝิ่น มีวัวประมาณ 1,700 ตัวและมีครอบครัวประมาณ 40 ครอบครัวทำการแลกเปลี่ยนและซื้อขายวัวเพื่อนำไปขุนให้อ้วน ซึ่งมีรายได้สูงมาก ดังนั้น ทางการปกครองตำบลจะเน้นส่งเสริมให้ชาวบ้านลงทุนให้แก่อาชีพนี้มากขึ้น ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญช่วยให้ประชาชนแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนและเพิ่มจำนวนครอบครัวที่ร่ำรวยในท้องถิ่นมากขึ้น พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงวัวอย่างมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนอีกด้วย นายหวื่อเผยว่า “หน่วยงานต่างๆได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการเกษตรของอำเภอจัดการฝึกอบรมปีละ 2 ครั้งให้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการเลี้ยงวัวให้มีประสิทธิภาพ อย่างเช่น วิธีดูแลไม่ให้วัวตายในช่วงเวลาที่อากาศหนาวจัด วัวเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของประชาชน ถ้าหากมีวัว ครอบครัวนั้นก็ถือเป็นครอบครัวที่มีฐานะปานกลางแล้ว”
ในหลายปีมานี้ จากการขุนวัวให้อ้วนแต่ละครอบครัวจะมีกำไรประมาณ 60-70 ล้านด่งต่อปี ซึ่งช่วยให้หลายครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจนและมีฐานะดีขึ้น อย่างเช่น ครอบครัวคุณสุ่งซ้ายโนที่เดินหน้าในการพัฒนาการเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์เผยว่า “ครอบครัวของผมเลี้ยงวัวสองตัวเป็นประจำ บางทีมีถึง 6 ตัว แต่ผมชอบเลี้ยงแบบ ขุนวัวให้อ้วนแล้วขาย ที่นี่การทำเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ทำได้ยากมาก แต่การเลี้ยงวัวทำได้ง่ายหน่อย สิ่งที่สำคัญในการขุนวัวให้อ้วนคือต้องดูแลอย่างดี วัวไม่เพียงแต่กินหญ้าเท่านั้น หากต้องกินน้ำกากส่าและข้าวโพดถึงจะอ้วนขึ้น”

การเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์ในเขตที่รายสูงหินห่ายาง - ảnh 2
วัวเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของชาวบ้าน

โครงการพัฒนาการเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์หรืออาชีพการขุนวัวให้อ้วนได้สร้างก้าวกระโดดใหม่ในกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนในอำเภอแหม่วหวาก เนื่องจากการพัฒนาอาชีพนี้ ในแต่ละปี ครอบครัวที่ยากจนในอำเภอได้ลดลงและรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของอำเภอได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนค่อยๆดีขึ้น ซึ่งช่วยให้พวกเขามีเงินลงทุน ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงวัวให้ดีขึ้น นายสุ่งซ้าจ๊า ชาวบ้านตำบลก๊านจูฝิ่นชี้เครื่องหั่นหญ้าและกล่าวด้วยความยินดีว่า “เราใช้เครื่องนี้หั่นหญ้าทั้งหมด ไม่ต้องหั่นด้วยมือแล้ว เครื่องนี้มีราคาเกือบ 5 ล้านด่ง ผมเลี้ยงวัวหลายตัว ถ้าหากไม่มีเครื่องหั่น จะลำบากมาก เพราะวัวของผมต้องกินหญ้าประมาณ 30กิโลกรัมต่อวัน”
การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์เป็นฝูงใหญ่ได้ช่วยให้ชาวม้งในอำเภอแหม่วหวาก จังหวัดห่ายางค่อยๆหลุดพ้นจากความยากจน จากแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงวัวเชิงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดห่ายางได้ชี้นำให้ประชาชนผลักดันและขยายพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่สัตว์เลี้ยง ซึ่งจะพยายามเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้าให้ได้กว่า 19,000 เฮ็กต้าภายในปี 2020  พร้อมทั้งปฏิบัตินโยบายให้ดอกเบี้ยพิเศษแก่เกษตรกรในการก่อสร้างคอกและซื้อวัว พัฒนาอาชีพเลี้ยงสัตว์ให้กลายเป็นอาชีพที่ทำรายได้สูง เพิ่มสัดส่วนอาชีพเลี้ยงสัตว์ในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเกษตรและชนบทในภารกิจการแก้ปัญหายากจนอย่างยั่งยืนให้แก่ชนกลุ่มน้อยในเขตที่รายสูงหินห่ายาง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด