การแปลร้อยกรองเรื่องนางเกี่ยว-การพิชิตผลงานวรรณคดีอมตะ

( VOVworld )- ร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”ของกวีเอกเหงวียน ซูเป็นผลงานวรรณคดีอมตะและเป็นผลงานวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่  ดังนั้นการแปล “ เรื่องนางเกี่ยว ”เป็นภาษาต่างประเทศและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนั้นเป็นงานที่ยากยิ่งที่ต้องใช้ความพยายามและความรู้รอบตัวของผู้แปล  จนถึงปัจจุบันนี้ ผลงาน “ เรื่องนางเกี่ยว ”ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า ๒๐ ภาษาในทั่วโลก ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะมีผู้ที่รักภาษาเวียดนามและรักนวนิยาย “ เรื่องนางเกี่ยว ” อีกเป็นจำนวนมาก


( VOVworld )- ร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”ของกวีเอกเหงวียน ซูเป็นผลงานวรรณคดีอมตะและเป็นผลงานวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่  ดังนั้นการแปล “ เรื่องนางเกี่ยว ”เป็นภาษาต่างประเทศและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนั้นเป็นงานที่ยากยิ่งที่ต้องใช้ความพยายามและความรู้รอบตัวของผู้แปล  จนถึงปัจจุบันนี้ ผลงาน “ เรื่องนางเกี่ยว ”ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า ๒๐ ภาษาในทั่วโลก ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะมีผู้ที่รักภาษาเวียดนามและรักนวนิยาย “ เรื่องนางเกี่ยว ” อีกเป็นจำนวนมาก

การแปลร้อยกรองเรื่องนางเกี่ยว-การพิชิตผลงานวรรณคดีอมตะ - ảnh 1
นายจาน โกมาเร็ก 

นายจาน โกมาเร็ก อายุ ๒๓ ปีที่เรียนในมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็กแปลร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”จากภาษาเวียดนามเป็นภาษาเช็กได้ ๒๐๐ประโยค  จากผลงานนี้ นายจาน โกมาเร็กได้รับรางวัลนักแปลวัยหนุ่มรุ่นอายุต่ำกว่า ๓๕ ปี  นายจาน โกมาเร็กคุยว่า มีชาวเวียดนามประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนที่อาศัยในสาธารณรัฐเช็ก  แม้เวียดนามและเช็กมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแต่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นยังไม่ทัดเทียมกับศักยภาพที่มีอยู่

โดยเฉพาะในด้านวรรณกรรม มีผลงานไม่กี่เรื่องที่ได้รับการแปลเป็นภาษาเช็กเช่น ร้อยกรองชุดของกวีหญิงโห่ ซวน เฮือง เรื่องนางเกี่ยวและบันทึกคุก  สำหรับผลงาน “ เรื่องนางเกี่ยว ”ถูกแปลเป็นภาษาเช็กครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.๑๙๒๖ และ๑๙๕๘ และล้วนถูกแปลผ่านภาษาที่สองคือภาษาฝรั่งเศสจึงไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร  จากการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ “ เรื่องนางเกี่ยว ” บวกกับความหลงไหลในภาษาเวียดนามทำให้นายจาน โกมาเร็กได้กลายเป็นคนแรกที่แปลร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”จากภาษาเวียดนามมาเป็นภาษาเช็ก   นายจาน โกมาเร็กคุยต่อไปว่า“ คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของร้อยกรอง เรื่องนางเกี่ยวอยู่ตรงที่ภาษาเวียดนาม  ผมเคยอ่านเรื่องนางเกี่ยวที่เป็นภาษาเช็กแต่แปลผ่านภาษาที่สองคือภาษาฝรั่งเศส  ผมชอบเรื่องราวของมันแต่คิดว่า ผลงานแปลไม่ค่อยดีนัก ซึ่งถ้าแปลผ่านผลงานที่แปลเป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่าเพราะจะได้มีสัมผัสในและนอกเหมือนต้นฉบับ  เครืองมือที่ใช้ในการแปลของผมได้แก่ หนังสือคำแปลหรืออธิบายที่เป็นภาษาเวียดนาม พจนานุกรมเรื่องนางเกี่ยวของท่านด่าว ซุย แองและผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษของนักแปลหวิ่ง แซง ทง ”

การแปลร้อยกรองเรื่องนางเกี่ยว-การพิชิตผลงานวรรณคดีอมตะ - ảnh 2
หน้าปกเรื่องนางเกี่ยว

การแปลผลงาน “ เรื่องนางเกี่ยว ”เป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษายังคงเป็นงานยากแม้กระทั่งสำหรับชาวเวียดนามที่กำลังอาศัยและศึกษาในต่างประเทศ นักแปลเจือง โห่ง กวาง เปิดเผยว่า เมื่อปีค.ศ.๑๙๕๑ ประธานโฮจิมินห์ได้มอบร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”ให้แก่นาย ฟร้อง ฟาเบอร์ที่เป็นนักข่าวกำลังปฏิบัติหน้าที่ในการสู้รบที่เดียน เบียน ฟู  เนื่องจากมีใจรักต่อวัฒนธรรมเวียดนาม นายฟร้อง ฟาเบอร์กับภรรยาได้แปลผลงานนี้เป็นภาษาเยอรมนีและพิมพ์เป็นเล่มในปีค.ศ.๑๙๖๔และได้พิมพ์ครั้งที่สองเมื่อปีค.ศ.๑๙๘๐   นายเจือง โห่ง กวางเปิดเผยถึงการตีพิมพ์ผลงานแปลของนายฟร้อง ฟาเบอร์ว่า “ การแปลใหม่ผลงานเป็นงานของคนรุ่นใหม่  งานของพวกเราคือตีพิมพ์ผลงานที่ได้แปลแล้วอีกครั้ง แต่จะตีพิมพ์เป็นสองภาษาคือ เยอรมนีและเวียดนามเพราะปัจจุบันมีชาวเวียดนามรวมทั้งรุ่นที่สองที่กำลังอาศัยอยู่ในเยอรมนี ๑๒๐,๐๐๐ คน พวกเขาอยากอ่านเรื่องนางเกี่ยวเพราะสามารถใช้ได้สองภาษา  ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจวัฒนธรรมของชาติตนผ่านลีลาการสนทนา มีการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมและภาษาเยอรมนี ซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่ดี ”

การแปลร้อยกรองเรื่องนางเกี่ยว-การพิชิตผลงานวรรณคดีอมตะ - ảnh 3
นางเกี่ยวและกีมจ่องตัวละครนำ
กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา นักแปลผลงานวรรณกรรมเหงวียน ฮุย หว่างได้แสวงหาการสนับสนุนจากชาวเวียดนามเพื่อแปลเรื่องนางเกี่ยวกจากต้นฉบับเป็นภาษารัสเซีย   นายหว่างเล่าว่า สถาบันตะวันออก คณะภาษาวรรณกรรมของมหาวิทยาลัยต่างๆและสถาบันเวียดนามศึกษาในรัสเซียกำลังรอคอยผลงานแปลเรื่องนางเกี่ยวที่สมบูรณ์และแม่นยำเพื่อที่จะเข้าใจวรรณคดีเวียดนามมากขึ้น นายหว่างกล่าวว่า“ ทีมแปลของเราประกอบด้วยคนรัสเซียและคนเวียดนาม นี่เป็นผลงานของทีมสองประเทศไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง การแปลผลงานเรื่องนางเกี่ยวนั้นเพื่อทำให้รัสเซียซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจด้านวัฒนธรรมเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประชาชาติเวียดนามมากขึ้น  หากทำไม่ได้ก็ถือว่าพวกเราเป็นหนี้ โดยเฉพาะผมที่เกิดมาเป็นคนจังหวัดเหง่ อาน ”

ร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”ได้รับการแต่งในแนวสัมผัส ๖ และ ๘ ทีมนักแปลยึดหลักความถูกต้องตรงกับต้นฉบับ แต่สิ่งที่ยากสำหรับพวกเขาคือต้องเปลี่ยนสไตล์และลีลาการเขียนให้เหมาะกับวรรณกรรมและถูกรสนิยมของชาวรัสเซีย  นายหว่างเล่าต่อไปว่า นักแปลดีจะต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการได้แก่ แตกฉานทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาเวียดนามและมีความสามารถในด้านวิชาชีพ แต่สำหรับผลงาน “ เรื่องนางเกี่ยว ” นั้นคุณสมบัติ ๓ ข้อนี้ยังไม่พอเพราะ “ เรื่องนางเกี่ยว ” เป็นผลงานอมตะและยิ่งใหญ่โดยเฉพาะในการใช้ภาษาที่ดีเยี่ยมของผู้เขียน แต่ละชาติแต่ละภาษาย่อมมีวัฒนธรรมของตนเอง นักแปลจะต้องพยายามเข้าใจวัฒนธรรมของภาษาทั้งสองภาษาคือภาษาต้นทางและภาษาปลายทางที่ตนกำลังใช้ทำงานอยู่ให้ถ่องแท้ บทแปลที่ทำสำเร็จแล้วจึงจะเป็นบทแปลที่สมบูรณ์แบบ วรรณกรรมสมัยเก่าและวรรณกรรมสมัยใหม่ ภาษาและลีลาในการเขียนของแต่ละยุคสมัยย่อมไม่เหมือนกันดังนั้นพวกเราพยายามทำให้มีความเรียบง่ายและใกล้ชิดกับสมัยใหม่มากขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงสาระของผลงานและเข้าใจศิลปะของเรื่องนางเกี่ยว  ผมหวังว่า หลังจากแปลเสร็จ ผลงานจะได้เขียนเป็นร้อยกรองโดยชาวรัสเซียจะได้รับการยอมรับจากผู้อ่าน

การแปลร้อยกรอง “ เรื่องนางเกี่ยว ”ต้องการนักแปลที่มีความรู้รอบตัวนอกเหนือจากความแตกฉานด้านภาษา  ดังนั้นเพื่อประชาสัมพันธ์วรรณกรรมเวียดนาม โดยเฉพาะเรื่องนางเกี่ยวของกวีเอกเหงวียน ซูออกสู่สายตาชาวโลกที่ต้องการผู้มีความหลงไหล มีใจรักต่องานแปลและการวางแผนระยะยาว .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด