ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่นห์

( VOVworld )- มีคำขวัญที่กล่าวถึงชีวิตประจำที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเหมื่อง จังหวัดหว่า บิ่นห์ เขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือประเทศเวียดนามว่า “ ข้าวนึ่ง บ้านเรือนไม้ยกพื้น น้ำหาบและหมูเผา ” แต่สิ่งที่ขาดมิได้ในชีวิตของพวกเขาคือฆ้อง โดยในงานเทศกาลหรือในชีวิตประจำวันชนเผ่าเหมื่องมักจะตีฆ้องและร้องโต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน  ปัจจุบัน เสียงฆ้องเหมื่องไม่ได้ฟังแค่เฉพาะในหมู่บ้านเท่านั้น หากยังได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศและทั่วโลกผ่านการแสดงของคณะศิลปะของชนเผ่าเหมื่อง


( VOVworld )-
มีคำขวัญที่กล่าวถึงชีวิตประจำที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเหมื่อง จังหวัดหว่า บิ่นห์ เขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือประเทศเวียดนามว่า “ ข้าวนึ่ง บ้านเรือนไม้ยกพื้น น้ำหาบและหมูเผา ” แต่สิ่งที่ขาดมิได้ในชีวิตของพวกเขาคือฆ้อง โดยในงานเทศกาลหรือในชีวิตประจำวันชนเผ่าเหมื่องมักจะตีฆ้องและร้องโต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน  ปัจจุบัน เสียงฆ้องเหมื่องไม่ได้ฟังแค่เฉพาะในหมู่บ้านเท่านั้น หากยังได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศและทั่วโลกผ่านการแสดงของคณะศิลปะของชนเผ่าเหมื่อง

ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่นห์ - ảnh 1

เวลา ๑๐.๐๐น.วันหนึ่งของเดือนมิถุนายนที่แดดส่องแสงแรงกล้าและอากาศร้อนอบอ้าวทำให้คนเรามักจะหาที่หลบแดดใต้ร่มไม้หรือนั่งอยู่ในห้องแอร์ดื่มน้ำเย็นๆ แต่ในบริเวณเวทีกลางแจ้งกว้างประมาณ ๓๐ ตารางเมตรในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามกลับเต็มไปด้วยผู้ชมที่มีอายุตั้งแต่ ๔ ขวบไปจนถึงผู้ปกครองและนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังรอคอยการบรรเลงฆ้องวงจากคณะศิลปะชนเผ่าเหมื่องจังหวัดหว่า บิ่นห์ คณะนักแสดงรวม ๗ คนเป็นชาย ๕ คนและหญิง ๒ คนอายุตั้งแต่ ๓๕ถึง ๖๕ ปีในชุดแต่งกายประจำชนเผ่าเหมื่อง  โดยผู้ชายสวมกางเกงและเสื้อแขนยาวสีน้ำตาลและสีเขียวธรรมชาติจากเปลือกไม้ด้วยกรรมวิธีการย้อมผ้าแบบธรรมชาติ  ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อสีขาวรัดรูปถึงเอว กระโปรงรัดรูปสีดำ ชายกระโปรงมีลวดลายพื้นเมืองจากฝีมือทอผ้าของสาวชนเผ่าเหมื่อง ที่เอวรัดเข็มขัดสีเขียว   นักแสดงทั้ง๗ คนเป็นสมาชิกสโมสรของนายบุ่ย เตี๊ยน โซ อายุ ๖๓ ปี ที่ตำบลกีม เตี๊ยน อำเภอกีม โบย จังหวัดหว่า บิ่นห์  สโมสรมีสมาชิก ๕๐ ชีวิตและได้รับการจัดตั้งมากว่า ๑๐ ปีเพื่ออนุรักษ์ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องซึ่งเป็นมรดก  ปัจจุบันครอบครัวของนายโซยังเก็บรักษาฆ้องโบราณกว่า ๓๐ ใบที่มีอายุตั้งแต่ ๔๐๐ ปีขึ้นไป  คุณลุงดินห์ วัน ถึก อายุ ๗๐ ปีสมาชิกสูงอายุมากที่สุดของคณะเปิดเผยว่า  “ ปีนี้ลุงมีอายุสูงมากแล้ว ลุงโตมากับฆ้อง  ฆ้องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชนเผ่าเหมื่อง โดยในงานเทศกาลต่างๆทางจิตวิญญาณ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานข้าวใหม่และเทศกาลตรุษเต็ตยามวสันต์ ชนเผ่าเหมื่องมักจะเล่นฆ้องอันเป็นการแสดงถึงความปิติยินดี

ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่นห์ - ảnh 2
การตีฆ้องของชนเผ่าเหมื่องบนเวทีของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม
ฆ้องทำจากทองแดง ฆ้องชุดหนึ่งมี ๑๒ ใบที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๒๒ ถึง ๗๐ เซนติเมตร และมีหมงฆ้องอยู่ตรงกลาง  คุณลุงบุ่ย เตี๊ยน โซเล่าว่า  “ สมัยโบราณผลิตฆ้องด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมโดยแม่พิมพ์ทำจากทองแดงตามกระบวนการดังนี้ ตีแผ่นทองแดงให้บาง เจาะรูบนด้านหนึ่งของแผ่นทองแดงแล้วนำไปตีในอุณหภูมิสูงหลายคั้งก็จะได้แม่พิมพ์มาตรฐานเสร็จแล้วก็เทโลหะผสมลงในแม่พิมพ์แล้วหล่อบนเตาอุณหภูมิสูง  วัตถุดิบที่ใช้ผลิตฆ้องเป็นโลหะผสมได้แก่ ทองแดง เหล็กหล่อและวัตถุดิบอื่นๆของชนเผ่า  ทุกวันนี้ อาชีพหล่อฆ้องยังได้รับการอนุรักษ์อยู่แต่ไม่ได้มาตรฐานเท่ากับสมัยก่อนโน้น  ช่างทำฆ้องของจังหวัดบั๊ก นินห์และบั๊ก ยางสามารถผลิตฆ้องได้แต่เสียงไม่ดีไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน

ฆ้องโบราณมีเสียงสูงต่ำเหมือนเครื่องดนตรี ดังนั้นวงฆ้องสามารถบรรเลงเพลงได้หลายบทไม่ว่าจะเป็นเพลงพื้นเมืองหรือเพลงสมัยใหม่เช่น เพลงชาติ เพลงดังมีลุงโฮในวันมหาชัย เพลงรักที่เตยบั๊กและเพลงโต้ตอบกันของชนเผ่าเหมื่อง

ส่วนไม้ตีฆ้องนั้นถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เสียงฆ้องไพเราะขึ้น ซึ่งไม้ตีที่ให้เสียงดีและไพเราะต้องเป็นไม้ตีฆ้องเปลือกไม้หรือไม้ตีฆ้องหนังหรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นไม้ตีฆ้องผ้าสีแดง  คุณลุงบุ่ย เตี๊ยน โซเปิดเผยต่อไปว่า  “ ไม้ตีฆ้องต้องสลักเป็นขั้นๆเพื่อสามารถการม้วนผ้าได้อย่งสนิท  เมื่อก่อนโน้น ในฤดูล่าสัตว์ เขานิยมใช้หนังแพะยัดฝ้ายทำเป็นหัวไม้ตี เมื่อใส่ฝ้ายเสร็จต้องมัดให้สนิทด้วยเส้นด้ายของต้นไม้ในป่าแล้วนำกลับบ้านทิ้งไว้ให้แห้ง ไม้ตีฆ้องจะแข็งและให้เสียงดี  ปัจจุบันวัตถุดิบนี้ไม่มีอีกแล้ว เราต้องทำด้วยผ้าแทน

ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่นห์ - ảnh 3
สอนเด็กตีฆ้อง

การเก็บรักษาฆ้องของชนเผ่าเหมื่องก็เป็นเอกลักษณ์โดยจะวางฆ้องหงายหรือแขวนที่ผนังบ้าน  นอกจากฆ้องของชนเผ่าเหมื่องแล้ว ยังมีฆ้องของชนเผ่าในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  นายหว่าง แบก ลินห์ สมาชิกในคณะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างฆ้องของชนเผ่าเหมื่องกับฆ้องของชนเผ่าในเตย เงวียนว่า  “ ฆ้องสองประเภทนี้สามารถเล่นกับขลุ่ยและซอด้วงได้ เสียงฆ้องเตยเงวียนในงานแทงกระบือมีความฮึกเหิมมาก ส่วนเสียงฆ้องเหมื่อนนั้นมีความนุ่มนวลมากกว่า

คุณลุงบุ่ย เตี๊ยน โซ เห็นว่า ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆแต่อย่างใดเพราะมันสะท้อนวัฒนธรรมของชนเผ่าเหมื่อง หากในงานเทศกาลของจังหวัดไม่มีการเล่นฆ้องนั้นก็ไม่ใช่งานเทศกาลของชนเผ่าเหมื่องก็ว่าได้ ./.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด