ชายคาอันอบอุ่นของเด็กกำพร้า

(VOVworld)ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้าที่มีชื่อว่า ลำธารแห่งความรัก ซึ่งเป็นศูนย์ฯแห่งแรกของพุทธสมาคมเวียดนามที่จัดตั้งโดยพระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอก เจ้าอาวาสวัดเฟือกกวางในตัวเมืองตามบิ่ง อำเภอ ตามบิ่ง อยู่ห่างจากจังหวัดหวิงลองกว่า 30 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้าเกือบ 200 คน

̣̣̣(VOVworld)ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้าที่มีชื่อว่า ลำธารแห่งความรัก ซึ่งเป็นศูนย์ฯแห่งแรกของพุทธสมาคมเวียดนามที่จัดตั้งโดยพระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอก เจ้าอาวาสวัดเฟือกกวางในตัวเมืองตามบิ่ง อำเภอ ตามบิ่ง อยู่ห่างจากจังหวัดหวิงลองกว่า 30 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้าเกือบ 200 คน

ชายคาอันอบอุ่นของเด็กกำพร้า - ảnh 1
ทางเข้าศูนย์ (suoinguontinhthuong.vn)

เวลา 18.30 น. ชั้นเรียนของครู เหงียนแทงเติม ที่มีเด็กรวม 12 คน อายุตั้งแต่ 6-14 ปีจากจำนวนทั้งหมดเกือบ 200 คนในศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้า “ลำธารแห่งความรัก” กำลังอ่านหนังสือ ชั้นเรียนมีพื้นที่ 40 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายของศูนย์ฯ ข้างๆคือห้องเรียนของเด็กหลายห้อง เด็กชาย เฟือกเหงีย อายุ 14 ปีและเด็กหญิง เฟือกดึ๊ก อายุ 10 ปี พี่น้องสายเลือดเดียวกันที่มีฐานะยากจน คุณแม่และคุณพ่อได้เสียชีวิตจึงถูกส่งมาอยู่ที่ศูนย์ได้ 2 ปีแล้ว กำลังอ่านหนังสือและก็ไม่ลืมที่จะถามอาจารย์ เติม เกี่ยวกับข้อสงสัยจากบทเรียน “ผมตื่นนอน ทานอาหารเช้า ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบวัด แล้วอ่านหนังสือ อาจารย์ เติม สอนความรู้ที่ผมยังไม่เข้าใจเพื่อเวลาไปโรงเรียนจะได้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น ผมกลับจากโรงเรียนตอนบ่าย 4 โมง ทานมื้อค่ำ อาบน้ำ สวดมนต์และอ่านหนังสือ เทอมแรก ผมได้เป็นนักเรียนยอดเยี่ยม ทางศูนย์ฯดูแลดีมาก ผมได้ไปโรงเรียน ทานอาหารทุกมื้อ ไม่ขาดอะไร ผมขอขอบคุณพระอาจารย์ เจ้าหน้าที่ อาจารย์ของศูนย์ ผมจะเรียนให้เก่งๆเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพระในวัด”
“เมื่อก่อน ผมอยู่ที่จ่าโอนกับคุณพ่อ หลังจากคุณพ่อและคุณแม่เสียชีวิตไปแล้ว ผมจึงมาอยู่ที่นี่ อาจารย์ เติม สอนคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ พระอาจารย์และคุณครูดูแลผมดีมาก”

ชายคาอันอบอุ่นของเด็กกำพร้า - ảnh 2
บริเวณโดยรอบของศูนย์ (suoinguontinhthuong.vn)

อาจารย์เติมได้อาสาอยู่ที่ศูนย์ฯเพื่อดูแลการติวหนังสือให้แก่เด็กๆ เด็กที่นี่มีฐานะที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งทารกแรกเกิด เด็กกำพร้าหรือเด็กที่มีฐานะยากจนที่ไม่มีผู้ปกครองเลี้ยงก็จะถูกส่งมาที่นี่ “ในการทำงานที่นี่ซึ่งที่สร้างความซาบซึ้งใจให้แก่ผมคือ เด็กที่นี่มีฐานะไม่เหมือนกัน เช่นเด็กคนนี้ คุณพ่อเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ ผอมโซ ถึงแม้เรียนปอ.4 แต่มีความรู้เหมือนเด็กปอ.2 หน้าที่ของผมคือติวเข้มให้แก่เด็กที่นี่ หลังจากได้ติวเข้ม เด็กที่นี่ก็เรียนเก่งขึ้น มีเด็กที่ได้รับรางวัลนักเรียนยอดเยี่ยมด้วย ที่ศูนย์ เด็กทุกคนได้ไปโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากเรียนเสร็จ กลับศูนย์ฯก็มีอาจารย์ช่วยติวเข้ม ผมดูแลเด็กจึงต้องเข้าใจเด็กเพื่อมีวิธีการสอนที่เหมาะสม นอกจากไปโรงเรียน เด็กๆยังได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติต่อกัน คุณธรรม การกีฬาเพื่อไม่รู้สึกด้อยโอกาสเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป”
การจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กกำพร้ามาจากความคิดริเริ่มของพระอาจารย์ ทิกเฟือกงอก สมาชิกพุทธสมาคมเวียดนามเมื่อปลายเดือนกันยายนปี 2007 หลังจากเกิดเหตุสะพานเกิ่นเทอถล่มซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 คนและได้รับบาดเจ็บนับร้อยคน ส่วนเด็กหลายคนได้กลายเป็นเด็กกำพร้า ในสภาวการณ์ดังกล่าว พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอกได้ร่วมแรงร่วมใจกับองค์กรสังคมต่างๆเพื่อให้การช่วยเหลือครอบครัวของผู้เคราะห์ร้าย พร้อมทั้งวางแผนจัดตั้งโครงการ “ลำธารแห่งความรัก” หลังจากก่อสร้างเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ศูนย์ฯได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนปี 2012 ซึ่งเป็นสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งแรกของพุทธสมาคมเวียดนาม ที่มีสถานะทางนิตินัย พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอกได้บอกเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมภายใน 1 วันของเด็กว่า “เด็กตื่นนอนเวลา 05.00 น. แล้วออกกำลังกาย สวดมนต์เพื่อกล่าวขอบคุณสิ่งที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เพื่อให้มีอารมณ์ที่บริสุทธิ์และมีสุขภาพแข็งแรง ต่อจากนั้นเด็กไปโรงเรียนเหมือนเด็กธรรมดา นอกจากได้สอนความรู้ทั่วไปในโรงเรียนแล้ว เด็กที่นี่ยังได้สอนคุณธรรม กฎแห่งกรรม ประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาและหลักพระธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อให้เด็กให้ความสนใจถึงศาสนาพุทธและอาจออกบวชในอนาคต”

ชายคาอันอบอุ่นของเด็กกำพร้า - ảnh 3
พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอกและเด็กๆ (suoinguontinhthuong.vn)

ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้ามีพื้นที่เกือบ 5,550 ตารางเมตร มีห้องเรียน สถานที่สวดมนต์ ห้องครัว สวนปลูกผักและวิหารบูชาพระพุทธรูป เป็นต้น นี่ได้กลายเป็นชายคาอันอบอุ่นและกว้างใหญ่สำหรับเด็กกำพร้าเกือบ 200 คนทั้งภายในและนอกจังหวัดหวิงลอง ทางศูนย์ฯยังมีเจ้าหน้าที่อีก 10 คนที่ดูแลเด็กในหลายด้าน เช่นการเลี้ยงเด็ก สาธารณสุข การศึกษาและการกุศล เพื่อให้เด็กพัฒนาเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและศาสนาพุทธ นี่ก็คือจุดหมายปลายทางของผู้ที่มีใจกุศล นาง มิมโจวและนาง ห่งวิง ชาวเวียดนามที่อาศัยในออสเตรเลียได้เผยว่า เมื่อมีโอกาสกลับประเทศก็จะแวะเดินทางมาเยือนศูนย์ “ดิฉันมาที่นี่หลายครั้งแล้ว พระอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่นี่มีใจกุศลเพื่อดูแลเด็ก การดูแลเด็ก 1-2 คนถือเป็นปัญหาใหญ่ต่อสังคม แต่การสอนให้เด็กเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก นี่คือการกระทำที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพาะช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่สังคม”
“พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอก ถึงแม้จะเป็นพระวัยหนุ่มที่มีใจกุศลและได้อุทิศตลอดชีวิตเพื่อดูแลเด็ก และต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ลำบากเพื่อก่อสร้างศูนย์นี้ให้ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ดิฉันไม่อยู่ที่เวียดนาม แต่เมื่อมีโอกาสกลับประเทศก็จะเดินทางมาเยือนที่นี่เพื่อร่วมกับพระอาจารย์ให้การช่วยเหลือเด็กและสังคม”

ชายคาอันอบอุ่นของเด็กกำพร้า - ảnh 4
ผู้ที่มีใจกุศลมาเยือนวัดและมองของขวัญให้แก่เด็ก (suoinguontinhthuong.vn)

บทกวีที่เด็กๆท่องจำมีเนื้อหาเกี่ยวกับส่วนอุทิศที่ยิ่งใหญ่ของคุณพ่อและคุณแม่ พร้อมทั้งบอกให้ลูกไม่ลืมบุญคุณของพ่อแม่ นี่ก็คือบทกวีเหมือนกับหลายบทกวีที่พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอก มักจะสอนเด็กๆเกี่ยวกับศีลธรรมของมนุษย์และบุตร เมื่อเห็นใบหน้าที่เปี่ยมด้วยความสุขสดชื่นและบริสุทธิ์ของเด็กที่ได้อยู่ร่วมกันในชายคาที่อบอุ่นของศูนย์และพุทธศาสนิกชนที่มีใจกุศลก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหมายของชื่อศูนย์คือ “ลำธารแห่งความรัก” ตลอดจนบทกวีที่พระอาจารย์ ทิกเฟือกหงอก ได้แต่งเองเพื่อสอนเด็กๆทุกคนว่า
อย่าร้องไห้นะลูก
เราทราบว่า ญาติพี่น้องของลูกได้จากไป
ถึงแม้ชีวิตยังคงผันผวนเปลี่ยนแปลงไป
แต่นี่คือชายคาอันอบอุ่นของลูก.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด