ชาวประมงบิ่นห์เซิน-กว่างหงายอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดงร้องและรำบ่าจ่าว

(VOVworld) - นับแต่โบราณ เมื่อพูดถึงคณะบ่าจ่าวอำเภอบิ่นห์เซิน จังหวัดกว่างหงายในเขตริมฝั่งทะเลทางภาคกลางตอนใต้ก็จะมีคำพูดติดปากกันว่า ต้องฟังวงดนตรี เบิ่วแบ่ว คณะดาบหมิฮูว คณะแจ่วเตี๊ยดเยียมที่ลือชื่อ บ่าจ่าวเป็นศิลปะการร้องรำพื้นบ้าน ในพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬในวันขึ้น ๑๕ค่ำเดือนสองและวันสารทไหว้พระจันทร์เพื่อขอให้ประเทศมีสันติสุข ประชาชนได้อยู่ในความสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การออกทะเลทำประมงได้ผลดีและปลอดภัย  ซึ่งคำว่าบ่าจ่าวนั้หมายถึงฝีพาย  
(VOVworld) - นับแต่โบราณ เมื่อพูดถึงคณะบ่าจ่าวอำเภอบิ่นห์เซิน จังหวัดกว่างหงายในเขตริมฝั่งทะเลทางภาคกลางตอนใต้ก็จะมีคำพูดติดปากกันว่า ต้องฟังวงดนตรี เบิ่วแบ่ว คณะดาบหมิฮูว คณะแจ่วเตี๊ยดเยียมที่ลือชื่อ บ่าจ่าวเป็นศิลปะการร้องรำพื้นบ้าน ในพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬในวันขึ้น ๑๕ค่ำเดือนสองและวันสารทไหว้พระจันทร์เพื่อขอให้ประเทศมีสันติสุข ประชาชนได้อยู่ในความสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การออกทะเลทำประมงได้ผลดีและปลอดภัย  ซึ่งคำว่าบ่าจ่าวนั้หมายถึงฝีพาย  จนถึงปัจจุบัน ศิลปะพื้นเมืองแขนงนี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมผ่านกิจกรรมของคณะบ่าจ่าวตำบลบิ่นห์ถวน อ.บิ่นห์เซิน จ.กว่างหงาย นักข่าวมิงห์หลี ของวิทยุวน.ได้พบปะกับคณะฯเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดงร้องและรำบ่าจ่าวในโอกาสที่คณะฯเข้าร่วมงานมหกรรม ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้

ชาวประมงบิ่นห์เซิน-กว่างหงายอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดงร้องและรำบ่าจ่าว - ảnh 1
การฝึกบ่าจ่าวก่อนการแสดงในงานมหกรรม

การแสดงบ่าจ่าวของคณะบ่าจ่าวตำบลบิ่นห์ถวน อ.บิ่นห์เซิน จ.กว่างหงาย มีขึ้นเมื่อเวลา 20.00น. ณ เวทีของศูนย์นิทรรศการวัฒนธรรมและศิลปะเวียดนาม นักแสดงชาย ๑๑ คนที่สวมบทชาวประมงยืนเรียงสามแถวแปรขบวนเป็นรูปเรือพาย โดยแถวสองข้าง มี 4 คนเป็น ฝีพายวัยรุ่นที่สวมชุดสีเขียวชายแขนเสื้อและชายกางเกงมีสีแดง ศีรษะโพกผ้าสีเหลือง เอวผูกผ้าสีเหลือง ใส่ถุงเท้าสีขาว มือถือไม้พายที่ยาว 1 เมตร และรำพายเรือ  ส่วนแถวตรงกลางเป็นหัวหน้าเรือ ๓ คน ได้แก่โต๋งหมุย โต๋งควาง และโต๋งล้าย  โดยผู้ที่สวมบทโต๋งหมุย มือถือฉาบและกลอง 1 ชุด และยืนอยู่หัวเรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำทาง  ส่วนโต๋งควางมีหน้าที่การวิดน้ำออกจากเรือ และทำหน้าที่จิปาถะบนเรือเช่น อาหารและน้ำมัน ส่วนโต๋งล้ายจะเป็นฝีพายที่ท้ายเรือและเป็นกัปตัน  ซึ่งหัวหน้าเรือสามคนนี้ล้วนเป็นผู้ใหญ่ แต่งกายคล้ายๆกับฝีพายแต่สีสันฉูดฉาดกว่า  นายบุ่ยซุยเหงวียน หัวหน้าคณะแสดงบ่าจ่าวบิ่นห์ถ่วนและเป็นผู้ที่สวมบทโต๋งควางได้เผยว่า บ่าจ่าวเป็นศิลปะพื้นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปี ที่คนรุ่นก่อนๆได้ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างพวกเราสืบทอดต่อไป แต่พวกเรามีความกังวลว่า ศิลปะพื้นเมืองแขนงนี้จะหายไปในอนาคต ดังนั้นจึงได้จัดตั้งสโมสรร้องเพลงพื้นบ้านต.บิ่นห์ถวนเมื่อ 5 ปีก่อนเพื่อสืบทอดให้แก่เยาวชน จำนวนคณะบ่าจ่าวนับวันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพวกเราฝึกบ่าจ่าวให้แก่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกรำพายเรือเป็นเวลา 3 วัน ส่วนการฝึกร้องต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 วัน ปัจจุบันมีเยาวชน 50-60 คนสามารถสวมบทฝีพายเพื่อเข้าร่วมแสดงในงานต่างๆ
ตอนเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2009 สโมสรร้องเพลงพื้นบ้านต.บิ่นห์ถวนมีสมาชิก 21 คน หลังจากนั้น ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 คน โดยเด็กผู้หญิงอายุ 9 ขวบเป็นสมาชิกที่มีอายุตํ่าที่สุด ส่วนคุณลุงที่เล่นพิณน้ำเต้า อายุ 64 ปีเป็นผู้ที่มีอายุสูงที่สุดในคณะ
คณะแสดงการร้องและรำบ่าจ่าวของตำบลบิ่นห์ถ่วน นอกจากแสดงในงานเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬและเทศกาลต่างๆในจังหวัดกว่างหงายแล้ว ก็ยังเข้าร่วมในงานมหกรรมการร้องเพลงพื้นเมือง ที่ จังหวัดฟู้เอียน งานมหกรรมการร้องเพลงเกี่ยวกับหมู่บ้านประมง ที่ จังหวัดนิงห์ถวน แนะนำศิลปะพื้นบ้านบ่าจ่าวให้แก่เด็กๆนครหลวงในโอกาสเทศกาลวันสารทไหว้พระจันทร์ ที่ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม และแสดงบ่าจ่าวในพิธี khao lề thế ทหาร Hoàng Sa  ณ หมู่บ้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยวชนเผ่าต่างๆในเวียดนามที่โด่งโม อำเภอเมืองเซินเตย กรุงฮานอย  คุณเลกวางมิงห์ ที่สวมบทฝีพายและเป็นสมาชิกคณะบ่าจ่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งได้กล่าวว่า หัวหน้าคณะจะแจ้งให้สมาชิกทุกคนทราบเกี่ยวกับตารางการแสดงเพื่อทำการฝึกซ้อม ซึ่งปกติจะซ้อมก่อนแสดงจริง 1 สัปดาห์เนื่องจากทุกคนคุ้นเคยกันแล้ว  สำหรับการแสดงครั้งนี้ พวกเราได้ฝึกเป็นเวลา 3 คืนตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 4 ทุ่มเพราะกลางวันต้องไปทำงาน  การรำพายเรือให้เข้ากับจังหวะดนตรีและการร้องเพลงพื้นเมืองในตอนแรกๆยากมาก ซึ่งต้องใช้เวลา แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วก็รู้สึกง่ายมาก
ส่วนสำหรับคุณ เหงวียนวันอาน ที่เข้าร่วมสโมสรมา 2 ปีแล้วและสวมบทฝีพายในการแสดงครั้งนี้ได้กล่าวว่า การรำพายเรือและร้องเพลงพื้นเมืองค่อนข้างยาก แต่จากความปรารถนาที่จะรักษาประเพณีการประกอบอาชีพประมงของบรรพบุรุษ พวกผม ซึ่งเป็นคนรุ่นหลังจึงคิดว่า ไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหนก็ต้องพยายามสานต่ออาชีพและอนุรักษ์ทำนองเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่นต่อไป

ชาวประมงบิ่นห์เซิน-กว่างหงายอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดงร้องและรำบ่าจ่าว - ảnh 2
การแสดงบ่าจ่าวในพิธี khao lề thế ทหาร Hoàng Sa  ณ หมู่บ้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยวชนเผ่าต่างๆในเวียดนามที่โด่งโม อำเภอเมืองเซินเตย กรุงฮานอย
นอกจากการฝึกบ่าจ่าวแล้ว สมาชิกคณะฯจะรวมตัวกันทุกๆ 3 เดือนเพื่อฝึกร้องเพลงพื้นบ้านอื่นๆ โดยครั้งนี้ จะฝึกร้องเญิน คราวหน้าจะฝึกร้องเหงีย  การร้องเญินเหงีย คือการร้องโต้ตอบกันโดยใช้คำกลอนและสุภาษิตต่างๆ  ส่วนงบประมาณสำหรับกิจกรรมของสโสรส่วนใหญ่มาจากค่าตอบแทนในการแสดงบ่าจ่าวที่สำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว่างหงาย ว่าจ้างและ การเข้าร่วมในงานมหกรรมต่างๆในทั่วประเทศ  ซึ่งเงินดังกล่าวจะแบ่งให้แก่สมาชิกคณะ และส่วนหนึ่งจะหักเข้ากองกลางเพื่อเอาไว้ซื้อชุดแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบฉาก นาย เหงียนเล่าให้ฟังว่า งบประมาณสำหรับกิจกรรมของสโสรเป็นหนึ่งในประเด็นที่เราต้องวางแผนให้ดี ผมได้เสนอให้ทางการตำบลจัดงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของสโมสร ให้กำลังใจสมาชิกคณะและการจัดทำรายงาน
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านแขนงนี้ก็คือการฟื้นฟูและสานต่อประเพณีการร้องและรำบ่าจ่าวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยในหลายปีที่ผ่านมา นอกจากบริหารสโมสรร้องเพลงพื้นบ้านต.บิ่งห์ถวนแล้ว นาย เหงวียนยังเปิดสอนเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านให้แก่เด็กนักเรียน นาย เหงวียนเล่าว่า การสอนเพลงพื้นบ้านในตอนแรกๆมีความยากลำบากมาก แต่เมื่อเด็กๆสามารถร้องตามจังวะได้แล้วก็มีความเข้าใจและชื่นชอบเพลงพื้นบ้านมากขึ้น./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด