นักข่าว นักเขียน เจิ่นมายแหง กับหนังสือ “บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75”

(VOVworld)- “บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75”ที่รวมข้อมูลลับต่างๆของนักข่าว นักเขียน เจิ่นมายแหง เป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับช่วงวันสุดท้ายของทางการสาธารณรัฐเวียดนามก่อนเหตุการณ์30เมษายนปี1975 ซึ่งภายหลังตีพิมพ์ฉบับภาษาเวียดนามแล้ว3ครั้ง เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการตีพิมพ์ใหม่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้อ่านต่างชาติมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ที่มีค่าและมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชที่แสนยากลำบากแต่รุ่งโรจน์และน่าภาคภูมิใจของประชาชาติเวียดนาม

นักข่าว นักเขียน เจิ่นมายแหง กับหนังสือ “บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75” - ảnh 1
นักเขียน เจิ่นมายแหง ในพิธีรับมอบรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์ปี2015

“บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75” ได้ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อปี2014ภายหลังเกือบ40ปีนับตั้งแต่เสี้ยวนาทีแห่งประวัติศาสตร์ของเที่ยงวันที่30เมษายนปี1975 ณ ทำเนียบเอกราช ซึ่งในตอนนั้นเจิ่นมายแหงเป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าวคนแรกที่อยู่ในเหตุการณ์และเขียนรายงานสถานการณ์ในหัวข้อ “นครโฮจิมินห์เต็มไปด้วยธงแดงดาวเหลืองที่โบกสะบัดเหนือท้องฟ้า”ที่ถูกตีพิมพ์ลงในหน้าข่าวการต่อสู้เพื่อเอกภาพของสำนักข่าวเวียดนาม ออกอากาศทางสถานีวิทยุเวียดนามในข่าวภาคเที่ยงวันที่1พฤษภาคมและลงในหนังสือพิมพ์เญินเซิญวันที่2พฤษภาคมปีนั้น  ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าของเสี้ยวนาทีแห่งประวัติศาสตร์นั้นและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็จะกลายเป็นอดีตในวันข้างหน้าเขาจึงรวบรวมคัดกรองข้อมูลที่ตัวเองได้มีโอกาสอ่านในช่วงที่เป็นตัวแทนนักข่าวของสำนักข่าวเวียดนามเข้าร่วมยุทธนาการณ์โฮจิมินห์เพื่อจัดทำเป็นหนังสือเล่มนี้ นักข่าว นักเขียนเจิ่นมายแหงเผยว่า ได้เขียนหนังสือดังกล่าวเพราะแรงบันดาลใจจากความรับผิดชอบของพลเมือง ของนักข่าวที่มีต่อประเทศเมื่อมีโอกาสเก็บรักษาเอกสารข้อมูลที่มีค่าต่างๆ“ชีวิตนั้นย่อมมีความลำบาก สงครามเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดส่วนสันติภาพก็เป็นความปรารถนาของมนุษยชาติ ผมตัดสินใจเขียนบันทึกนี้ด้วยมุมมองใหม่ที่เจาะลึกถึงแก่นแท้ของความจริงที่ไม่มีการแทรกแซงจากปัจจัยอื่นๆ มิใช่เพราะเป็นฝ่ายชนะแล้วจะเขียนอะไรก็ได้หรือแพ้แล้วอยากแก้ต่างยังไงก็ได้ ความจริงก็คือความจริงที่ผมอยากเข้าถึงให้ได้มากที่สุด”

นักข่าวนักเขียนเจิ่นมายแหงบอกว่าในหนังสือชุดนี้เขาไม่ได้เน้นหนักในเรื่องคุณค่าของวรรณกรรมหากเน้นการสะท้อนความจริงของประวัติศาสตร์มากกว่า ดังนั้นใน “บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75”จะไม่มีส่วนไหนที่แสดงออกถึงการประเมินวิเคราะห์ของผู้เขียนหากแต่เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์แห่งประวัติศาสตร์จากมุมมองของฝ่ายตรงข้ามและให้ผู้อ่านเข้าใจกระบวนการล่มสลายของทางการสาธารณรัฐเวียดนามเพื่อที่จะมองเห็นถึงแก่นแท้ของความจริง “แก่นแท้ความจริงของฝ่ายตรงข้ามได้ช่วยเชิดชูชัยชนะของประชาชาติและบทบาทการนำของพรรค ในหนังสือของผมคุณจะไม่เห็นคำว่า ปลดปล่อย หรือประโยคที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามชี้นำการต่อสู้ แต่ใจความของหนังสือสามารถสะท้อนให้เห็นทุกอย่างเพื่ออธิบายว่าทำไมเราถึงชนะ ประชาชนเวียดนามได้เสียสละอย่างไร กองทัพกล้าหาญแค่ไหนและพรรคคือผู้ชี้นำที่ปรีชาสามารถเช่นไร”

นักข่าว นักเขียน เจิ่นมายแหง กับหนังสือ “บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75” - ảnh 2
นักเขียน เจิ่นมายแหง กับหนังสือเดินทางพิเศษที่ช่วยให้เขาสามารถเข้าถึงทุกสถานที่ที่ีมีความหมายเชิงประวัติศาสตร์ในช่วงปลดปล่อยภาคใต้

ในจำนวน19บรรพของหนังสือ“บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75” ผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนเหมือนกับได้ร่วมอยู่ในทุกการประชุม ปรากฎในทุกแนวรบและเข้าถึงทุกความคิดหรือปฏิบัติการของนายพลฝ่ายสาธารณรัฐเวียดนามจนทำให้ช่วงเวลาสุดท้ายของทางการหุ่นไซ่ง่อนได้รับการบรรยายถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจนและมีชีวิตชีวาที่สุดผ่านการประชุมลับหรือความคิดความลังเลของบรรดานายพลฝ่ายตรงข้ามที่ว่า จะหนี จะทรยศหรือยอมจำนน จะสู้ต่อ จะมารายงานตัวต่อกองกำลังปฏิวัติหรืออพยพหนีไปต่างประเทศ นักกวีเหงวียนกวางเถี่ยว รองนายกสมาคมนักเขียนเวียดนามกล่าวว่า“นี่คือหนังสือที่มีการลงข้อมูลแบบธรรมชาติและมีการสอดแทรกความรู้สึกนึกคิดที่ลึกซึ้งและชะตากรรมของมนุษย์ของผู้ที่ร่วมสงครามไม่ว่าจะเป็นทหารปลดปล่อยหรือทหารของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้อธิบายเกี่ยวกับเหตุผลของสงคราม ความมุ่งมั่นของประชาชาติที่ไม่ยอมเป็นทาสและไม่ยอมให้ประเทศถูกแบ่งแยก ประชาชาติที่ใฝ่สันติภาพที่ต้องข้ามผ่านสงครามหลายครั้งเพื่อก้าวไปข้างหน้า”

“บันทึกสงคราม 1-2-3-4.75” ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปี2014โดยสำนักพิมพ์การเมืองแห่งชาติและความจริงและต่อจากนั้นได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีก2รอบ ผลงานนี้ของนักข่าวนักเขียนเจิ่นมายแหงยังได้รับรางวัล “วรรณกรรมเวียดนาม2014”และรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์ปี2015 โดยในการกล่าวปราศรัย ณ ฟอรั่มแห่งวรรณกรรมอาเซียนเขาได้เผยว่าหนังสือเล่มนี่มิได้เป็นการทบทวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประชาชาติหากอยากฝากความปรารถนาให้ผู้อ่านเข้าใจในคุณค่าที่งดงามแห่งคุณธรรมและการที่มนุษย์ต้องรู้จัดรักใคร่และไว้ใจกันมากขึ้น ซึ่งความหมายที่ผู้เขียนอยากสื่อนั้นก็ได้รับการตอบรับอย่างเข้มแข้งจากผู้อ่านทั้งในและต่างประเทศเมื่อได้มีการตีพิมพ์ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อเร็วๆนี้ นางเหงวียนกิมงา ตัวแทนศูนย์บรรณาธิการนานาชาติแห่งสำนักพิมพ์การเมืองแห่งชาติได้เผยว่า เนื่องจากคุณค่าที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และวรรณกรรม ทางสำนักพิมพ์จึงตัดสินใจเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศมาแปลและตรวจทานฉบับภาษาอังกฤษเพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานด้านวรรณกรรมที่มีความหมายให้มิตรประเทศได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของมหาชัยชนะที่ประชาชาติเวียดนามได้รับในภารกิจการปลดปล่อยภาคใต้รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวเมื่อกว่า40ปีก่อน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด