พัฒนาอาชีพทอผ้าพื้นเมืองให้สตรีชนกลุ่มน้อย

(VOVworld) – โครงการ “พัฒนาอาชีพให้สตรีชนกลุ่น้อยผ่านการพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า” โดยองค์การร่วมมือพัฒนาสวิสเซอร์แลนด์หรือเอสดีซีได้รับการปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเน้นฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพการปลูกต้นลินิน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าพื้นเมืองในชุมชนชนกลุ่มน้อยไทและเหมื่องที่จังหวัดเหงะอานและแทงฮว้า ภาคกลางเวียดนามและชาวม้งในจังหวัดหว่าบิ่งห์ จังหวัดเขตเขาภาคเหนือเวียดนาม

(VOVworld) – โครงการ “พัฒนาอาชีพให้สตรีชนกลุ่น้อยผ่านการพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า” โดยองค์การร่วมมือพัฒนาสวิสเซอร์แลนด์หรือเอสดีซีได้รับการปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเน้นฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพการปลูกต้นลินิน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าพื้นเมืองในชุมชนชนกลุ่มน้อยไทและเหมื่องที่จังหวัดเหงะอานและแทงฮว้า ภาคกลางเวียดนามและชาวม้งในจังหวัดหว่าบิ่งห์ จังหวัดเขตเขาภาคเหนือเวียดนาม

พัฒนาอาชีพทอผ้าพื้นเมืองให้สตรีชนกลุ่มน้อย - ảnh 1
พยายามเรียนการทอผ้า (Photo baonghean)

โครงการ “พัฒนาอาชีพให้สตรีชนกลุ่น้อยผ่านการพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า” ที่สนับสนุนโดยเอสดีซีนั้นจะดำเนินไปเป็นเวลา 3 ปีเพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพให้แก่สตรีชนกลุ่มน้อยที่ยากจน 1000 คนใน 3 จังหวัดคือหว่าบิ่งห์ แทงฮว้าและเหงะอาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเหมื่อง ไทและม้ง แม้ขณะนี้ดำเนินไปแค่ 1 ปีแต่โครงการได้สร้างโฉมใหม่ให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสตรีเหล่านี้ คุณฉิงถิเยือง ผู้ประสานงานของโครงการเผยว่า “โครงการนี้เน้นพัฒนาการทอผ้าพื้นเมือง ซึ่งในจำนวนสตรีชนกลุ่มน้อย 1000 คนนั้น เราจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกรวม 500 คนเป็นผู้ปลูกและผลิตวัถุดิบ ส่วนที่เหลือเป็นผู้ทอผ้าและผลิตสินค้าหัตถกรรม โครงการนี้ได้ส่งผลดีต่อระบบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อผลิตเส้นไหมและสินค้าหัตถกรรม
สตรีชาวม้งในตำบลป่าก่อ จังหวัดหว่าบิ่งส่วนใหญ่ผลิตเส้นลินิน เย็บผ้า ย้อมสีและทำลวดลายด้วยขี้พึ่ง นางติ๊งถิซั้ว เผยว่า ในอดีต สตรีชาวม้งทุกคนต้องรู้วิธีการผลิตเส้นลินินเพื่อทอผ้าเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละครอบครัวและยังแสดงออกถึงฝีมือการเย็บปักถักร้อยและความขยันของสตรีแต่ในปัจจุบันสตรีบางคนทอผ้าไม่เป็น จึงซื้อผ้าที่ตลาดเพื่อทำการเย็บแทน ดังนั้นโครงการดังกล่าวได้ช่วยปรับเปลี่ยนจิดสำนึกให้แก่คุณซั้วและเพื่อนชาวม้งรุ่นใหม่หลายคน “มีพี่ๆหลายคนทอผ้าเป็นเท่านั้นแต่ถ้าพวกหนูได้เรียนก็สามารถทอได้เพราะได้ทิ้งอาชีพนี้นานมาแล้ว พวกหนูได้รับเมล็ดพันธุ์ลินิน 500 กิโลกรัมจากโครงการฯ ซึ่งตอนนี้ก็กำลังโต พวกหนูมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้เพราะได้เรียนและฟื้นฟูอาชีพพื้นเมือง ปัจจุบันพวกหนูทอผ้าลินินเป็นแล้วและไม่ต้องซื้อจากตลาดอีก
หมู่บ้านฮวาเตี๊ยน ตำบลโจว์เตี๊ยน อำเภอกิ่วโจว์ เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดอาชีพทอและปักผ้าพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยไททางทิศตะวันตกของจังหวัดเหงะอาน ซึ่งปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้กำลังได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนสามารถตอบสนองความต้องการสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง นางเสิ่มถิเกวียนเผยว่า เนื่องจากเข้าร่วมโครงการนี้ สตรีในตำบลโจว์เตี๊ยนจึงมีความมุ่งมั่นในการสร้างฐานะจากอาชีพพื้นเมืองมากขึ้น “ดิฉันเป็นผู้ดูแลช่างทอผ้า 25 คน ถ้าหากไม่มีนักออกแบบ ศิลปินของหมู่บ้านจะออกแบบเอง ลูกค้าก็ชอบมากแต่เดี๋ยวนี้มีการออกแบบจากต่างประเทศแล้วซึ่งช่วยให้สินค้าของเราได้รับความนิยมจากลูกค้ามากขึ้น ส่วนโครงการนี้ได้ช่วยให้ชาวบ้านมีความมุ่งมั่นสร้างฐานะให้ดีขึ้น และพยายามเรียนรู้วิธีการผลิต
พัฒนาอาชีพทอผ้าพื้นเมืองให้สตรีชนกลุ่มน้อย - ảnh 2
ผ้าพื้นเมืองที่มีลักษณะพิเศษได้รับใบสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก (dangcongsan.vn)

สตรีชนกลุ่มน้อยได้เห็นประโยชน์จากโครงการ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหาร การทำงานเป็นทีมและความสามารถด้านการเงิน  เป็นต้น ซึ่งขณะนี้พวกเขาทำงานเป็นทีมแทนการทำงานคนเดียวเพราะมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ โครงการฯยังช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิกการปลูกต้นลินิน การผลิตเส้นด้ายและทอผ้า ส่วนการผลิตสินค้าก็ได้รับการแนะนำจากนักออกแบบชาวต่างชาติ นางฉิงถิเยืองเผยต่อไปว่า “นักออกแบบจะออกแบบสินค้าแต่ละชิ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้แต่ละทีม ซึ่งสินค้าแบบใหม่นี้มีลักษณะพิเศษจึงช่วยให้พวกเราได้รับใบสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อได้รับใบสั่งซื้อ แต่ละทีมจะผลิตสินค้าตามตัวอย่างแล้วพวกเราจะนำสินค้าเหล่านี้ไปแนะนำให้ลูกค้าและช่วยให้พวกเขามีความเชื่อมโยงกับสถานประกอบการต่างๆ
โครงการ “พัฒนาอาชีพให้สตรีชนกลุ่มน้อยผ่านการพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า” ได้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสตรีชาวม้ง ไทและเหมื่องในจังหวัดหว่าบิ่งห์ แทงฮว้าและเหงะอานดีขึ้นเป็นอย่างมาก โดยไม่เพียงแต่ให้การช่วยเหลือในด้านเงินทุนและเทคนิกเท่านั้น หากยังอยู่เคียงข้างกับสตรี 1000 คนนี้เพื่อช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้นผ่านการพัฒนาอาชีพพื้นเมืองอีกด้วย./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด