ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน นักวิทยาศาสตร์สตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่า

(VOVWORLD) - ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน ผู้อำนวยการสถาบันการเกษตรเวียดนามคือนักวิทยาศาสตร์ที่ทุ่มเทให้แก่การทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์และกล้าคิดกล้าทำ โดยเพิ่งได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่าประเภทบุคคลซึ่งเป็นรางวัลเดียวประจำปี ๒๐๑๘
ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน นักวิทยาศาสตร์สตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่า - ảnh 1ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน ผู้อำนวยการสถาบันการเกษตรเวียดนาม (vietnamplus)

ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน เกิดปี ๑๙๗๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เมื่อปี ๒๐๑๘  เธอเป็นศาสตราจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดในวงการสัตวแพทย์เวียดนาม อีกทั้งเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติสมัยที่ ๑๔ เป็นวิทยากรรับเชิญของมหาวิทยาลัย Miyazaki ประเทศญี่ปุ่นและประธานสมาพันธ์สัตวแพทย์เอเชีย และในปี ๒๐๑๘ เธอได้รับการยกย่องสดุดีเป็น “นักวิทยาศาสตร์ของเกษตรกร”

ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน เลือกเรียนสาขาวิชาสัตวแพทย์โดยเน้นวิจัยโรคจากไวรัส ในตลอดเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา เธอได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยและมีส่วนร่วมในผลงานวิทยาศาสตร์ระดับกรม ประเทศและต่างประเทศ ๒๒ ผลงาน อีกทั้งมีบทความด้านวิทยาศาสตร์กว่า ๑๐๐ บทที่ลงในนิตยสารที่มีชื่อเสียง ที่น่าสนใจคือบทความที่ลงในนิตยสาร ISI/Scopus ที่มีชื่อเสียงระดับโลก 30 บทความ  โดยมีผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพของเธอได้รับการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เช่นชุดตรวจวินิจฉัยให้ผลเร็วโรคทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ (PRRS) หรือที่เรียกว่าโรคหูหมูสีน้ำเงิน  เทคโนโลยีสำหรับการเตรียมจุลินทรีย์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์และกระบวนการวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบในลำไส้ติดเชื้อฮิสโตโมในไก่ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า นี่คือผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นของเธอและเพื่อนร่วมงานที่ได้ทุ่มเทวิจัยซึ่งล้วนสนับสนุนสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจในด้านการเลี้ยงปศุสัตว์เพราะนำไปสู่การผลิตวัคซีนป้องกันโรค ขยายแนวทางวิจัยใหม่เกี่ยวกับโรคติดต่อในสัตว์ มุ่งสู่การยุติการแพร่ระบาด และลดความเสียหายด้านเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร

ในฐานะหัวหน้าสถาบันการเกษตรเวียดนาม ถึงแม้จะมีงานยุ่งมาก แต่ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน ยังคงเข้าร่วมการกำหนดยุทธศาสตร์ให้แก่กลุ่มวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับสัตว์ อีกทั้งชี้นำก่อตั้งกลุ่มวิจัยในด้านต่างๆ เช่นการบริหารที่ดิน การเกษตรอัจฉริยะ การเกษตรอินทรีย์ เครื่องจักรกลและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ด้วยความมุ่งมั่นสร้างผลิตภัณฑ์ที่นำผลประโยชน์มาสู่สังคมและเชื่อมโยงกับโลก “ดิฉันยินดีมาก เพราะได้มีทีมงานที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งด้านวัคซีนสำหรับสัตว์เลี้ยงและไวรัส ในช่วงที่ดิฉันยังไม่ได้เป็นผู้บริหาร ดิฉันได้ฝึกอบรมกลุ่มเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ซึ่งพวกเขาทำงานได้ดีมาก และเมื่อดิฉันเป็นผู้บริหาร ดิฉันก็มีบทบาทเป็นผู้นำทางในการวิจัย มีส่วนร่วมด้านวิทยาศาสตร์และช่วยเปลี่ยนแปลงแนวทางวิจัยให้แก่สถาบันการเกษตรเวียดนาม”

ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน นักวิทยาศาสตร์สตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่า - ảnh 2ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน นักวิทยาศาสตร์สตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่า (vietnamplus) 

 ปัจจุบัน สถาบันการเกษตรเวียดนามอยู่อันดับที่ ๕ ของประเทศในตารางการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศในปี ๒๐๑๙ เลื่อนขึ้น ๑๘ อันดับในตารางการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับสากลปี ๒๐๑๘ ในหลายปีที่ผ่านมา สถาบันการเกษตรเวียดนามได้ร่วมมือกับสถานประกอบการกว่า ๒๐๐ แห่ง จังหวัดและนครส่วนใหญ่ของประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการไปทัศนะศึกษาของนักศึกษา ทางสถาบันฯยังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนญี่ปุ่น อิสราเอลและสาธารณรัฐเกาหลีในการฝึกอบรมในระยะสั้นให้แก่นักศึกษา โดยทุกปีมีนักศึกษา ๔๐๐ ถึง ๕๐๐ คนของสถาบันฯได้รับการส่งไปฝึกอบรมที่ประเทศต่างๆ เช่นญี่ปุ่นและอิสราเอล เป็นต้น นาย เหงียนเติ๊ตทั้ง เพื่อนร่วมงานของศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน ที่สถาบันการเกษตรเวียดนามได้เผยว่า “ในงานด้านการบริหาร ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมของสถาบันฯ เธอมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของสถาบันฯเพื่อเป้าหมายเป็นสำนักงานที่ประสบความสำเร็จในการบริหารด้วยตนเอง โครงสร้างพื้นฐานของสถาบันฯนับวันมีความทันสมัย ในการวิจัยวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน เป็นผู้ที่ขยัน มีโครงการสำคัญๆที่มีคุณค่าในการประยุกต์ใช้ในการผลิตเกษตร โดยเฉพาะในด้านสัตวแพทย์”

ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโควาเลฟสกาย่าที่อายุน้อยที่สุด เผยว่า นี่คือความภาคภูมิใจและเป็นแรงกระตุ้นให้เธอต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการปฏิบัติงาน “รางวัลในวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นของดิฉันเท่านั้น หากยังเป็นของทีมงานทุกคนที่มีส่วนร่วมและความพยายามอย่างต่อเนื่อง ครูอาจารย์และนักศึกษาหลายรุ่นได้ให้การช่วยเหลือ เดินพร้อมกับดิฉันบนเส้นทางแห่งการวิจัยวิทยาศาสตร์ ดิฉันมีทีมงานของสถาบันการเกษตรเวียดนามที่สามัคคี มีความเข้มแข็ง มีเกียรติประวัติในตลอด ๖๓ ปีแห่งการพัฒนา มีแถวขบวนครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์และมีน้ำใจที่คอยให้การช่วยเหลือดิฉัน”

ตามความเห็นของศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิลาน การวิจัยวิทยาศาสตร์คือเส้นทางที่รุ่งโรจน์แต่ก็เต็มไปด้วยอุปสรรค แต่ถ้ามีความมุ่งมั่น หลงไหลทำงานก็สามารถฟันฝ่าไปได้ สิ่งที่ลำบากที่สุดต่อสตรีที่ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และการบริหารคือการแบ่งเวลาให้แก่ครอบครัว การทำงานและหน้าที่ต่าง ๆ เธอยืนยันว่า สตรีเวียดนามไม่ว่าปฏิบัติงานในด้านไหนต่างก็ส่งเสริมบทบาท ความแข็งแกร่งและความสามารถของตนเพื่อมีส่วนร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่งดงามของประชาชาติ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด