สถานีวิทยุเวียดนามพยายามรักษาและส่งเสริมคุณค่าของภาษาเวียดนาม

(VOVworld) – การสัมมนาเชิงวิชาการระดับชาติในหัวข้อ “รักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนามผ่านสื่อต่างๆ” ซึ่งจัดโดยสถานีวิทยุเวียดนามและสมาคมภาษาศาสตร์เวียดนามได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ โดยถือเป็นการประชุมทั่วประเทศครั้งที่ 3 หลังการประชุมเกี่ยวกับ “การรักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนาม” เมื่อปี 1966 และปี 1979 และเป็นการยืนยันถึงบทบาทสำคัญของสถานีวิทยุเวียดนามในการรักษา อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามของภาษาเวียดนาม เสริมสร้างให้ภาษาเวียดนามมีความหลากหลายและชีวิตชีวามากขึ้นในสภาวการณ์แห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก

(VOVworld) – การสัมมนาเชิงวิชาการระดับชาติในหัวข้อ “รักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนามผ่านสื่อต่างๆ” ซึ่งจัดโดยสถานีวิทยุเวียดนามและสมาคมภาษาศาสตร์เวียดนามได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ โดยถือเป็นการประชุมทั่วประเทศครั้งที่ 3 หลังการประชุมเกี่ยวกับ “การรักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนาม” เมื่อปี 1966 และปี 1979 และเป็นการยืนยันถึงบทบาทสำคัญของสถานีวิทยุเวียดนามในการรักษา อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามของภาษาเวียดนาม เสริมสร้างให้ภาษาเวียดนามมีความหลากหลายและชีวิตชีวามากขึ้นในสภาวการณ์แห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก

สถานีวิทยุเวียดนามพยายามรักษาและส่งเสริมคุณค่าของภาษาเวียดนาม - ảnh 1
ภาพการสัมมนา

นับตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรกเมื่อเวลา 11.30 น.ของวันที่ 7 กันยายนปี 1945 ด้วยคำเกริ่นรายการว่า “ที่นี่สถานีวิทยุเวียดนาม ทำการกระจายเสียงจากฮานอย นครหลวงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม” ได้สะท้อนการให้ความสำคัญต่อภาษาเวียดนามของสถานีวิทยุเวียดนามเพราะภาษาเวียดนามเป็นภาษาประจำชาติ เป็นภาษาของประเทศเวียดนามที่เอกราชที่ประธานโฮจิมินห์ได้อ่านปฏิญญเอกราชเมื่อ 5 วันก่อนหน้านั้น ดังนั้น ยิ่งกว่าการสื่อสารใดๆ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเวียดนามทุกคนต่างตระหนักได้ดีเกี่ยวกับการรักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนาม นายเหงียนเท้กี๋ ประธานสถานีวิทยุเวียดนามได้เผยว่า “ต้องจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ภาษาเวียดนามทางสถานีวิทยุเวียดนาม ส่วนผู้จัดทำรายการ ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวก็ต้องมีทักษะความสามารถในการประกาศข่าว เพื่ออ่านข่าวได้เหมือนกำลังพูด ดังนั้น ต้องเตรียมพร้อมก่อนเพื่อสามารถอ่านได้อย่างชัดเจนและเนื้อหาเชื่อมโยงกัน”
จากการจัดการสัมมนาเชิงวิชาการระดับชาติ “รักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนามผ่านสื่อต่างๆ” สถานีวิทยุเวียดนามได้กำหนดหน้าที่ให้ตนเองคือ ไม่เพียงแต่ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องเท่านั้น หากยังต้องมีส่วนร่วมยกระดับจิตสำนึกในการรักษาความถูกต้องในการใช้ภาษาเวียดนามในสังคมอีกด้วย ดังนั้น ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพด้านเนื้อหาและรูปแบบของรายการกระจายเสียงแล้ว สถานีวิทยุเวียดนามยังคงพยายามรักษาภาษาเวียดนามอีกด้วย โดยพยายามไม่ใช้คำทับศัพท์ในรายการต่างๆ

สถานีวิทยุเวียดนามพยายามรักษาและส่งเสริมคุณค่าของภาษาเวียดนาม - ảnh 2
นายเหงียนเท้กี๋ ประธานสถานีวิทยุเวียดนาม

นักข่าวเหงียนดิ่งแทงที่เกษียณอายุราชการไปแล้วกว่า 10 แต่ยังคงเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสถานีวิทยุเวียดนามเผยว่า ภาษาเวียดนามมีความหลากหลายมากจึงต้องใช้ให้ถูกต้องและออกเสียงให้ชัดเจน  “เงื่อนไขอันดับแรกคือต้องใช้ศัพท์ให้ถูกต้อง ต่อจากนั้นไม่ควรใช้ซ้ำกัน เช่นในประโยค “ครูได้เตรียมอุปกรณ์การเรียนและโสตทัศนูปกรณ์เป็นอย่างมาก” ไม่ต้องใช้ “โสตทัศนูปกรณ์อีก” เพราะก็เป็นอุปกรณ์การเรียนและเป็นคำทับศัพท์จากภาษาจีน ผู้ประกาศข่าวต้องตระหนักได้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้”
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของรูปแบบสื่อมวลชนได้ช่วยให้ภาษาเวียดนามมีความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งมีความผูกพันกับชีวิตประจำวัน ศัพท์ใหม่ๆที่เกิดจากการพูดคุยในชีวิตประจำวันได้ถูกสื่อมวลชนอัพเดทอย่างต่อเนื่อง ดร.ฝามวันติ่ง เจ้าหน้าที่สถาบันพจนานุกรมและสารานุกรมเวียดนามเผยว่า ในตลอด 20 ปีมานี้ ในภาษาเวียดนามมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษอีกประมาณ 4,000 – 5,000 คำ ดังนั้นการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการใช้ภาษาเวียดนามผ่านทางสถานีวิทยุเวียดนามเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องการพัฒนาของภาษาบนพื้นฐานเก่าและเสริมสร้างภาษาเวียดนามให้มีความหลากหลายมากขึ้นแต่ยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ได้ “ถ้าวิเคราะห์อย่างละเอียดก็จะเห็นว่า ปัจจุบันนี้ เราได้ใช้รูปแบบและวิธีการพูดที่ไม่เคยใช้ในอดีต ก็เหมือนว่า ในแต่ละครอบครัวเดี๋ยวนี้ การตกแต่งบ้าน สถาปัตยกรรม วิถีการดำเนินชีวิตและเครื่องแต่งกายได้ผสมผสานกับฝ่ายตะวันตก ดังนั้นไม่ควรให้ความสนใจมากเกินไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านภาษา เพราะเป็นเรื่องธรรมดา”

สถานีวิทยุเวียดนามพยายามรักษาและส่งเสริมคุณค่าของภาษาเวียดนาม - ảnh 3
ดร.ฝามวันติ่ง เจ้าหน้าที่สถาบันพจนานุกรมและสารานุกรมเวียดนาม

ปัจจุบันนี้ สถานีวิทยุและโทรทัศน์มีแนวโน้มสร้างความหลากหลายในการประกาศข่าวเพื่อช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนกำลังได้สัมผัสกับสถานการณ์จริง โดยเฉพาะการรายงานข่าวจากสถานที่เกิดเหตุ ดร.หวูถิซาวชี รองบรรณาธิการนิตยสารภาษาศาสตร์ สถาบันสังคมวิทยาศาสตร์เวียดนามเผยว่า ข้อบังคับต่างๆในการสะกด การเขียนและคำศัพท์ในพจนานุกรมภาษาเวียดนามควรกลายเป็นมาตรฐานในการออกอากาศรายการต่างๆของสถานีวิทยุเวียดนาม ถึงแม้ผู้ประกาศข่าวมีความคุ้นเคยกับภาษาถิ่นก็ต้องอ่านตามภาษากลาง “วิทยุและโทรทัศน์ระดับส่วนกลางต้องมุ่งสู่ภาษาของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะในรายการที่สำคัญต่างๆ เช่น ภาคข่าว ต้องใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งช่วยให้ประชาชนในทั้ง 3 ภาคของเวียดนามสามารถฟังได้อย่างชัดเจน”
ภาษาเวียดนามเป็นภาษาที่เป็นเอกภาพในความหลากหลาย การเขียนและอ่านอย่างถูกต้องผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสถานีวิทยุเวียดนามถือเป็นเส้นทางให้สื่อสารมวลชนสามารถใกล้ชิดกับผู้ฟังมากขึ้นและมีส่วนร่วมรักษาความถูกต้องของภาษาเวียดนามอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด