หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม

( VOVworld )- ที่พิพิธภัณฑ์วัตุโบราณของราชสำนักเว้ได้จัดแสดงเสื้อครุยในราชสำนักราชวงศ์เหงวียนหลายชุด ซึ่งเป็นผลงานด้านศิลปะเพราะมีการเย็บ ปักและการแกะสลักด้วยเงินและทองอย่างประณีตสวยงาม  และผู้ที่ถือว่าเป็นฝีมือเอกของเวียดนามในการสเกตช์เสื้อครุยฯชุดเหล่านี้คือ ช่างศิลป์ปักมือหนึ่งของเวียดนาม นายหวู วัน หย่อย ที่อาศัยที่หมู่บ้านดง กื๋อ อำเภอ เถื่องติ๊น กรุงฮานอย


( VOVworld )- ที่พิพิธภัณฑ์วัตุโบราณของราชสำนักเว้ได้จัดแสดงเสื้อครุยในราชสำนักราชวงศ์เหงวียนหลายชุด ซึ่งเป็นผลงานด้านศิลปะเพราะมีการเย็บ ปักและการแกะสลักด้วยเงินและทองอย่างประณีตสวยงาม  และผู้ที่ถือว่าเป็นฝีมือเอกของเวียดนามในการสเกตช์เสื้อครุยฯชุดเหล่านี้คือ ช่างศิลป์ปักมือหนึ่งของเวียดนาม นายหวู วัน หย่อย ที่อาศัยที่หมู่บ้านดง กื๋อ อำเภอ เถื่องติ๊น กรุงฮานอย
หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม - ảnh 1
นายหย่อยกับฉลองพระองค์ครุยพระราชโอรสราชวงศ์้้เ้หงวียน

ช่างศิลป์หวู วัน หย่อย มีรูแร่างเล็กแต่มีความว่องไวและดวงตาสดไสแสดงถึงความฉลาด ปีนี้ ท่านมีอายุ ๔๐ ปี  ท่านเล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับช่วงเริ่มทำอาชีพปักผ้าว่า  ตอนอายุ ๑๐ ขวบ ท่านได้เรียนการปักผ้าพื้นเมืองจากพ่อและแม่ โดยเฉพาะการปักรูปมังกรและหงส์ที่ต้องใช้ความพิถีพิถันและปักด้วยทองแล่ง  ซึ่งเป็นกรรมวิธีการปักที่ยากที่สุดแต่เนื่องจากได้รับการสอนเป็นอย่างดีจากพ่อและแม่ตลอดจนความขยันของตนเอง ท่านจึงสามารถเรียนรู้เคล็ดลับการปักนี้อย่างดีเมื่อตอน ๑๕ ขวบเท่านั้น  และความหลงไหลในการปักได้ค่อยๆซึมซับเข้าสู่ตัวท่าน โดยเริ่มแรกท่านรับปักเครื่องแต่งกายชุดธรรมดาๆ แล้วต่อมาก็รับปักชุดที่ต้องใช้เทคนิกสูง นายหย่อยเล่าถึงเหตุผลที่ตนหันมาทำการสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักว่า ปลายปีค.ศ. ๑๙๙๓ มีชาวเวียดนามโพ้นทะเลคนหนึ่งที่อยากสเกตช์เครื่องหมู่บูชาของวัดวาอารามต่างๆ และนายหย่อยก็ชอบความคิดเห็นนี้จึงเข้าร่วม และตั้งแต่ปลายปีค.ศ. ๑๙๙๓ ถึงต้นปีค.ศ. ๑๙๙๔ พวกเขาได้ลงมือสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักชุดต่างๆ

ในการสเกตช์เสื้อครุยโบราณนั้น นายหย่อยได้รับการสนับสนุนจากนายจิ่ง แบ๊ก ชาวเวียดนามที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา โดยนายแบ๊กหลงไหลในการสเกตช์วัตถุโบราณต่างๆของราชวงศ์เหงวียนที่เป็นราชวงศ์สุดท้ายของระบอบศักดินาในเวียดนาม  นายแบ๊กจัดตั้งกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งช่วยงานช่างศิลป์หย่อย นายหย่อยเล่าว่า “ ผมกับกลุ่มผู้ช่วยงานได้ค้นหาเครื่องแต่งกายโบราณในประเทศและไปต่างประเทศเช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและสหรัฐอเมริกาตลอดจนพบปะกับนักสะสมวัตถุโบราณ  ซึ่งบางชุดเหลือแต่ผืนผ้าลวดลายโบราณ หรือได้พบปะกับคุณป้าที่เคยอยู่ในวังและยังมีเสื้อยาวธรรมดาของสมัยนั้นอยู่แต่ไม่ใช่ชุดเสื้อครุยในราชสำนักที่ใช้ออกงานหรือเข้าร่วมพระราชพิธีสำคัญๆ ผมยังศึกษาหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสือเกี่ยวกับลวดลายต่างๆ ปรึกษากับผู้อาวุโสเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสเกตช์ภาพโบราณ

หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม - ảnh 2

การศึกษาและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างการปักยากเพียงใด การค้นหาวัตถุที่ใช้ในการปักนั้นก็ยากเป็นทวีคุณ เพราะด้ายและสีของด้ายปักชุดโบราณแตกต่างกับปัจจุบันมาก นายหย่อยกล่าว “ ด้ายที่ใช้ปักชุดโบราณถูกย้อมด้วยสมุนไพรจึงมีสีอ่อนๆที่แตกต่างกับปัจจุบันที่ด้ายถูกย้อมด้วยสารเคมีสีจึงฉูดฉาดมากกว่า  ดังนั้นผมจึงต้องหาใบไม้ สารส้มและข้าวเพื่อใช้ย้อมสีแทน  ”

ส่วนด้ายปักเสื้อครุยในราชสำนักก็ไม่เหมือนกัน เช่น ฉลองพระองค์ครุยพระมหากษัตริย์ต้องใช้ด้ายไหมและทองแล่ง ส่วนฉลองพระองค์ครุยของพระบรมวงศานุวงศ์เช่นพระนางเจ้า พระราชธิดาและพระราชโอรสจะใช้ด้ายเย็บและปักต่างหาก ซึ่งฉลองพระองค์ครุยพระมหากษัตริย์ชุดแรกที่นายหย่อยกับกลุ่มผู้ช่วยงานสเกตช์นั้นต้องใช้เวลานาน ๓ ปีเพราะต้องค้นหาข้อมูลและวัสดุในการทำ  นายหย่อยเล่าต่อไปว่า “ การสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักนั้นต้องตามตัวอย่างต้นฉบับ แต่วัสดุบางอย่างไม่มีต้องใช้วัสดุอื่นแทนเช่น กระดุมนั้นต้องเป็นทองแท้ แต่ปัจจุบันต้องใช้เงินและทองแดงชุบทอง๒๔เค  แทน

ตลอดเกือบ ๒๐ ปีที่ทำการสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนัก ช่างศิลป์หวู วัน หย่อยสามารถสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักได้ ๑๔ ชุดเช่น ฉลองพระองค์ครุยพระมหากษัตริย์ด่งแค้งและข่ายดิ่งห์ ฉลองพระองค์ครุยของพระนางเจ้า พระราชโอรสและพระราชธิดา ผลงานเหล่านี้ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สิ่งของวัตถุโบราณของราชสำรักเว้และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมาก มีบางรายได้มาหานายหย่อยเพื่อจ้างปักเสื้อผ้าชุดหนึ่งและได้มีโอกาสชมฝีมือของเขาด้วย  นายฟาน แทง ห่าย ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์โบราณสถานกรุงเก่าเว้ ที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเว้มาหลายปีเปิดเผยว่า  “ เสื้อครุยในราชสำนักที่ได้รับการสเกตช์จากนายหย่อยนั้นมีคุณภาพสูงและได้รับการยอมรับจากวงการนักวิชาการ ชุดเหล่านี้กำลังถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการที่ดึงดูดและสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าชม อีกทั้งยังถูกนำมาเป็นตัวอย่างต้นฉบับเพื่อการอนุรักษ์อื่นๆ  ”

จากความหลงไหลในการสเกตช์แล้ว นายหวู วัน หย่อยกำลังทำการศึกษาต่อไปเพื่อที่จะสามารถสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักของราชวงศ์อื่นๆเช่น ราชวงศ์เลและเจิ่น  ปัจจุบัน นายหย่อยกับกลุ่มผู้ช่วยงานกำลังเร่งสเกตช์เสื้อครุยในราชสำนักชุดอื่นๆให้เสร็จเพื่อส่งเข้าร่วมงานเฟสตีวัลเว้ครั้งที่ ๘ ในเดือนเมษายนนี้.

หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม - ảnh 3
หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม - ảnh 4
หวู วัน หย่อย – ช่างศิลป์ผู้เสกตช์เสื้อครุยในราชสำนักมือหนึ่งของเวียดนาม - ảnh 5



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด