เทศกาลมวยปล้ำของหมู่บ้านมายโด๋งยามวสันต์

(VOVworld) – ตามประเพณีที่สืบทอดกันมานับร้อยปี หมู่บ้านมายโด๋งจะจัดเทศกาลมวยปล้ำในวันที่ 4 ถึงวันที่ 7 เดือนอ้ายจันทรคติ ณ ศาลเจ้าแหง่ของหมู่บ้านที่แขวงมายโด๋ง เขตหว่างมาย กรุงฮานอย เสียงกลองคึกคักได้ชักชวนให้ผู้คนจากทั่วสารทิศมาชมและร่วมยสนุกสนานไปกับจบรรยากาศแห่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ของกรุงฮานอย

(VOVworld) – ตามประเพณีที่สืบทอดกันมานับร้อยปี หมู่บ้านมายโด๋งจะจัดเทศกาลมวยปล้ำในวันที่ 4 ถึงวันที่ 7 เดือนอ้ายจันทรคติ ณ ศาลเจ้าแหง่ของหมู่บ้านที่แขวงมายโด๋ง เขตหว่างมาย กรุงฮานอย เสียงกลองคึกคักได้ชักชวนให้ผู้คนจากทั่วสารทิศมาชมและร่วมยสนุกสนานไปกับจบรรยากาศแห่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ของกรุงฮานอย

เทศกาลมวยปล้ำของหมู่บ้านมายโด๋งยามวสันต์ - ảnh 1
เทศกาลมวยปล้ำของหมู่บ้านมายโด๋ง
ตามตำนาน เทศกาลมวยปล้ำมายโด๋งมีมาตั้งแต่ช่วงสมัยนายพลเหงียนตามจิงในรัชสมัยสองวีรกษัตรีพี่น้องฮายบ่าจึง ช่วงปีค.ศ. 40-43 ได้มาตั้งรกรากในหมู่บ้านมายโด๋งและได้สอนวิชามวยปล้ำให้แก่ชาวบ้านและเปิดเวทีการแข่งขันมวยปล้ำเพื่อช่วยให้ประชาชนพัฒนาสุขภาพ จากนั้นท่านได้ชักชวนให้หนุ่มๆที่แข็งแรงเข้าสมัครเป็นทหารเพื่อต่อสู้กับศัตรูจนประสบชัยชนะที่ยิ่งใหญ่หลายครั้ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุญของนายพลท่านนี้ ชาวบ้านมายโด๋งได้สร้างศาลเจ้าบูชาให้เป็นเจ้าพ่อหลักเมืองของหมู่บ้าน ส่วนประเพณีการฝึกทหารนั้นไม่เพียงแต่ถูกระบุในประวัติศาสตร์เท่านั้นหากยังได้สืบทอดกันมาผ่านเทศกาลมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านมายโด๋งอีกด้วย เทศกาลมวยปล้ำในหมู่บ้านมายโด๋งมีอายุถึง 2 พันปีและยังคงได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นายห่าดังโด๊ง กรรมการของคณะกรรมการจัดเทศกาลเผยว่า  “เราจัดเทศกาลนี้เป็นประจำทุกปี โดยนับวันจะยิ่งดีขึ้น เทศกาลจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 4-6 เดือนอ้ายจันทรคติ โดยนอกจากนักมวยปล้ำของหมู่บ้านแล้วยังมีนักมวยปล้ำจากจังหวัดและท้องถิ่นต่างๆเข้าร่วมอีกด้วย”
เอกลักษณ์ของเทศกาลมวยปล้ำในหมู่บ้านมายโด๋งคือมีนักมวยปล้ำในระดับอายุต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ชายวัยกลางคน หนุ่มและเด็ก ที่มาจากค่ายมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงในกรุงฮานอย เช่น หว่างมาย หลิงนามและเอียนเสอ พร้อมกับนักมวยปล้ำจากท้องถิ่นต่างๆ เช่น ห่าเตย บั๊กนิงห์ ฮึงเอียนและหวิงฟุกเข้าร่วมอีกด้วย ผ่านเวลานับพันปี หมู่บ้านมายโด๋งได้กลายเป็นแหล่งกำเนิดนักมวยปล้ำระดับชาติ นายหว่างวันซาน อดีตนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีอายุ 80 ปีเล่าว่า             “ศิลปะมวยปล้ำเวียดนามเป็นพื้นฐานของวิชาป้องกันตัว แม้คู่ต่อสู้จะเก่งศิลปะการต่อสู้แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะนักมวยปล้ำได้ เพราะศิลปะมวยปล้ำต้องใช้ร่างกายที่ยืดหยุ่นมากกว่าศิลปะการต่อสู้อื่นๆ เช่น เมื่ออีกฝ่ายใช้แรงในการบุก 2 ถึง 3 นาทีก็ต้องพัก ซึ่งช่วงนั้น นักมวยปล้ำก็จะโจมตีใส่คู่ต่อสู้”
เทศกาลมวยปล้ำของหมู่บ้านมายโด๋งยามวสันต์ - ảnh 2
การแข่งขันของเด็กๆได้จัดขึ้นระหว่างการแข่งขันของนักมวยปล้ำมืออาชีพ

ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเผยว่า ในการแข่งขัน ความแข็งแกร่งไม่สำคัญนัก ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่นักมวยปล้ำที่สูงจะชนะนักมวยปล้ำที่เตี้ยกว่า มีบางครั้งที่เกือบแพ้แต่สุดท้ายก็สามารถพลิกชนะได้ เคล็ดลับคือ ต้องรู้จักใช้โอกาส ไหวพริบและความคล่องตัว นี่คือศิลปะของมวยปล้ำที่นายพลต่างๆในประวัติศาสตร์ของเวียดนามได้ถอดประสบการณ์เพื่อมีชัยเหนือกองทัพของผู้รุกรานที่แข็งแกร่งกว่า
ในการแข่งขันมวยปล้ำ ก่อนการแข่งจะต้องมีการร่ายรำ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักมวยปล้ำเพื่อเป็นการเคารพบรรพบุรุษและวีรชนของประชาชาติ นอกจากนี้ก็ยังเป็นการยั่วยุคู่ต่อสู้และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตนเอง
ส่วนการแข่งขันทุกครั้งต่างสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานเนื่องจากเสียงเชียร์และเสียงกลองที่เร่งเร้าอย่างคึกคัก บนเวทีการแข่งขัน นักมวยปล้ำแบ่งเป็นสองฝ่ายโดยฝ่ายหนึ่งผูกผ้าคาดหัวสีแดงและอีกฝ่ายคาดสีเขียว ไม่สวมเสื้อเพื่อโชว์ร่างกายที่กำยำบึกบึนและทำการร่ายรำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนท่าต่อสู้เพื่อรอจังหวะโจมตีคู่ต่อสู้ รอบๆเวที ผู้ชมทุกเพศทุกวัยนั้นตื่นเต้นติดตามและปรบมือเชียร์ท่าต่อสู้ที่สวยงาม ส่วนการแข่งขันของเด็กๆได้จัดขึ้นระหว่างการแข่งขันของนักมวยปล้ำมืออาชีพ ซึ่งได้สร้างบรรยากาศที่สนุกสนานและได้รับเสียงเชียร์จากผู้ชม เด็กชายเหงียนหิวนาม อายุ 10 ขวบ นักมวยปล้ำที่กำลังรอขึ้นเวทีการแข่งขันได้กล่าวด้วยความตื่นเต้นว่า  “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันมวยปล้ำสำหรับเด็กในช่วงตรุษเต๊ต เพราะได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆทุกคน”
นักมวยปล้ำทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ถ้าหากชนะการแข่งขัน 3 รอบก็จะได้รับรางวัลที่ 1 ส่วนรางวัลนั้น นอกจากเงินรางวัลที่การแข่งขันมอบให้แล้วก็ยังมีเงินบริจาคจากผู้ชมอีกด้วย ดังนั้น เทศกาลมวยปล้ำยามวสันต์ของหมู่บ้านมายโด๋งจึงดึงดูดใจและกลายเป็นกีฬาที่ชาวบ้านให้ความสนใจติดตามเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งเป็นเทศกาลแห่งวัฒนธรรมที่มีส่วนร่วมเชิดชูศิลปะป้องกันตัวและจิตใจแห่งความสามัคคีชนในชาติของชาวเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด