การปรับองค์ประกอบภาคการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVWORLD) -เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลเสียหายมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก จึงต้องถือการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาชี้ขาดในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านมาตรการที่เข้มแข็งในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยเฉพาะองค์ประกอบของภาคการเกษตร
การปรับองค์ประกอบภาคการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1ทุ่งนาขนาดใหญ่ที่จังหวัดเบ๊นแจ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการปรับองค์ประกอบภาคการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Photo qdnd.vn

สินค้าการเกษตรของเวียดนามถูกส่งออกไปยัง 180 ประเทศและดินแดน โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2017 จะบรรลุ 3 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในเวลาที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น พายุ ภัยแล้ง น้ำท่วม สภาพอากาศร้อนจัด ฝนตกมากผิดปรกติ น้ำทะเลซึมและดินถล่ม เป็นต้น ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทำการเกษตรนับแสนเฮกตาร์ และเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารของประชาชนนับล้านคน ดังนั้น การปรับองค์ประกอบภาคการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นหน้าที่ที่เร่งด่วนของเวียดนามในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่นับวันรุนแรงมากขึ้นในแต่ละปีได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อการผลิตเกษตรในทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเวียดนาม อย่างเช่น ในหลายปีที่ผ่านมา ที่จังหวัดอานยางและจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ทำการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ทำการผลิตตามแนวทางเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่า ประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตที่ปลอดสารพิษและเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นายเจิ่นแองทือ ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทอานยางเผยว่า “เราได้จัดเขตผลิตเกษตรประมาณสองถึงสามร้อยเฮกตาร์ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แล้วก็ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานชลประทานเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาเป็นการปลูกผลไม้ พืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ในการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ เราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบให้ตอบสนองทั้ง 4 เงื่อนไข คือมีตลาดรองรับ มีประสิทธิภาพ ความเห็นพ้องของประชาชนและสอดคล้องกับการวางผังพัฒนาของท้องถิ่น”

การปรับองค์ประกอบภาคการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเหงียนซวนเกื่อง (Photo kinhtenongthon.com.vn

ควบคู่กับมาตรการดังกล่าว เกษตรกรเวียดนามยังวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ไม้ เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดสารพิษตามมาตรฐาน VietGAPและเทคโนโลยี Hydroponic สำหรับการผลิตผักในโรงมุ้ง เป็นต้น ซึ่งในเบื้องต้นได้ประสบผลที่น่ายินดี

ส่วนหน่วยงานการเกษตรเวียดนามได้ปฏิบัติโครงการ “ปฏิรูปการเกษตรตามแนวทางเพิ่มมูลค่าและพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก นายเหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า “ในเวลาข้างหน้า จากความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่พึ่งพาการผลิตแบบรายย่อยมาเป็นการผลิตตามระบบห่วงโซ่คุณค่าของสินค้า เราต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นมาตรการหลัก โดยนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยต่างๆมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจ ส่วนกระทรวงการเกษตรจะสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อสามารถเปิดรับแนวคิดและโครงการที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยปฏิรูปการเกษตรให้ถูกทิศทางตามแนวทางการพัฒนาของรัฐ”

ปัจจุบันนี้ เวียดนามมีนโยบายที่เอื้อให้สถานประกอบการเข้าร่วมพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในท้องถิ่นเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพและมีมูลค่าสูง ส่วนท้องถิ่นต่างๆก็วางผังเขตผลิตการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรเพื่อช่วยให้หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามพัฒนาและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด