ส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่

(VOVWORLD) - โครงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อปี 2012 ด้วยเงินทุนกว่า 2 แสน 2 หมื่นล้านด่ง ซึ่งหลังการปฏิบัติมาเป็นเวลา 5 ปี โครงการนี้ได้ตอบสนองความต้องการส่วนหนึ่งและมีส่วนร่วมทั้งในด้านทฤษฎี นโยบายและการถ่ายทอดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาการเกษตรในเวียดนาม
ส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่ - ảnh 1ส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่ (Photo nhandan.com.vn)

สิ่งที่น่าสนใจของผลการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการปฏิบัติในทางเป็นจริงของโครงการคือ ได้เสนอมาตรการแก้ไขที่มีลักษณะสหวิทยาการ รูปแบบการเชื่อมโยงในการผลิต มาตรการด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากการวางผัง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในชนบท ชีวิตทางวัฒนธรรมไปจนถึงการสอดแทรกการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อผลักดันการปฏิบัติมาตรฐานต่างๆในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เพื่อช่วยให้ครอบครัวเกษตรกรกว่า 5 พันครอบครัวในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ ช่วยให้ท้องถิ่นและสหกรณ์ปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เพื่อบรรลุผลที่น่ายินดีในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม นางเจิ่นกิมเลียน จากบริษัทหุ้นส่วนพันธุ์พืชสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามเผยว่า            “โครงการฯได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องจักรและมาตรการปลูกต้นไม้อย่างยั่งยืนเพื่อสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารพิษ เพิ่มผลผลิตเพื่อมีส่วนร่วมปรับเปลี่ยนโยกย้ายแรงงานในสังคม เปลี่ยนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการผลิตสินค้าแทนการผลิตเพื่อใช้เอง ส่วนผลผลิตก็ได้รับการจำหน่ายและได้สร้างสรรค์เครื่องหมายการค้า”

เพื่อปฏิบัติโครงการดังกล่าวในระยะปี 2018-2020 ให้ประสบความสำเร็จ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเหงียนซวนเกื่องเผยว่า ต้องเร่งจัดทำเอกสารทางนิตินัยให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับเป้าหมายใหม่            “หากในเร็วๆนี้ ถ้าการส่งออกของหน่วยงานเกษตรเวียดนามบรรลุ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนามในตลาดโลกจะเป็นเช่นไร เราจะมีเป้าหมายอะไรหลังปี 2020 ถ้าตำบลกว่าร้อยละ 50 บรรลุมาตรฐานชนบทใหม่ ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เราต้องเน้นหารือทั้งในด้านทฤษฎีและให้คำปรึกษาด้านกลไกนโยบายเพื่อถอดประสบการณ์ในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรและสร้างสรรค์ชนบทใหม่”

รองนายกรัฐมนตรีเวืองดิ่งเหวะ หัวหน้าคณะกรรมการชี้นำโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เผยว่า สถาบันทุกแห่งต้องเน้นวิจัยการจัดทำระเบียบกลไกและนโยบายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น การจัดทำรูปแบบการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ อนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สร้างสรรค์ชนบทใหม่พร้อมกับการพัฒนาตัวเมืองและการประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมในการเกษตร ค้ำประกันความมั่นคงและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในเขตชนบท เพราะการสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือโครงการวิจัยและประยุกต์ใช้ที่ผนวกทุกหน่วยงาน ซึ่งอาศัยสถานการณ์ในการปฏิบัติงานและความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม            “การสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือกระบวนการที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในระยะยาว หลังจากพัฒนาชนบทใหม่แล้ว เราก็ต้องมีชนบทแบบอย่าง ซึ่งชนบทแบบอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร ต้องบรรลุมาตรฐานอะไรบ้าง ขณะนี้ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทกำลังทดลองรูปแบบใหม่ใน 5 อำเภอและตำบลบางแห่ง ดังนั้นเราควรมุ่งเน้นเป้าหมายสุดท้ายคือต้องมีตำบลชนบทใหม่”

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ยังเผยว่า ในเวลาข้างหน้า การลงทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเขตชนบทใหม่ต้องเน้นถึงด้านการเกษตรและด้านที่ไม่ใช่การเกษตร ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการแก้ปัญหาใหญ่ผ่านโครงการวิจัยทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ มาตรการแก้ไขเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการปฏิบัติรูปแบบต่างๆ ควบคู่กันนั้น การประยุกต์ใช้กลไกการคัดเลือกและมอบหมายหน้าที่โดยตรงในกรณีที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้อย่างทันการณ์ นายกาวดึ๊กฟ้าด รองหัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางได้เผยว่า            “ต้องให้ความสนใจมากขึ้นถึงการสร้างสรรค์ชีวิตทางวัฒนธรรมในเขตชนบท ดังนั้น ควบคู่กับการหารือเกี่ยวกับระเบียบกลไก นโยบายและรูปแบบด้านเทคนิก ก็ควรวิจัยเกี่ยวกับปัญหาสังคมในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่มากขึ้นเพื่อช่วยยกระดับชีวิตทางจิตใจให้แก่ประชาชนในเขตชนบท”

ผลการวิจัยและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตเกษตรและชนบทใหม่นอกจากส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว ยังเสริมความรู้ให้แก่เกษตรกรผ่านการเปิดการฝึกอบรมและแนะนำโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิตและชีวิตความเป็นอยู่อีกด้วย ดังนั้น เพื่อให้การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ หน่วยงานทุกระดับต้องปฏิบัติมาตรการแก้ไขต่างๆอย่างพร้อมเพรียงเพื่อสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในชีวิตและในการผลิตได้อย่างทันการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาการเกษตรและชนบทใหม่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด