สถานประกอบการเวียดนามใช้โอกาสจากข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ

(VOVWORLD) - ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม – อียูหรืออีวีเอฟทีเอเป็นข้อตกลงการค้าเสรีรุ่นใหม่ระหว่างเวียดนามกับ 28 ประเทศสมาชิกของอียู ซึ่งพร้อมกับข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือซีพีทีพีพี อีวีเอฟทีเอถือเป็นข้อตกลงสองฉบับที่มีขอบเขตกว้างใหญ่และมีคำมั่นสูงที่สุดของเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งเปิดทั้งโอกาสและความท้าทายให้แก่สถานประกอบการเวียดนาม โดยเฉพาะการจัดทำยุทธศาสตร์ประกอบธุรกิจให้เหมาะสมเพื่อใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่
สถานประกอบการเวียดนามใช้โอกาสจากข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ - ảnh 1อีวีเอฟทีเอจะเปิดโอกาสเป็นอย่างมากให้แก่สถานประกอบการเวียดนาม

อีวีเอฟทีเอคือโอกาสให้สถานประกอบการเวียดนามผลักดันการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพและนำเข้าอุปกรณ์และวัตถุดิบที่มีคุณภาพด้วยราคาที่ย่อมเยา แต่ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่เข้มงวดในการระบุแหล่งที่มาของสินค้า กำแพงด้านเทคนิคและการเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ถ้าหากไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างถูกต้อง อีวีเอฟทีเอจะกลายเป็นความท้าทายต่อสถานประกอบการเวียดนาม นาย หวูเตี๊ยนหลก ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอเผยว่า อีวีเอฟทีเอเป็นโอกาสให้สถานประกอบการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพและนำเข้าอุปกรณ์และวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงด้วยราคาย่อมเยา            “ควบคู่กับความพยายาม สถานประกอบการควรมีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม โดยต้องระบุตลาดส่งออกที่มุ่งเน้นในสภาวการณ์ใหม่ เช่น ตลาดที่เราจะได้รับประโยชน์ในด้านภาษีศุลกากรและตลาดหลัก แต่ก็ต้องค้ำประกันมาตรฐานเพื่อสามารถส่งออกไปยังตลาดเหล่านั้นได้ เราต้องหาหุ้นส่วนโดยเร็วและควรมีตลาดที่หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง”

อีวีเอฟทีเอกนำศักยภาพมาให้แก่สถานประกอบการเวียดนามผ่านการยกเลิกภาษีนำเข้าต่อสินค้าถึงร้อยละ 99 รายการ โดยเฉพาะหลังจากที่มีผลบังคับใช้ สินค้าต่างๆของเวียดนามจะได้รับการเก็บภาษีร้อยละ 0 ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่สินค้าการเกษตรของเวียดนามเป็นอย่างมาก เช่น สัตว์น้ำ ข้าว น้ำตาล พริกไทย มะม่วงหิมพานต์ น้ำผึ้งธรรมชาติ พืชผักผลไม้และน้ำผลไม้ ซึ่งสถานประกอบการเวียดนามก็ต้องมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามห่วงโซ่ คือต้องตรวจสอบคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ เพื่อตอบสนองมาตรฐานในการส่งออก

สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปัจจุบันนี้ อียูเป็นตลาดรายใหญ่อันดับสองของเวียดนาม รองจากประเทศสหรัฐ ด้วยอัตราการขยายตัวในแต่ละปีบรรลุตั้งแต่ร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 10 โดยเฉพาะในปี 2018 ได้ส่งออกไปยังตลาดอียูกว่า  4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย ฟีหงอกจิง ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนของเครือบริษัทหุ้นส่วนสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโห่เกือม หวังว่า มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเวียดนามจะบรรลุ 4 หมื่นพันล้านดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่มีข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ แต่การแข่งขันกับสถานประกอบการต่างประเทศ สถานประกอบการเอฟดีไอและสถานประกอบการภายในประเทศจะรุนแรงมากขึ้น            “เมื่ออีวีเอฟทีเอได้รับการอนุมัติ สถานประกอบการเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะมีโอกาสส่งออกสินค้าประเภทต่างๆไปยังตลาดยุโรป โดยสินค้าประเภทนี้จะได้เก็บภาษีเกือบร้อยละ 0 แทนร้อยละ 9.6 ในปัจจุบัน แต่ในขณะที่รอการอนุมัติ สถานประกอบการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดแรงงานและยกระดับมาตรฐานต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านคุณภาพตามมาตรฐานของยุโรป”

ส่วนนาย เหงียนหายมิงห์ รองนายกสมาคมสถานประกอบการยุโรปประจำเวียดนามหรือ Eurocham ได้เผยว่า สถานประกอบการเวียดนามควรให้ความสนใจถึงแหล่งที่มาของสินค้า            “ อุตสาหกรรมสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปและอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าคือสองอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ แต่เพื่อได้รับประโยชน์แล้ว สถานประกอบการของอุตสาหกรรมนี้ต้องให้ความสนใจถึงเงื่อนไขแหล่งที่มาของสินค้า โยเฉพาะการอนุญาติให้สถานประกอบการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศหรือประเทศที่ได้ลงนามในข้อตกลงกับอียู เช่น สาธารณรัฐเกาหลี จึงจะช่วยให้เราได้รับสิทธิพิเศษในด้านภาษีได้ สิ่งนี้จะช่วยให้สถานประกอบการเวียดนามเปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการผลิตและเราควรเป็นฝ่ายรุกในด้านวัตถุดิบมากขึ้น นี่คือเป้าหมายหลักที่เศรษฐกิจเวียดนามและสถานประกอบการเวียดนามมุ่งปฏิบัติ”

ปัจจุบันนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามได้ยื่นเสนอให้รัฐบาลอนุมัติปฏิบัติขั้นตอนการลงนามอนุมัติอีวีเอฟทีเอฟ ดังนั้น สถานประกอบการเวียดนามต้องเริ่มศึกษาข้อตกลงฉบับนี้อย่างรอบคอบเพื่อใช้โอกาสโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งต้องเป็นฝ่ายรุกในการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตัดลดภาษีของอียูและเวียดนามในประเด็นต่างๆ เช่น อัตราแหล่งที่มาของสินค้า เงื่อนไขด้านเทคนิค แรงงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อวางยุทธศาสตร์ในระยะยาว นอกจากนี้ สถานประกอบการเวียดนามก็ควรขยายความร่วมมือผ่านสมาคมสถานประกอบการต่างๆ เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิก – สังคม ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอียูที่เต็มไปด้วยศักยภาพและความเข้มงวด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด