เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงวางแผนปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVWORLD) - หลังการปฏิบัติตามมติ 120 ของรัฐบาลเกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นเวลา 2 ปี  กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นได้ร่วมกันปรับปรุงกลไกและนโยบายการวางแผนเพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขอย่างยั่งยืน
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงวางแผนปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1 ภัยแล้งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Photo Internet)

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท ในตลอด 2 ปีที่ปฏิบัติมติ 120 จีดีพีของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2018 บรรลุร้อยละ 7.8 สูงที่สุดในรอบ 4 ปี มูลค่าการส่งออกของภูมิภาคบรรลุ 1 หมื่น 5 พัน 7 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่น่าสนใจคือการปฏิบัติหน้าที่และมาตรการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนได้บรรลุผลงานที่น่ายินดี เช่น สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตต่ำมาเป็นการปลูกพืชผักผลไม้ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์ ยกตัวอย่างคือจังหวัดเตี่ยนยางเป็นท้องถิ่นเดินหน้าในการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชผักผลไม้และสัตว์เลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เช่น ในพื้นที่ดินเปรี้ยวและดินเค็มในเกาะริมฝั่งทะเลเตินฟู้โดง ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่ 2,000 เฮกตาร์เพื่อปลูกตะไคร้และ1,000 เฮกตาร์ปลูกทุเรียนเทศ รวมทั้งเลี้ยงเป็ดทะเล ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นกว่า 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว ส่วนนายเจิ่นวันโห่ง ในหมู่บ้าย โหย่งแหลง 2 ตำบลตังหว่า อำเภอก่อกงดงก็เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงแพะแทนการปลูกข้าว จากจุดเริ่มต้นที่มีแพะพันธุ์ตัวเดียวในตอนแรก ปัจจุบัน ครอบครัวของคุณ โห่งมีแพะกว่า 200 ตัว โดยนอกจากขายเนื้อและแพะพันธุ์ คุณโห่งยังขายนมแพะอีกด้วย นาย เจิ่นวันโห่งเผยว่า การเลี้ยงแพะเหมาะสำหรับพื้นที่แห้งแล้งริมฝั่งทะเล สร้างรายได้ 300 – 400 ล้านด่งต่อปี ซึ่งทำให้ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น            “ในตอนแรก ผมประสบความล้มเหลว แต่หลังจากนั้นก็ได้ศึกษาค้นคว้าจากคุณป้าคุณอาที่เลี้ยงแพะก่อนเรา ซื้อหนังสือแนะนำเทคนิคการเลี้ยงแพะมาอ่าน และตอนนี้ผมได้ประสบความสำเร็จ ผมเลือกอาชีพเลี้ยงแพะเพราะสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มีรายได้สูงและราคามีเสถียรภาพ การเลี้ยงก็ง่าย แต่ละปี ผมเลี้ยงแพะเพิ่ม 100-200 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพะนมเพื่อขายนมแพะ”

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตให้เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละท้องถิ่น จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อย่างเช่น จังหวัดเบ๊นแจมีอำเภอริมฝั่งทะเล 3 อำเภอที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปัญหาน้ำทะเลซึม โดยได้ปรับปรุงระบบชลประทานให้สมบูรณ์ เช่น เลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่เกือบ 36,000 เฮกตาร์ ลดพื้นที่ปลูกข้าวและผลิตเกลือประมาณ 10,000 เฮกตาร์ใน 3 อำเภอคือ บาจี บิ่งด๋ายและแถงฟู้โดยหันมาปลูกมะพร้าวและผลไม้แทน รวมทั้งการเลี้ยงวัวตามมาตรฐาน VietGap ซึ่งทำให้ฝูงวัวของจังหวัดเบ๊นแจเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนตัวและกลายเป็นท้องถิ่นนำหน้าของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นาย หวิ่งวันแดด เกษตรกรในตำบลอานดิ๋ง อำเภอโจว์แถ่ง จังหวัดเบ๊นแจ ซึ่งได้หลุดพ้นจากความยากจนด้วยการเลี้ยงวัวเผยว่า            “ผมคิดว่า ที่นี่เลี้ยงวัวเหมาะสมที่สุด เพราะเรามีดิน มีหญ้า แม้รายได้จากการเลี้ยงวัวจะเพิ่มขึ้นไม่รวดเร็วแต่ก็ยั่งยืน วัวส่วนใหญ่ไม่ติดโรค กำไรจากการขายวัวอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านด่งต่อตัว เราสามารถใช้กำไรนี้ไปลงทุนในด้านอื่นได้”

ส่วนรูปแบบการเพาะเลี้ยงกุ้งคู่กับการปลูกข้าวกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในจังหวัดก่าเมาเนื่องจากสอดคล้องกับปัญหาน้ำทะเลซึมที่นับวันกินพื้นที่กว้างขึ้น ในอดีต ตำบลเตินบั่ง อำเภอเท้ยบิ่ง ปลูกอ้อยเป็นหลักแต่ปัจจุบันเกษตรกรได้เปลี่ยนมาเพาะเลี้ยงกุ้งคู่กับการปลูกข้าวในพื้นที่ 3,600 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 90พื้นที่ของท้องถิ่น  นาย เลหว่างเฟือง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลเตินบั่งเผยว่า ปัญหาน้ำทะเลซึมได้ส่งผลดีต่อการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงกุ้งคู่กับการปลูกข้าว ซึ่งสร้างกำไรประมาณ 100 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี สูงกว่าการปลูกข้าวแบบปรกติหรืออ้อยหลายเท่า            “นี่คือรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งการปลูกข้าวสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน รักษาความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ท้องถิ่น และอำนวยความสะดวกในการทำเกษตรอื่นๆ เช่น มีแหล่งอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้ง จากประสบการณ์ที่ได้มา ถ้าหากการปลูกข้าวได้ผลดี การเพาะเลี้ยงกุ้งก็จะมีประสิทธิภาพเช่นกัน ดังนั้น รูปแบบการเลี้ยงกุ้งควบคู่กับการปลูกข้าวเป็นแนวทางที่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่ไม่อำนวยแบบนี้ได้ดี”

ปัจจุบันนี้ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังมีรูปแบบการผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมและสัตว์น้ำอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ แม้ยังประสบอุปสรรคและความท้าทายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแต่ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังคงพยายามฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อทำให้ความท้าทายกลายเป็นโอกาสพัฒนาและสร้างฐานะให้มั่นคง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด