เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการปฏิวัติอุสาหกรรม 4.0

(VOVWORLD) -การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือแนวโน้มร่วมโลก ส่วนในประเทศเวียดนาม รัฐบาลและชมรมสถานประกอบการก็กำลังปฏิบัตินโยบายและยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทันกับการพัฒนาของโลก โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ประเทศให้พัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการปฏิวัติอุสาหกรรม 4.0 - ảnh 1นายหวูเตี๊ยนหลก ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (Photo vepf.vnexpresss.net)

ปี 2015 พร้อมกับ 192 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เวียดนามได้อนุมัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือเอสดีจี 17 เป้าหมายตามระเบียบวาระการประชุมปี 2030 แต่เพื่อบรรลุ 17 เป้าหมายนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2017 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ลงนามอนุมัติมติประกาศแผนการปฏิบัติแห่งชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติระเบียบวาระการประชุม 2030 เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในเนื้อหาของ 17 เป้าหมายดังกล่าว มีหลายข้อที่สอดคล้องกับเวียดนาม ซึ่งสามารถสอดแทรกเข้าในยุทธศาสตร์การประกอบธุรกิจของสถานประกอบการหลายแห่งเพื่อมีส่วนร่วมเสร็จสิ้นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

นายหวูเตี๊ยนหลก ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอเผยว่า รัฐบาลเวียดนามและธนาคารโลกได้เสนอรายงานเกี่ยวกับเวียดนามถึงปี 2035 พร้อมทั้งหวังว่า จะนำเวียดนามกลายเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวประชากรในระดับปานกลาง คือกว่า 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2035 พร้อมทั้งเสนอการเปลี่ยนแปลงใน 6 ด้านของเศรษฐกิจที่มีความคล้ายคลึงกับเป้าหมายต่างๆในระเบียบวาระการประชุม 2030 เช่น ปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทันสมัย พัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน สร้างทักษะความสามารถในการเปลี่ยนแปลงใหม่และความคิดสร้างสรรค์ของประเทศ ยกระดับประสิทธิภาพของเศรษฐกิจในการพัฒนาเป็นตัวเมือง การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงตระหนักว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือหนทางเดียวของการพัฒนา โดยต้องให้ความสนใจถึงการเพิ่มขีดความสารถในการแข่งขันให้แก่สถานประกอบการและเศรษฐกิจเวียดนาม            “เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศมติเกี่ยวกับการปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้เวียดนามกลายเป็น 1 ใน 4 เศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันและมีกลไกที่มีคุณภาพชั้นนำของอาเซียน 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติถือเป็นพื้นฐานให้เราจัดทำโครงการพัฒนาของเวียดนาม”

ในตลอด 41 ปีที่เดินพร้อมกับสหประชาชาติและ 25 ปีที่เวียดนามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับธนาคารโลกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1993 สถานะของเวียดนามนับวันยิ่งสูงเด่นบนเวทีโลก โดยกำลังสร้างสรรค์รัฐบาลเพื่อการพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์ โปร่งใส มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ในการบริหารด้านเศรษฐกิจเพื่อผลักดันกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก ควบคู่กันนั้นคือชมรมสถานประกอบการที่คล่องตัว มีความคิดสร้างสรรค์และประยุกค์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด นับวันใช้ผลสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการประกอบธุรกิจพร้อมกับรูปแบบใหม่ของเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงที่กำลังได้ขยายผลไปทั่วโลก

นายเหงียนเท้เฟือง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนเผยว่า ในหลายปีมานี้ เวียดนามได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคม โดยในปี 2017 เศรษฐกิจเวียดนามได้บรรลุ 2 แสน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับที่ 34 ของโลก รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรอยู่ที่กว่า 2,300 ดอลลาร์ อยู่อันดับที่ 134 ของโลก อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2017 ได้บรรลุร้อยละ 6.81 สูงที่สุดในรอบ 10 ปีมานี้ เมื่อปี 2016 ดัชนีการพัฒนามนุษย์หรือ HDI ของเวียดนามอยู่อันดับ 115 ในจำนวน 188 ประเทศ ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงใหม่และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ต่างได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น            “ความพยายามปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของเวียดนามในหลายปีที่ผ่านมาได้ประสบผลงานที่น่ายินดีต่างๆ ในตลอด 4 ปีที่ปฏิบัติมติของรัฐบาล บรรยากาศการประกอบธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามในปี 2017 ได้รับคำชื่นชมจากองค์กรระหว่างประเทศว่ามีการปรับปรุงมากที่สุด 3 ดัชนีที่เราตั้งเป้าหมายบรรลุต่างได้เลื่อนอันดับสูงขึ้น คือ ดัชนีความสามารถในการแข่งขันเลื่อนขึ้น 5 อันดับ อยู่อันดับที่ 55 จากทั้งหมด137 อันดับ บรรยากาศการประกอบธุรกิจอยู่อันดับที่ 68 จาก 190 อันดับ ซึ่งได้เลื่อนขึ้น14 อันดับ และดัชนีการเปลี่ยนแปลงใหม่และความคิดสร้างสรรค์เลื่อนขึ้น 12 อันดับเมื่อเทียบกับปี 2016 ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ เวียดนามได้เลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1”

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เวียดนามกำลังกำหนดสถานะในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยชมรมสถานประกอบการมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาอย่างยั่งยืนก็ถือเป็นโอกาสที่ดีเพื่อให้สถานประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันปรับปรุงการบริหารสถานประกอบการ นี่คือโอกาสให้สถานประกอบการเวียดนามร่วมกับประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด