เศรษฐกิจเวียดนามลดการพึ่งพาเงินโอดีเอ

(VOVworld) - เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดและใช้เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา หรือโอดีเออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาจากประเทศที่ยากจนมาเป็นประเทศที่มี รายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ยังคงประสบความท้าทายต่างๆเนื่องจากต้องลดการพึ่งพา เงินโอดีเอในการพัฒนาประเทศ

(VOVworld) - เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดและใช้เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือโอดีเออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาจากประเทศที่ยากจนมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ยังคงประสบความท้าทายต่างๆเนื่องจากต้องลดการพึ่งพาเงินโอดีเอในการพัฒนาประเทศ

เศรษฐกิจเวียดนามลดการพึ่งพาเงินโอดีเอ - ảnh 1
เศรษฐกิจเวียดนามลดการพึ่งพาเงินโอดีเอ
เงินกู้โอดีเอด้วยดอกเบี้ยพิเศษในระยะยาวได้มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม โดยในตลอด 10ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ใช้เงินโอดีเอในโครงการก่อสร้างระบบคมนาคม โรงไฟฟ้า รวมทั้งโครงการต่างๆด้านการเกษตร ป่าไม้และสัตว์นํ้า สาธารณสุข การศึกษาและฝึกอบรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม รายงานของกระทรวงการคลังที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ปรากฎว่า ตั้งแต่ปี 2010 เวียดนามได้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งทำให้เงินกู้ด้วยดอกเบี้ยพิเศษสำหรับเวียดนามลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนธนาคารโลกจะยุติการปล่อยเงินกู้โอดีเอให้แก่เวียดนามภายในเดือนกรกฎาคมปี 2017 โดยจะเปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่ได้รับสิทธิพิเศษน้อยกว่าและมุ่งสู่การกู้เงินตามกลไกตลาด ทางด้านธนาคารพัฒนาเอเชียหรือADB ได้เผยว่า มีแผนยุติการปล่อยเงินกู้โอดีเอส่วนหนึ่งแก่เวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2019  นาย Eric Sidgwick ผู้อำนวยการของ ADB ประจำเวียดนามได้เผยว่า“การตัดสินใจยุติการปล่อยเงินกู้โอดีเอจะอาศัยการประเมินเกี่ยวกับสถานะและศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม แต่แน่นอนว่า สักวันหนึ่ง เวียดนามจะไม่ได้รับเงินกู้โอดีเอจากกองทุนเพื่อการพัฒนาเอเชียอีก”
เงินโอดีเอถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม นาย เจืองก๊วกหุ่ง อธิบดีกรมบริหารจัดการหนี้เสียและการคลังกับต่างประเทศสังกัดกระทรวงการคลังได้เผยว่า การเปลี่ยนจากประเทศที่มีรายได้ตํ่ามาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางจะส่งผลต่อนโยบายการปล่อยเงินโอดีเอให้แก่ประเทศนั้นๆคือจากการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเปลี่ยนมาเป็นความร่วมมือแบบหุ้นส่วน โดยโครงการสำคัญต่างๆของเวียดนาม เช่น โครงการพัฒนาระบบคมนาคม พลังงาน การจัดสรรค์และระบายนํ้า รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและแก้ปัญหาความยากจนจะไม่ได้รับเงินกู้โอดีเออีกและเผยว่า“ก่อนหน้านั้น ในช่วงก่อนปี 2010 การปล่อยเงินกู้โอดีเอมีระยะเวลาให้กู้ 30 – 40ปี แต่ในปัจจุบันได้ลดลงเหลือ 20 – 25 ปี  ส่วนค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเงินกู้ของผู้ประกอบการก็สูงมาก อยู่ที่ร้อยละ 2 ซึ่งในระยะยาว เงินลงทุนสำหรับโครงการต่างๆที่สามารถระดมเงินลงทุนจากประชาชนทุกภาคส่วน หรือ สามารถแสวงหากำไรเพื่อคืนทุนในการดำเนินงานนั้นก็ต้องปรับเปลี่ยนตามกลไกของตลาด”
ถ้าหากไม่ได้รับเงินกู้โอดีเออีก เวียดนามจะประสบอุปสรรคเพราะขาดเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ก็สามารถเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าของประเทศอื่นๆและองค์การระหว่างประเทศเมื่อสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มระดับความเชื่อถือของเวียดนาม  ซึ่งในฐานะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เวียดนามกำลังมีศักยภาพด้านการเงินและการเข้าถึงตลาดต่างๆในโลกมากขึ้น นาย เหงียนดึ๊กโด๋ะ รองหัวหน้าสถาบันเศรษฐศาสตร์และการคลังได้เผยว่า ควรมองการลดการพึ่งพาเงินโอดีเอในแง่บวกเนื่องจากการได้รับสินเชื่อด้วยดอกเบี้ยในระดับสูงนั้นจะสร้างแรงกดดันให้เวียดนามต้องมีมาตรการต่างๆเพื่อใช้วงเงินดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและเผยว่า“เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการใช้เงินลงทุน ก็ต้องกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ซึ่งรัฐบาลมีแผนให้กู้เงินโอดีเอแก่ท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งทำให้ทางการท้องถิ่นต้องพิจารณาโครงการที่อาจจะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสามารถชำระเงินได้”
เพื่อให้เศรษฐกิจลดการพึ่งพาเงินโอดีเอ รัฐบาลได้วางมาตรการต่างๆเพื่อรับมือการขาดเงินทุนหลังการยุติการปล่อยเงินกู้โอดีเอจากประเทศต่างๆในขณะที่แต่ละปีเวียดนามต้องการเงินลงทุน 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในระยะปี 2016 – 2020 โดยมาตรการที่จำเป็นคือต้องปรับปรุงโครงสร้างงบประมาณรายรับรายจ่ายและลดหนี้สาธารณะในระดับที่เหมาะสม ส่วนในระยะสั้น รัฐบาลเวียดนามจะกำหนดด้านและหน่วยงานที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในการปล่อยเงินโอดีเอเพื่อปฏิบัติโครงการสำคัญเชิงยุทธศาสตร์.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด