ผลักดันแนวโน้มการนำสินค้าเกษตรจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซ

(VOVWORLD) -ในเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 สินค้าเกษตรของเวียดนามได้ถูกขายบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซ โดยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมาก ในความเป็นจริง การขายสินค้าเกษตรผ่านอี – คอมเมิร์ซไม่เพียงแต่สร้างรายได้และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรเท่านั้น หากยังเป็นการพิสูจน์ว่าการขายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซต่างๆในยุคดิจิทัลคือแนวทางที่ถูกต้อง
ผลักดันแนวโน้มการนำสินค้าเกษตรจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซ - ảnh 1สินค้าเกษตรเวียดนามจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซ (VNA)
หนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จในการนำสินค้าเกษตรจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซในเวลาที่ผ่านมาคือลิ้นจี่และลำไย ซึ่งเป็นผลไม้เฉพาะถิ่นของจังหวัดในภาคเหนือเวียดนาม เช่น จังหวัดบั๊กยาง จังหวัดหายเยืองและจังหวัดฮึงเอียน เป็นต้น ในฤดูเก็บเกี่ยวปี 2021 ซึ่งตรงกับช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด – 19  แต่ผลิตเกษตรเหล่านี้ยังคงสามารถขายได้นับพันตัน รวมไปถึงสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ เช่น ไข่ไก่และเนื้อไก่ เป็นต้น ผ่านแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซต่างๆ รูปแบบการค้าขายนี้ยังมีความได้เปรียบคือ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าเกษตรได้โดยตรงจากเกษตรกรซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้บริโภคและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นาย บุ่ยซวนต๊าม ผู้อำนวยการสหกรณ์ผลิตลำใย เหละโจว จังหวัดฮึงเอียนและนาง เลืองถิเกี๋ยม อธิบดีกรมปลูกและดูแลพืชสังกัดสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดหายเยืองเผยว่า

สำหรับเกษตรกร เราตั้งความหวังเป็นอย่างมากต่อสินค้าที่สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซ เพราะว่าสามารถขายได้เร็วและสะดวกมาก”

“แพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซช่วยแก้ไขหลายปัญหา เช่น แค่มีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ แม้อยู่ที่บ้านในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แต่ผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ ส่วนเกษตรกรก็แค่เก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น และจะมีบริษัทมารับสินค้าเกษตรถึงที่เลยถือว่าสะดวกมาก”

ตามข้อมูลสถิติในเบื้องต้น ถึงขณะนี้ มีธุรกิจครัวเรือนที่ผลิตสินค้าเกษตรได้เข้าร่วมแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซเกือบ 170,000 แห่ง สิ่งที่น่ายินดีคือ มีธุรกิจครัวเรือนด้านการเกษตรที่ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์จากอี – คอมเมิร์ซ โดยถือเป็นแนวโน้มที่จำเป็นในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การเข้าร่วมแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซยังช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนแนวคิดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตและประกอบธุรกิจการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับตลาดและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผผลิตภัณฑ์มูลค่า นาย เหงียนวันเท้ ประธานสภาบริหารสหกรณ์ลำใย เหมี่ยนเทียด อำเภอคว้ายโจว จังหวัดฮึงเอียนให้ข้อสังเกตว่า

            “ผมคิดว่า เรื่องนี้ไม่ยากสำหรับเกษตรกร แค่ได้รับการฝึกอบรมสั้นๆก็สามารถทำได้ นี่คือมาตรการขั้นพื้นฐานทั้งในระยะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และในอนาคต ในเวลาข้างหน้า ควรผลักดันการทำธุรกรรมสินค้าเกษตรผ่านอี คอมเมิร์ซเพราะเรากำลังอยู่ในยุคแห่งเทคโนโลยี 4.0 แล้ว”

สำหรับภาครัฐ กรมส่งเสริมการค้าสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้ประสานงานกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องผลักดันกระบวนการนี้ให้ทันกับยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นาย หวูบ๊าฟู้ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้เผยว่า

“ในอดีต สินค้าเกษตรของเวียดนามมักจะถูกจำหน่ายในตลาดทั่วๆไปหรือผ่านแม่ค้าพ่อค้า แต่ในขณะที่อี – คอมเมิร์ซเป็นแนวโน้มในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยเฉพาะผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ สินค้าเกษตรของเวียดนามควรเลือกอี – คอมเมิร์ซเป็นช่องทางจำหน่ายหลักเพราะมีเสถียรภาพและยั่งยืน พวกเราได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้จำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอี – คอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด”

จากสถานการณ์การผลิตลิ้นจี่ในเวียดนาม ในสองปีที่ผ่านมา การปลูกลิ้นจี่ของจังหวัดบั๊กยาง ประสบผลดีทั้งในด้านปริมาณผลผลิตและราคาขาย ซึ่งราคาขายส่งมีเสถียรภาพตลอดทั้งฤดู โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปต่างประเทศ รวมทั้งตลาดประจำ เช่น จีน สหภาพยุโรป สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งผลสำเร็จเหล่านี้มาจากความร่วมมือระหว่างกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นที่ช่วยกันสนับสนุนการขายลิ้นจี่ผ่านช่องทางอี – คอมเมิร์ซ

ปี 2021 กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้ประสานงานกับ Viettel Post ในการส่งออกลิ้นจี่บั๊กยางกว่า 3 ตันไปยังตลาดเยอรมนีผ่านช่องทางอี – คอมเมิร์ซ Voso Global นี่เป็นครั้งแรกที่เวียดนามสามารถส่งออกผลไม้สดไปยังตลาดยุโรปผ่านทางอี – คอมเมิร์ซของต่างประเทศและดำเนินการโดยคนเวียดนาม

นอกจากลิ้นจี่ สินค้าเกษตรอื่นๆ ของเวียดนามก็ได้รับการจำหน่ายผ่านช่องทางอี – คอมเมิร์ซ ซึ่งช่วยให้การจำหน่ายมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ส่วนอี – คอมเมิร์ซต่างๆของเวียดนามเช่น  Sendo, Voso, Tiki, Postmart, Shopee และ Lazada/Foodmap ก็ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรเวียดนามอย่างจริงจัง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าการจำหน่ายผ่านช่องทางทั่ว ๆ ไป การตระหนักได้ดีของเกษตรกรเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของการจำหน่ายสินค้าเกษตรบนอี – คอมเมิร์ซบวกกับการสนับสนุนต่าง ๆจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้ทำให้สินค้าเกษตรของเวียดนามนับวันได้รับการยกระดับทั้งในด้านมูลค่าและเครื่องหมายการค้า มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นและประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด