การสร้างสรรค์ชนบทใหม่จากการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของเรื่องนางเกี่ยว

(VOVWORLD) -จากการเป็นตัวอย่างของเขตชนบทที่ผสานกับการส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภองีซวน จังหวัดห่าติ๋งมีแผนการสร้างสรรค์อำเภอชนบทใหม่ตามแนวทางถือวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นรากฐาน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งในนั้น “เรื่องนางเกี่ยว” ของกวีเอก เหงวียนยู มีส่วนช่วยส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามในชมรมชนบทใหม่

การสร้างสรรค์ชนบทใหม่จากการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของเรื่องนางเกี่ยว - ảnh 1“เรื่องนางเกี่ยว” ของกวีเอก เหงวียนยู มีส่วนช่วยส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามในชมรมชนบทใหม่

ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกที่ 4 ในช่วงพักนอนกลางวัน ครู ฟานถิแห่งจากโรงเรียนอนุบาลซวนถวี อำเภองีซวน จังหวัดห่าติ่ง มักจะร้องเพลงกล่อมเด็กเกี่ยวกับ “เรื่องนางเกี่ยว”  แม้ปีนี้ ครูแห่งมีอายุแค่ 20 ปีเท่านั้นแต่เธอได้ทำงานเป็นครูมาหลายปี ซึ่งในอำเภองีซวน “เรื่องนางเกี่ยว”ไม่เพียงแต่ได้รับการสอนในโรงเรียนเท่านั้นหากยังได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวันด้วย  ครูแห่งเผยว่า

“ที่บ้าน เด็กๆจะฟังเพลงกล่อมเรื่องนางเกี่ยวจากปู่ย่าตายาย ส่วนที่โรงเรียนอนุบาลต่างๆ ครูอาจารย์ก็ร้องเพลงกล่อมเด็ก ดังนั้น เด็กจึงได้ฟังเรื่องนางเกี่ยวตั้งแต่เช้า”

ถ้าหากวัฒนธรรมถูกเลือกเป็นด้านหลักในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในอำเภองีซวน  เรื่องนางเกี่ยวก็ถือเป็นคุณค่าพื้นฐานเพื่อหล่อเลี้ยงจิตใจ ซึ่งนี่เป็นจุดเด่นของอำเภองีซวนในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นาย เหงวียนหายนาม ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภองีซวนได้เผยว่า ต้องส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมในหมู่ประชาชน สร้างความไว้วางใจ พลังขับเคลื่อนและความภาคภูมิใจต่อเกียรติประวัติวัฒนธรรมพื้นเมืองของบ้านเกิด ซึ่งช่วยปลูกฝังความปรารถนาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์บ้านเกิดที่เจริญสวยงาม มีเอกลักษณ์ โดยได้รับการปฏิบัติผ่านปฏิบัติการต่างๆในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่

“อำเภองีซวนเน้นสร้างสรรค์ชนบทใหม่บนพื้นฐานของคุณค่าพื้นเมือง พวกเราวาง 2 เป้าหมายพร้อมกันคือการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมือง โดยเฉพาะ คุณค่าวัฒนธรรมดีเด่นและคุณค่าวัฒนธรรมของหมู่บ้าน พวกเราเข้าใจได้ว่า คุณค่าวัฒนธรรมนามธรรมมีความสำคัญต่อชีวิตทางจิตวิญญาณของประชาชาติ ซึ่งต้องส่งเสริมให้ประชาชนอนุรักษ์”

ในจำนวนมาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ อำเภองีซวนได้เพิ่มอีก 1 มาตรฐานคือ เขตชุมชนแต่ละแห่งต้องมีสโมสรศิลปะพื้นเมืองที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สโมสรการแสดงเรื่องนางเกี่ยว สโมสรร้องเพลงทำนองกาจู่และสโมสรร้องเพลงทำนองโจ่ววัน จนถึงขณะนี้ เขตชุมชน 152 แห่งและโรงเรียนต่างๆในอำเภองีซวนต่างมีสโมสรศิลปะพื้นเมือง ซึ่งเขตชุมชนที่ได้มาตรฐานชนบทใหม่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ช่วยสร้างรายได้ให้แก่การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นาย เหงวียนโหมว ผู้ที่ทุ่มเทให้แก่สโมสรวัฒนธรรมพื้นเมืองมาหลายปีได้เผยว่า

“ทางสโมสรได้มาแสดงในพิธีรำลึกครบรอบ 225 ปีวันคล้ายวันเกิดของกวีเอก เหงวียนยู ซึ่งผู้เข้าร่วมงานต่างชอบฟังเรื่องนางเกี่ยว ในกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ก่อนอื่นต้องเน้นสร้างสรรค์เขตชุมชนที่มีอารยธรรม ซึ่งจะเป็นจุดหมายปลายสำหรับนักเรียนที่มาเรียนรู้รูปแบบการสร้างสรรค์ชนบทใหม่”

ในกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ผู้บริหารอำเภองีซวนตระหนักได้ดีต่อคุณค่าวัฒนธรรมนามธรรมในชีวิตทางวัฒนธรรม โดยมีการตัดสินใจเพื่อสร้างสรรค์เขตชนบทในอำเภองีซวนที่ทันสมัย มีเอกลักษณ์วัฒนธรรม ชาวงีซวนที่ขยันหมั่นเพียร มีความคิดสร้างสรรค์  มีส่วนร่วมต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ของบ้านเกิด นาย เหงวียนหายนาม ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภองีซวน จังหวัดห่าติ๋งได้เผยว่า เป้าหมายของอำเภองีซวนคือสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในระดับสูง   มุ่งสู่การพัฒนาอำเภองีซวนให้กลายเป็นเมืองแห่งมรดกในอนาคต โดยจะส่งเสริมคุณค่ามรดกที่กวีเอก เหงวียนยูได้ทิ้งไว้ให้ และจะสร้างเป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวช่วยสร้างรายได้อีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด