ชาวบ้านอำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา พัฒนาการปลูกกล้วยน้ำว้า

(VOVWORLD) -ในหลายปีที่ผ่านมา กล้วยน้ำว้าได้กลายเป็นผลไม้ที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับชาวบ้านในอำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงมากขึ้น จากความคล่องตัวและความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้าน กล้วยน้ำว้าสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ๆและมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากต้นกล้วยมากขึ้น ซึ่งเปิดเส้นทางใหม่ให้แก่เกษตรกร
ชาวบ้านอำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา พัฒนาการปลูกกล้วยน้ำว้า - ảnh 1ชาวบ้านอำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา พัฒนาการปลูกกล้วยน้ำว้า
 


ครอบครัวของนาย หล่อวันดิ๋ง ในหมู่บ้านกึ๊บ ตำบลเหมื่องบู๊ อำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา ปลูกกล้วยน้ำว้ารวม 3 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย เหมาะสำหรับดินทุกชนิด ไม่ค่อยเป็นโรคและใช้เงินลงทุนต่ำ สอดคล้องกับวิธีการปลูกของเกษตรกรในท้องถิ่นและสร้างรายได้ที่มั่นคง นาย หล่อวันดิ๋ง กล่าวว่า

"การปลูกกล้วยสร้างรายได้สูงกว่ามันสำปะหลังและข้าวโพด เมื่อราคาสูงก็จะอยู่ที่ประมาณ 7,000-8,000 ด่งต่อกิโลกรัม แต่ถ้าหากเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 ด่งต่อกิโลกรัม ขายได้ทั้งเดือนที่ประมาณ 600 กิโลกรัม – 1 ตัน สร้างรายได้เฉลี่ย 6-7 ล้านด่งต่อเดือน”

หลังการเก็บเกี่ยว นายดิ๋งและเกษตรที่ปลูกกล้วยหลายคนในตำบลต่างนำกล้วยไปยังจุดรับซื้อของสหกรณ์การเกษตร แหม่งโทย ในตำบลเหมื่องบู๊ นาง ฝ่ามถิถวี๊ สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรฯ เผยว่า

“ทุกๆ 3 วัน เราจะส่งกล้วยประมาณ 15 ตันไปจำหน่ายในตลาดเหงะอาน ห่าติ๋ง  เป็นต้น โดยเฉพาะในวันขึ้น 15 ค่ำ เราขายได้มากกว่า 20 ตัน ทางสหกรณ์ฯ ยังได้ลองนำเสนอผลิตภัณฑ์ในตลาดสหภาพยุโรปด้วย”

นอกจากขายกล้วยแล้ว ชาวบ้านยังขายใบตอง หัวปลีและลำต้นด้วย โดยใบตองขายให้ผู้ผลิตแหนมและร้านขนม ส่วนหัวปลีขายให้ร้านอาหารและคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งจากการเป็นผลิตภัณฑ์สะอาดทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในขณะที่ลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์  โดยเฉพาะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีธุรกิจครัวเรือนได้ลงทุนผลิตเส้นใยจากต้นกล้วย ซึ่งเปิดเส้นทางใหม่สำหรับการเพาะปลูกกล้วยในท้องถิ่น

นาย ก่าวันมัว เจ้าของธุรกิจครัวเรือนในตำบลเหมื่องบู๊กล่าวว่า เมื่อตระหนักถึงศักยภาพของกล้วย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่นและหลังจากที่ได้ศึกษาและเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเส้นใยจากต้นกล้วย เขาได้ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์แล้วจ้างแรงงานเพื่อทำการผลิต โดยรับซื้อต้นกล้วยต้นละประมาณ 5,000 ด่ง และต้องเลือกต้นกล้วยที่กำลังออกผลเพราะจะได้เส้นใยที่มีความเหนียวและทนกว่าปรกติ

“เส้นใยกล้วยเกรด 1 ขายในตลาดขายส่งที่กรุงฮานอยและจังหวัดลาวกายในราคาประมาณ 180,000 ด่งต่อกิโลกรัมส่วนเกรด 2 ขายประมาณ 125,000 ด่งต่อกิโลกรัม เมื่อเดือนที่แล้ว เราขายได้ 1.5 ตัน มีรายได้ประมาณ 190 ล้านด่ง ในเร็วๆนี้ เราจะส่งตัวอย่างไปแนะนำในอินเดีย ถ้าหากขายได้ในตลาดนี้ เราจะซื้อเครื่องจักรอีก 50 เครื่อง”

ชาวบ้านอำเภอเหมื่องลา จังหวัดเซินลา พัฒนาการปลูกกล้วยน้ำว้า - ảnh 2นาย ก่าวันมัว ได้ลงทุนผลิตเส้นใยจากต้นกล้วย

ปัจจุบันนี้ ที่อำเภอเหมื่องลามีพื้นที่เพาะปลูกกล้วยกว่า 1,300 เฮกตาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตำบลเหมื่องบู๊ เหมื่องจุ่ม เจี่ยงซาน ต๋าบู๊ เจี่ยงลาวและอำเภอเมืองอิท-อง โดยมีผลผลิตประมาณ 10,000 ตันต่อปี นาย เหงียนวันเติม รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอเหมื่องลาเผยว่า ทางอำเภอกำลังประสานงานกับกรมปลูกและคุ้มครองพืชของจังหวัดเซินลาและกรมปลูกพืชสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทจัดทำรหัสให้แก่พื้นที่ปลูกกล้วย 4 แห่งเพื่อค้ำประกันมาตรฐานการส่งออก พร้อมทั้งเน้นพัฒนาพื้นที่ปลูกกล้วยอินทรีย์ตามมาตรฐาน VietGAP สร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าและประชาสัมพันธ์ให้แก่กล้วยเหมื่องลาเพื่อจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศได้อย่างสะดวกและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

“ ในเวลาข้างหน้า เมื่อสามารถบรรลุมาตรฐานที่จำเป็น เราจะส่งออกกล้วยไปยังตลาดสหภาพยุโรปและบางประเทศ โดยเฉพาะเส้นใยกล้วยกำลังได้รับความนิยมในตลาดแอฟริกาและอินเดีย เราจะผลักดันการส่งออกโดยจะขยายพื้นที่ปลูกกล้วยเป็น 2,000 - 2,500 เฮกตาร์ โดยเฉพาะทำการปลูกกล้วยในพื้นที่รกร้างที่ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้”

 แนวทางใหม่ในการผลิตกล้วยนี้ได้ช่วยให้การปลูกกล้วยดำเนินไปอย่างกว้างขวางในท้องถิ่น ทำให้อำเภอเหมื่องลานับวันกลายเป็นพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เพิ่มรายได้และช่วยให้เกษตรกรสร้างฐานะอย่างมั่นคงในบ้านเกิด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด