หมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ จังหวัดลายโจว์ ตัวอย่างหมู่บ้านศิลปาชีพในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ

(VOVWORLD) - หมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ ตั้งอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านท้งเญิต ตำบล บิ่งลือ อำเภอ ตามเดื่อง จังหวัดลายโจว์ ในหลายสิบปีมานี้ หมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อเสียงจากอาชีพทำวุ้นเส้นจากแป้งต้นพุทธรักษากินได้ ผลิตภัณฑ์นับวันได้รับการยืนยันถึงชื่อเสียงในตลาด ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและสร้างฐานะให้แก่ครอบครัวผลิตวุ้นเส้นของหมู่บ้านแห่งนี้
หมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ จังหวัดลายโจว์ ตัวอย่างหมู่บ้านศิลปาชีพในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 1หมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ จังหวัดลายโจว์ ตัวอย่างหมู่บ้านศิลปาชีพในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ 

ประชาชนในตำบล บิ่งลือ ประกอบอาชีพทำวุ้นเส้นมาตั้งแต่ปี 1970 ในช่วงนั้น ชาวบ้าน ท้งเญิต ในตำบลบิ่งลือ ทำวุ้นเส้นก็เพราะความคิดถึงวุ้นเส้นซึ่งเป็นอาหารของบ้านเกิดและอยากทดลองการปลูกต้นพุทธรักษากินได้ว่าเหมาะกับดินที่นี่หรือไม่ และฝีมือทำวุ้นเส้นหลังจากอยู่ห่างจากภูมิลำเนาหลายปีจะเสื่อมถอยหรือยัง เพราะชาวบ้าน ท้งเญิต ในตำบลบิ่งลือส่วนใหญ่เป็นชาวท้ายบิ่งห์ที่อพยพมาสร้างฐานะในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ

ความคิดถึงบ้านทำให้ชาว บิ่งลือ อยากทานวุ้นเส้นปูซึ่งเป็นอาหารประจำของบ้านเกิด ดังนั้น พวกเขาจึงปลูกต้นพุทธรักษากินได้เพื่อทานให้อิ่มและทำวุ้นเส้น ซึ่งต้นพุทธรักษากินได้ก็เติบโตได้ดี โดยเฉพาะมีแป้งเยอะมาก แป้งพุทธรักษากินได้ทำให้วุ้นเส้นบิ่งลือเหนียวนุ่ม สามารถทำให้เป็นเส้นยาวได้หลายเมตรโดยเส้นไม่ขาด และเมื่อนำไปปรุงก็ได้รสชาติที่อร่อยกว่าวุ้นเส้นที่บ้านเกิด

แต่จนถึงปลายปี 1990 เมื่อการแลกเปลี่ยนการค้าพัฒนาอย่างเข้มแข็ง วุ้นเส้นบิ่งลือก็เป็นที่รู้จักในตลาด ต้นพุทธรักษากินได้ก็กลายเป็นพืชสำคัญ มีส่วนร่วมแก้ปัญหาความยากจนของท้องถิ่น จากการลงทุนด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้คุณภาพและผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นบิ่งลือนับวันมีคุณภาพมากขึ้น นาง เจิ่นถิเหลือด หนึ่งในครอบครัวผลิตวุ้นเส้นที่หมู่บ้านท้งเญิตในตำบล บิ่งลือ อำเภอ ตามเดื่อง เผยว่า “ชาวบ้านประกอบอาชีพทำวุ้นเส้นมานานแล้วและปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นบิ่งลือก็มีเครื่องหมายการค้า ชีวิตของประชาชนดีขึ้น ลูกหลานได้ไปโรงเรียน ราคาขายวุ้นเส้นอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นด่งต่อกิโลกรัม ปีนี้ ครอบครัวดิฉันขายวุ้นเส้นได้กว่า 10 ตันและวุ้นเส้นของเรามีขายในทั่วประเทศ”

หมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ จังหวัดลายโจว์ ตัวอย่างหมู่บ้านศิลปาชีพในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 2จากการประกอบอาชีพทำวุ้นเส้น ชาวบ้านบิ่งลือได้มีชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ขณะนี้ ตำบล บิ่งลือมีกว่า 300 ครอบครัวที่ปลูกต้นพุทธรักษากินได้มีโรงงานผลิตแป้งจากต้นพุทธรักษากินได้ 10 แห่ง และมี 50 ครอบครัวที่ผลิตวุ้นเส้นโดยทุกปีขายวุ้นเส้นในตลาดได้กว่า 100 ตัน หลายครอบครัวที่ทำวุ้นเส้นมีรายได้นับร้อยล้านด่งต่อปี ปัจจุบัน วุ้นเส้นบิ่งลือไม่เพียงแต่มีขายในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น หากยังมีขายในทั่วประเทศอีกด้วยและกลายเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีเครื่องหมายการค้าของจังหวัดลายโจว์

เนื่องจากขายได้ราคาดีทำให้ชาวบ้านผลิตวุ้นเส้นได้เท่าไหร่ก็มีพ่อค้าแม่ค้ามารับไปขายจนหมด ไม่มีของเหลือค้างสต็อก หลายครอบครัวต้องจ้างแรงงานเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 2-3 เท่าเมื่อถึงช่วงตรุษเต๊ต ทำให้ในหลายปีที่ผ่านมา ชาวบิ่งลือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นาย เหงียนซวนเจื่อง หนึ่งในครอบครัวทำวุ้นเส้นในท้องถิ่นเผยว่า “การขายวุ้นเส้นที่มีคุณภาพดีก็สร้างรายได้ที่ดี ดังนั้น ชีวิตของชาวบ้านก็มีความอิ่มหนำผาสุกมากขึ้น เฉลี่ยแต่ละวัน ถ้าหากมีแดด ครอบครัวผมผลิตวุ้นเส้นได้ 1-1.5 ตันและตั้งแต่ต้นฤดูทำวุ้นเส้นจนถึงขณะนี้ ครอบครัวผมทำวุ้นเส้นไปแล้วประมาณ 6-6.5 ตัน ปีนี้วุ้นเส้นขายดีและราคาเหมาะสม”

เพื่อช่วยให้หมู่บ้านทำวุ้นเส้นพัฒนา ทางการตำบลบิ่งลือได้วางผังเขตปลูกต้นพุทธรักษาในพื้นที่เกือบ 50 เฮกตาร์ นอกจากนั้น ทางตำบลได้เน้นประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติขั้นตอนต่างๆเป็นอย่างดี ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการผลิตและการแปรรูปที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร อีกทั้งผลักดันการประชาสัมพันธ์ แนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดผู้ที่สนใจให้เข้ามาลงทุนทำสวนปลูกต้นพุทธรักษา แปรรูปและขยายการผลิต มีส่วนร่วมสร้างงานทำ เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นาง เจิ่นถิเหญิน ผู้ใหญ่บ้าน ท้งเญิต ในตำบล บิ่งลือ อำเภอ ตามเดื่อง ยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าวุ้นเส้นบิ่งลือเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านมีรายได้ที่มั่นคง ดังนั้น ในหลายปีมานี้ ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านทำวุ้นเส้น บิ่งลือ จึงมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงและผูกพันกับอาชีพมากขึ้น “ขณะนี้ ชาวบ้านในหมู่บ้านท้งเญิตทำวุ้นเส้นตลอดปี ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง ประสิทธิภาพของอาชีพทำวุ้นเส้นได้ทำให้ชีวิตของชาวบ้านมีความอิ่มหนำผาสุกมากขึ้น”

จนถึงปัจจุบัน วุ้นเส้นที่ทำจากแป้งต้นพุทธรักษากินได้บิ่งลือได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและกลายเป็นอาหารเฉพาะของท้องถิ่น เป็นสินค้าการเกษตรหลัก ช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชนและยืนยันชื่อเสียงในตลาด./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด