ประสบการณ์รับมือกับความเสี่ยงฉับพลันของสิงคโปร์

(VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญความท้าทายด้านภัยธรรมชาติและภัยพิบัติที่ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ในเวลาที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้ปฏิบัติหลายมาตรการเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวเพื่อพัฒนา รวมทั้ง โครงการ“บริหารผลผลิตของสถานประกอบการ”ที่ได้รับความสนใจเรียนรู้จากประเทศต่างๆ เช่น ไทย เวียดนามและฟิลิปปินส์


(VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญความท้าทายด้านภัยธรรมชาติและภัยพิบัติที่ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ในเวลาที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้ปฏิบัติหลายมาตรการเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวเพื่อพัฒนา รวมทั้ง โครงการ“บริหารผลผลิตของสถานประกอบการ”ที่ได้รับความสนใจเรียนรู้จากประเทศต่างๆ เช่น ไทย เวียดนามและฟิลิปปินส์

ประสบการณ์รับมือกับความเสี่ยงฉับพลันของสิงคโปร์ - ảnh 1
ประเทศสิงคโปร์(Photo:www.diaoconline )

เศรษฐกิจที่เปิดกว้างช่วยให้สิงคโปร์มีโอกาสร่วมมือลงทุนมากมายแต่ก็แฝงไว้ซึ่งความเสี่ยงมากมาย เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน การจัดสรรการบริการหรือความเสี่ยงจากปัจจัยที่๓ สถานประกอบการจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงนี้เมื่อเกิดภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ดังนั้น โครงการ“บริหารผลผลิตของสถานประกอบการ”ที่สิงคโปร์ได้ปฏิบัติเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของสถานประกอบการเกี่ยวกับการวางแผนผลิต ประกอบธุรกิจ และการรับมือกับความเสี่ยงในกระบวนการดำเนินงานซึ่งต้องการการประเมินผลกระทบที่อาจคุกคามกระบวนการผลิต ประกอบธุรกิจของสถานประกอบการแบบบูรณาการเพื่อวางมาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดความเสี่ยงและฟื้นฟูการดำเนินงานอย่างเร็วที่สุดหลังภัยพิบัติซึ่งได้ช่วยให้สถานประกอบการปกป้องทรัพย์สิน โครงสร้างพื้นฐาน ลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด ยกระดับสถานะ ช่วยให้สถานประกอบการนี้กลายเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจ นายTeiter Long ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารบริษัทLand and Sea เผยว่า“แม้จะเกิดภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรือวิกฤติต่างๆ พวกเรายังคงจัดสรรการบริการให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างทันการณ์ สำหรับการประกอบธุรกิจ พวกเราบริหารผลผลิตเหมือนเป็นการค้ำประกันให้แก่ลูกค้า”     โครงการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติเมื่อปี๒๐๑๐โดยมีสถานประกอบการของหลายหน่วยงานเศรษฐกิจเข้าร่วมและประโยชน์ของโครงการได้รับการยอมรับ แต่อย่างไรก็ดี ในตอนแรก โครงการก็ประสบอุปสรรคไม่น้อย เช่น การขาดความรู้ของสถานประกอบการเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องวางแผนประกอบธุรกิจที่สามารถรับมือกับความเสี่ยง ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ สถานประกอบการให้ความสนใจถึงผลกำไรอยู่เสมอจึงไม่อยากลงทุนเพื่อทำการศึกษาวิจัย ประเมินและวางแผนการนี้ นายChu Giun Wa รองหัวหน้าคณะกรรมการสร้างทักษะสหพันธ์นักธุรกิจสิงคโปร์เผยว่า การปลูกฝังจิตสำนึกของนักธุรกิจมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง“นี่เป็นคำนิยามใหม่ที่มีคนรู้จักและให้ความสนใจน้อยมาก พวกเราได้จัดการสัมมนาหลายครั้งเพื่อช่วยให้นักธุรกิจเข้าใจถึงความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่เมื่อเกิดวิกฤติและภัยธรรมชาติเพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงบทบาทของการวางแผนรับมือ”  นอกจากการประชาสัมพันธ์ให้แก่สถานประกอบการแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ยังปฏิบัตินโยบายส่งเสริมและช่วยเหลือนักธุรกิจซึ่งในตอนแรก สิงคโปร์ได้ประกาศใช้มาตรฐานการบริหารผลผลิตสำหรับสถานประกอบการทุกแห่ง ต่อจากนั้น รัฐบาลช่วยเหลืองบส่วนหนึ่งเพื่อให้สถานประกอบการได้มาตรฐานนี้ เช่น งบฝึกอบรมบุคลากร จ้างที่ปรึกษา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการปฏิบัติ ดังนั้น โล่ป้องกันความเสี่ยงจึงนับวันยิ่งขยายกว้างในชมรมนักธุรกิจสิงคโปร์   โครงการดังกล่าวของสิงคโปร์ได้รับความสนใจเรียนรู้จากบรรดาประเทศที่ถูกผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า งบป้องกันความเสี่ยงฉับพลันน้อยมากเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถรับมืออย่างทันการณ์ ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจประเทศต่างๆส่งผลกระทบต่อกันเนื่องจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ ประเทศต่างๆที่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงดังสิงคโปร์จะเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจของลูกค้าระหว่างประเทศ./.

Mạnh Cường-VOV5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด