สถานประกอบการไทยในเวียดนามในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

(VOVWORLD) - การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่เพียงแต่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้น หากยังสร้างอุปสรรคต่างๆให้แก่สถานประกอบการอีกด้วย โดยผลการสำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อสถานประกอบการ 52แห่งของ Thai Business in Vietnam Association เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาปรากฎว่า การจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกเป็นขั้นตอนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.8 ซึ่งทำให้การผลิตและรายได้ของสถานประกอบการลดลง แต่อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการไทยยังคงปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเวียดนามในการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดเพื่อความปลอดภัยของแรงงานและแสวงหาแนวทางการลงทุนประกอบธุรกิจใหม่เพื่อฟันฝ่าความยากลำบากในช่วงนี้
สถานประกอบการไทยในเวียดนามในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  - ảnh 1สมาชิก Thai Business Club ในภาคเหนือหารือกับท่านธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย เกี่ยวกับสถานการณ์ผลิตและประกอบธุรกิจในเวลาที่่ผ่านมา (ภาพจากสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

ถึงแม้ได้เข้ามาลงทุนมาเป็นเวลา 13ปีและมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2 แห่งในกรุงฮานอย แต่บริษัท Thai Summit Interseats Vietnam จำกัดก็ประสบความยากลำบากต่างๆจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  นายพีระพงษ์ บัวโทน รองผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Thai Summit Interseats Vietnam จำกัดได้เผยว่า“ยอดขายของเราถูกผลกระทบโดยตรงเนื่องจากที่ทางรัฐบาลได้ประกาศนโยบาย social distancing มา ถึงแม้จะระบุว่า โรงงานอุตสาหกรรมสามารถทำงานตามปกติแต่ลูกค้าเราก็อยากจะร่วมในนโยบายของรัฐบาลก็เลยประกาศหยุดตามที่รัฐบาลประกาศก็คืองดการประกอบชิ้นส่วน งดการประกอบรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ อันนี้ก็เป็นที่ชัดเจนว่า ระหว่างที่มีนโยบายนี้ เราไม่มี order ใดๆเลย จากนี้ คิดว่า ยอดขายในปีนี้ เราจะลดไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว”

แม้จะประสบความยากลำยากต่างๆ แต่ภายใต้สโลแกน “before we build parts, we build people”ผู้บริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท รวมทั้งบริษัท Thai Summit Interseats Vietnam จำกัดได้พยายามปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อดูแลเอาใจใส่และรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19  นายพีระพงษ์ บัวโทน รองผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Thai Summit Interseats Vietnam จำกัดได้เผยต่อไปว่า“อันดับแรก เราต้องดูแลพนักงานให้ดี เรื่องพีพีอีส่วนตัวอุปกรณ์การป้องกันในส่วนบุคคลในการทำงานแต่ละวัน ก่อนหน้านี้ที่จะมีเหตุการณ์นี้ มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่ใช้ในงานอย่างเต็มที่ รวมถึงกรณีโควิดนี้ แล้วก็เพิ่มในเรื่องหน้ากากอนามัย เรื่องเจล ให้ความรู้เรื่องการติดต่อ พนักงานของผมเป็นระดับใช้แรงงานในแถวนิคมเพราะฉะนั้น เรื่องความรู้อาจจะไม่เยอะ ทางเราก็มีการสื่อสารเสียงตามสายและมีการจัดประชาสัมพันธ์ตามจุดที่พนักงานจะชุมนุมในแต่ละที เช่น โรงอาหารและที่พักผ่อนเที่ยง ก็จัดให้เหมาะสมตามนโยบายของเวียดนามทุกประการเพื่อที่จะฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ให้ได้ด้วยดี”

ก็เหมือนกับบริษัท Thai Summit Interseats Vietnam จำกัด บริษัทหุ้นส่วนSiam-vinagolf  ที่ทำธุรกิจสนามกอล์ฟก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น ไม่มีรายได้เนื่องจากสนามกอล์ฟต้องปิดให้บริการ การก่อสร้างสนามกอล์ฟถูกระงับเพราะขาดอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าจ้างคนตัดหญ้าและรดน้ำ ส่วนนายอดิวัชร์ แผนทัด รองผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการของบริษัทหุ้นส่วน Phú Thái Group ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคได้กล่าวถึงปัญหาความลำบากของบริษัทฯว่า“ได้รับผลกระทบหนักๆก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยอดขายลดลงเนื่องจากร้านค้าต้องปิดตัวหลายร้าน แต่ทางด้านอุปโภคบริโภคก็ยังไม่มีผลกระทบมากนักเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป แต่product ของP&G ก็ขายดี แต่จะมีความยากลำบากอยู่ที่จะเข้าถึงร้านค้าเพราะเรากระจายสินค้าทั่วภาคเหนือ การเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดจะไปได้ยาก หมู่บ้านที่มีการปิด เราก็ต้องไปส่ง ซึ่งจะมีความลำบากมากขึ้น แต่เราก็พยายามเพื่อให้ประชาชนเวียดนามได้รับสินค้า”

สถานประกอบการไทยในเวียดนามในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  - ảnh 2นาย ชัยพร สุปัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทหุ้นส่วน Prime groupและนาย ชินโชติ โมอ่อน ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วน Prime group และประธานThai Business Club ในภาคเหนือ มอบน้ำยาทำความสะอาดที่บริษัทPrime ผลิตให้แก่ ท่านธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย (ภาพจากสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

ในสภาวการณ์ดังกล่าว นอกจากปฏิบัติมาตรการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของรัฐบาลเวียดนามอย่างเคร่งครัดแล้ว สถานประกอบการไทยหลายแห่งได้วางแนวทางลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจจากรูปแบบและสินค้าใหม่ๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนสู่ New Normal หลังการแพร่ระบาด นาย ชินโชติ โมอ่อน ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วน Prime group และประธานThai Business Club ในภาคเหนือได้เผยว่า“ในเรื่องของการประกอบธุรกิจ อย่างที่สมาชิกเรียนให้ทราบ อันดับแรกคือเรื่องของการดูแลเรื่องต้นทุน ทำให้ต้นทุนอย่างไรสามารถที่น้อยที่สุดในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนหรือทำยังไงให้มัน compasative ส่วนที่สองเป็นเรื่องของการdevelop new business ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจแบบใหม่ๆหรือสินค้าใหม่ๆ ยกตัวอย่างของ Prime group นอกจากเราเป็นผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกหรือว่ากระเบื้องหลังคา เราก็จะพยายามต่อยอดหรือแม้กระทั่งผลิตสินค้าที่เป็นเราเรียกว่า น้ำยาทำความสะอาด มันคือเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าในอนาคตว่า คนเราคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยและความสะอาดมากขึ้น เราก็ได้ develop สินค้าใหม่ มีส่วนผสมที่เป็น nano silver ก็เพื่อฆ่าเชื้อทำความสะอาด”

 นาย ชินโชติ โมอ่อน ยังเผยต่อไปว่า นโยบายของรัฐบาลเวียดนามในการกำหนดเรื่องการปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางสังคม การใส่ชุดพีพีอี รวมทั้งการวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสถานประกอบการหรือทำงานถือเป็นมาตรการที่ดี ทำให้เกิดความมั่นใจและช่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและทำให้รู้สึกว่า โรคโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ปัจจุบัน เวียดนามกำลังปฏิบัติตามมติที่ 19 เกี่ยวกับการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ โดยอนุญาตให้อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆดำเนินการตามปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่ายินดีต่อทั้งสถานประกอบการเวียดนามและต่างชาติ รวมถึงสถานประกอบการไทยในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด