ดอกกาหลง สัญลักษณ์ของป่าเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

(VOVWORLD) -ดอกกาหลงหรือเสี้ยวขาวเป็นพันธุ์ดอกไม้ที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตวัฒนธรรมและจิตใจของชุมชนชนกลุ่มน้อยต่างๆโดยเฉพาะชุมชนเผ่าไตและเผ่าไทในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามอย่างกว้างลึกจนได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งดอกไม้ป่าเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของความรักซึ่งมักจะอวดโฉมบานสะพรั่งช่วงเดือนมีนาคม

ดอกกาหลง สัญลักษณ์ของป่าเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 1

ตามภาษาชนเผ่า ดอกกาหลงมีความหมายคือดอกหวาน ต้นสูงตั้งแต่๒-๖เมตรเปลือกไม้หยาบ มีกิ่งก้านสาขาและมีใบเยอะ  มักจะบานในช่วงวสันต์ฤดูโดยเฉพาะเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่ดอกกาหลงบานมากที่สุดสร้างเป็นภาพที่แสนงดงามในเขตป่าเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ดอกกาหลงมีห้ากลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆและมีหลายสีเช่น ม่วง ขาว แดง แต่ที่เห็นมากที่สุดคือดอกสีขาวนวล ซึ่งได้สร้างอารมณ์สุนทรีย์ที่เป็นธรรมชาติให้กวีหรือนักดนตรีสร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่างๆและเปรียบเทียบความสวยงามของดอกไม้ป่านั้นเหมือนสาวน้อยวัยแรกแย้ม คุณเหงวียนถิลาน ชาวจังหวัดลายโจว์ได้เล่าว่า “ดิฉันอาศัยที่เขตตะวันตกเฉียงเหนือนี้มากว่า๔๐ปีแล้ว เมื่อก่อนถ้าอยากชมดอกกาหลงจะเห็นแต่ในเขตป่าเขา แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการขยายพันธุ์นำต้นกาหลงมาปลูกในเมืองซึ่งช่วยสร้างความสวยงามให้แก่ถนนสายต่างๆ เมื่อถึงฤดูดอกไม้บานท้องถิ่นหลายแห่งได้จัดงานเทศกาลที่คึกคักและยังมีการแนะนำอาหารที่ทำจากดอกกาหลงด้วย"

ในชุมชนชนเผ่าต่างๆเขตตะวันตกภาคเหนือเวียดนามได้มีการเล่าขานกันเกี่ยวกับตำนาน๓เรื่องที่บอกถึงความเป็นมาของดอกไม้ป่านี้ได้แก่เรื่อง  Pi Khum-Noọng Ban เรื่อง Cầm Đôi-Hiến Hom และเรื่อง Bun Trai-Bun Nhinh ซึ่งแม้รายละเอียดบางส่วนและการเล่าเรื่องอาจมีความแตกต่างกันบ้างแต่มีสิ่งที่คล้ายกันคือถือดอกกาหลงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักที่ซื่อสัตย์บริสุทธิ์ของหนุ่มสาว โดยดอกสีขาวเป็นความรักที่บริสุทธิ์ของฝ่ายหญิง ส่วนดอกสีม่วงสื่อความหมายแห่งความซื่อสัตย์รักเดียวใจเดียวของฝ่ายชาย นอกจากนั้นดอกกาหลงยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูรู้คุณด้วย นายเดยวจิ้งเกิ๋ม หัวหน้าสโมสรอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าไทเผยว่า“ดอกกาหลงคือเอกลักษณ์เฉพาะของเขตเขาตะวันตกภาคเหนือ แม้จะมีตำนานนิทานหลายเรื่องเกี่ยวกับดอกไม้นี้แต่โดยรวมแล้วชนเผ่าไทเราได้ถือดอกกาหลงเป็นดอกไม้ประจำของชนเผ่ามาแต่เนิ่นนาน"

ดอกกาหลง สัญลักษณ์ของป่าเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ - ảnh 2อาหารที่มีส่วนประกอบจากดอกกาหลง 

สำหรับชาวบ้านนั้น ต้นกาหลงมีรสและสรรพคุณหลายอย่างตามตำรายาเช่น รากและต้นมีรสเฝื่อนเปรี้ยว แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด ใบมีรสเฝื่อนหวานช่วยรักษาแผลในจมูก ดอกมีรสที่นุ่มนวลใช้แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิตสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น เปลือกต้นยังใช้ย้อมผ้าครามได้ด้วย ผล ยอดใบอ่อนและดอกยังสามารถใช้ทำอาหารได้หลายอย่างเช่น ทำยำผสมกับพืชป่าหรือหน่อไม้ ผัดกระเทียม ต้มแกงขาหมู นึ่งหรือชุบแป้งทอด เป็นต้น ซึ่งเมนูเหล่านี้ผสมคู่่กับรสเผ็ดของพริกและมะแขว่นป่า ได้สร้างเป็นรสชาดที่โดดเด่นเฉพาะที่ได้สืบทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าในชุมชนเผ่าไท โดยเฉพาะยังถือเป็นอาหารพิเศษเพื่อต้อนรับแขกเพื่อแสดงให้เห็นถึงมิตรไมตรีที่มีต่อผู้ที่มาเยือนซึ่งได้สร้างความประทับใจให้แก่ทุกคนที่เคยมีโอกาสลิ้มลอง นายลี้เฮี้ยนฮวา ชาวเวียดนามโพ้นทะเลซึ่งได้มีโอกาสลิ้มลองอาหารของเผ่าไทได้เผยว่า  “ตอนแรกผมไม่รู้ว่าดอกกาหลงที่สวยงามอย่างนี้จะกินได้แต่เมื่อทราบว่าเผ่าไทเขามีเมนูอาหารจากดอกกาหลงหลากหลายมากเลยรู้สึกแปลกใจอยากลองและเมื่อได้ลองแล้วก็ประทับใจมากเพราะอร่อยจริงๆ"

เมื่อดอกกาหลงบานสะพรั่งทั่วป่าเขาก็เป็นช่วงที่ชาวบ้านจะจัดงานเทศกาลพื้นเมืองต่างๆ เช่นงาน เซ่นบ้านเซ่นเมือง เทศกาลนางฮาน เทศกาลแทนกินปาง และเทศกาลดอกกาหลง โดยในงานจะมีการใช้ดอกกาหลงเป็นเครื่องตกแต่งและทำอาหารเพื่อเซ่นไหว้ขอพรจากบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกของทั้งชุมชน ดังนั้นช่วงฤดูดอกกาหลงก็เป็นช่วงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาเที่ยวชมและดื่มด่ำกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าไทและชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆในเขตเขาตอนบนของเวียดนาม./. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด