ศาลาเตยดั่ง-โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ

(VOVWORLD) -ศาลาเตยดั่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านดง เทศบาลเมืองเตยดั่ง อำเภอบาหวี่ ห่างจากตัวเมืองฮานอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 50 กม    ศาลาเก่าแก่แห่งนี้มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอันโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ นับเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านแห่งศตวรรษที่ 16 ศาลาเตยดั่งได้รับการรับรองเป็นโบราณสถานแห่งชาติพิเศษเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปี 2013

ศาลาเตยดั่ง-โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ - ảnh 1ศาลาเตยดั่งเป็นหนึ่งในศาลาเก่าแก่ไม่กี่แห่งของเวียดนามที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ด้วยอายุ 500 ปี 

สถาปัตยกรรมศาลาเตยดั่งมีรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วย 2 อาคารหลักคือ งีมน และด่ายบ๊าย วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างแต่เดิมคือไม้ขนุน ต่อมามีการใช้ไม้พันซาดในการซ่อมแซม

เมื่อเดินผ่านประตูหน้าจะพบกับสระน้ำใหญ่และถัดไปคืออาคาร งีมน ด้านซ้ายและด้านขวาคือ ต๋าวูและหิววู และอยู่ตรงกลางคือห้องโถงใหญ่ มีบ่อน้ำโบราณที่สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางขวามือ มีน้ำใสสะอาดและเย็นตลอดทั้งปี ด้านหลังอาคารงีมนคือลานศาลาที่กว้างขวาง เป็นสถานที่ประกอบพิธีเช่นไหว้ชักพระ หรือจัดงานเทศกาลต่างๆ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่                       นาย เฉิ่น ดึ๊ก ต่าย ผู้ดูแลศาลาเตยดั่งเผยว่า ศาลาเตยดั่งบูชาเทพเจ้าแห่งภูเขาต๋านเวียน และแม่ทัพที่ไกล้ชิดสองท่าน คือ แม่ทัพกาวเซิน และ แม่ทัพกวี๊มิง นอกจากนั้น ในศาลายังมีการบูชาเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรมเพื่อขอให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ได้พืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์            ศาลาได้ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1540 สมัยราชวงศ์เล มีการออกแบบตามลักษณะการเขียนของตัวอักษร กงและก๊วก ในภาษาจีน ซึ่งแบ่งเป็น 5 ส่วนหลักและ2ส่วนรอง ศาลาหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มองไปที่ภูเขาต๋านเวียน ด้านหน้ามีสระน้ำรูปพระจันทร์ครึ่งดวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฟ้าและดิน เสาใหญ่ตั้งด้านหน้าศาลาประดับด้วยรูปปั้นตัว เง ซึ่งเป็นสัตว์กึ่งม้ากึ่งสิงโตสองข้าง ส่วนเสาตรงกลางประดับรูปปั้นของ มังกร เต่า หงส์และกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อของคนเวียดนาม หลังคามุงกระเบื้องเครื่องหมายหยินหยางปลายสันหลังคางอนเชิดขึ้นและประดับด้วยรูปปั้นดินเผาสัตว์ศักดิ์สิทธิ์แนวศิลปะสมัยราชวงศ์เล      ลวดลายหลักที่ใช้ในงานประติมากรรมที่นี่คือรูปเทพเจ้า รูปแสดงคติประจำใจของชาวบ้าน รูปสัตว์ เช่น ควาย ม้า มังกร ปลาตะเพียน เป็นต้น

ศาลาเตยดั่ง-โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ - ảnh 2หนังสือรับรองเป็นโบราณสถานพิเศษแห่งชาติ

 ศาลาเตยดั่งเป็นศาลาเปิดโล่งไม่มีผนังเหมือนศาลาประจำหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งทำให้อากาศถ่ายเทและรับแสงสว่างได้อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถมองเห็นลวดลายที่มีคุณค่าทางศิลปะได้อย่างชัดเจน  ศาลาแห่งนี้มีทั้งหมด 48 ต้น

ศิลปะทางประติมากรรมและสถาปัตยกรรมของศาลาเตยดั่งได้ถูกถ่ายทอดผ่านงานไม้แกะสลักในทุกส่วนประกอบของตัวศาลาชึ่งสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างเด่นชัด ไม่มีลายใดที่เห็นซ้ำในทั้งหมด 1300 ลวดลายที่ได้แกะสลักบนไม้ในศาลา ทุกชิ้นได้ถูกจัดวางอย่างเหมาะสม และไม่มีการจัดลวดลายแบบขนานกันเหมือนศาลาประจำเพื่อหมู่บ้านอื่น                  ช่างศิลป์สมัยก่อนได้ใช้ฝีมือการแกะสลักที่ยอดเยี่ยมสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมชั้นเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่เป็นเอกเทศ หรือผลงานที่ต้องนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก็ล้วน   เป็นผลงานชิ้นเอกทั้งนั้นเนื้อหาหลักที่ได้ถ่ายทอดผ่านการแกะสลักมักเน้นที่ลวดลายพื้นฐาน เช่น รูปสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ รูปมนุษย์ สัญลักษณ์ทางธรรมชาติ ใบไม้ ต้นหญ้าจากจินตนาการในจักรวาลโดยสัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือ มังกร กิเลน กวาง หงส์ ช้าง ม้า ฯลฯ หรือพรรณนาวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เช่น การเก็บฟืน การไล่เสือ การจับงู การแสดงกายกรรม การปลูกข้าว เป็นต้น      ศ. ดร. เฉิ่น เลิม เบี่ยน นักวิจัยวัฒนธรรม เผยว่า ศาลามีรูปร่างคล้ายรูปหัวเสือ อาคารที่อยู่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเปรียบเหมือนเท้าเสือ เสาอยู่ด้านหน้า 4 ต้นเปรียบเหมือนเขี้ยวเสือ ส่วนสระน้ำเปรียบเหมือนพระจันทร์  หลังคาของศาลาเปรียบเป็นสัญลักษณ์ของท้องฟ้าและพลังจากสวรรค์ ส่วนเสาค้ำหลังคาเปรียบเหมือนสื่อที่เชื่อมพลังจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ ทำให้เทวดา ฟ้า ดิน กลายเป็นหนึ่งเดียว สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความปรารถนาให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาลและมีผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ของคนสมัยก่อน

ศาลาเตยดั่ง-โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ - ảnh 3ลายแกะสลักไม้ในศาลา 

ทุกปี มีนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมากเดินทางมาเยือน ศึกษา cและทำงานวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของศาลาเตยดั่ง       เทศกาลเตยดั่งนับเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ นาย เชือง แยง เซือก ชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านดง เทศบาลเมืองเตยดั่ง เล่าว่า เทศกาลหลักของศาลาตรงกับวันที่ 11-15 เดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติ ส่วนเทศกาลย่อยจะจัดขึ้นทุกวันที่ 1 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ มีการจัดงานเทศกาลใหญ่ทุกๆ 5 ปี คณะประกอบพิธีที่เป็นผู้อาวุโสมีทั้งหมด 21 คน เมื่อก่อนใช้หมูเป็นอาหารประกอบพิธีเซ่นไหว้แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นข้าวเหนียวและไก่ ผู้เข้าร่วมพิธีแห่เกี้ยวเทพเจ้าแห่งภูเขาต๋านเวียนไปรอบหมู่บ้านมีจำนวนถึง 200 คน ส่วนกิจกรรมในเทศกาลนั้นมีการแสดง เช่น การร้องเพลงทำนองแจ่ว การร้องเพลงพื้นบ้านกวานเหาะ การละเล่นพื้นบ้านเช่น ไก่ชน มวยปล้ำ การโยนลูกช่วง เป็นต้น

  ศาลาเตยดั่งถือเป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยโบราณวัตถุอันล้ำค่าทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม และถือได้ว่าเป็น 1 ในสถาปัตยกรรมแสดงถึงวัฒนธรรมของผืนดินซื้อว่าย(เขตที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมืองหลวงฮานอยสมัยก่อน) อย่างชัดเจน .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด