ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 20 ตุลาคมปี 2018

(VOVWORLD) -ในจำนวนจดหมายของผู้ฟังกว่า 240 ฉบับจาก 39 ประเทศและดินแดนที่ทางเราได้รับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยอาเซียนซึ่งมีรายการภาคภาษาลาว กัมพูชา อินโดนีเซียและไทยได้รับอีเมล์ จดหมายและคอมเมนท์กว่า 60ฉบับ

ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 20 ตุลาคมปี 2018 - ảnh 1

(Photo internet)

ท่านเคยได้ยินเพลง "หมดทว้างเกวเฮือง" หรือแปลว่า “เสี้ยววินาทีแห่งบ้านเกิด” ไหม๊คะ ดิฉันคิดว่ามีคนไทยหลายคน รวมทั้งคุณ ทวิช อู่เงิน ซึ่งมีความผูกพันกับประเทศเวียดนามก็น่าจะเคยได้ยินเพลงนี้ นี่คือเพลงที่มีเนื้อร้องกล่าวถึงชุดประจำชาติของสตรีเวียดนาม ซึ่งเป็นคำถามมินิเกมส์ประจำเดือนตุลาคมและเหลืออีกประมาณ 10 วันก็จะถึงวันสุดท้ายที่เราเปิดรับคำตอบมินิเกมส์ประจำเดือนตุลาคมโดยคำถามคือ ชุดประจำชาติของสตรีเวียดนามเรียกว่าอะไร และมีความคิดเห็นอย่างไรกับชุดประจำชาตินี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางเราได้รับคำตอบจากคุณผู้ฟังที่ส่งมาเข้าร่วมสนุกมินิเกมส์ประจำเดือนตุลาคม เช่น คุณ Saroj Noom Youngmode คุณ เก๋ ชลินันท์คุณ พิเชษฐ์ ทองพุ่มและคุณ Malai Udomsuprasert ส่วนรายชื่อผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลจากมินิเกมส์ประจำเดือนตุลาคม ทางเราจะประกาศในต้นเดือนหน้า

ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 20 ตุลาคมปี 2018 - ảnh 2 ฮานอยที่สวยงาม

คุณ Piyapat Tangtrakoolpongและเหงียนวันแต๋วได้ชื่นชมประมวลภาพ “สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 10 แห่งในกรุงฮานอย”โดยคุณ Piyapat Tangtrakoolpong ได้เผยว่า เคยไปเที่ยวสถานที่ทั้งสิบแห่งนี้แล้ว และชอบที่สุดคือทะเลสาป โห่ไตย มาฮานอย 5 ครั้งโดยมีสองครั้งที่มาเพื่อเรียนหนังสือ เขาบอกว่า ชอบสถานที่ทั้งหมดในกรุงฮานอย ฮานอยเหมือนบ้านที่ให้ความสบายใจเสมอ ส่วนคุณ เหงียนวันแต๋วบอกว่า “ผมได้เข้าไปเคารพศพลูงโฮที่เคารพรักของประชาชนเวียดนามสองครั้งแล้ว แต่เมื่อได้กลับไปเวียดนามทีไดก็ยังจะอยากเข้าไปอีก เพราะว่าผมรู้สึกอยู่ไกล้ชิดกับลูงโฮ แต่ละคลั้งเมื่อพูดถึงลูงโฮ จิดใจเราเหมือนได้สว่างคื้นทุกที”

ส่วนคุณ Tatchawin Sangsappanเก๋ ชลินันท์และ Malai Udomsuprasert ต่างชื่นชมประมวลภาพ “ความงามของสตรีเวียดนามในขณะทำงาน” โดยคุณ Malai Udomsuprasert เผยว่า เป็นภาพที่สื่อออกมาให้เห็นการดำรงชีวิตของผู้หญิง ได้ดี และภาพวิว บรรยากาศรอบข้างสวยดีคะชอบมาก ๆ คุณ เก๋ ชลินันท์ บอกว่า ภาพสวยมากและคุณ Boy Arnuparb Tarntong บอกชอบชุดแต่งกายของสตรีเวียดนามในประมวลภาพนี้

ต่อไปคืออีเมลของคุณเปิ้ล จากที่อยู่ naluk11_kiku@hotmail.comซึ่งถามว่า “เราเป็นลูกเชื้อเวียดนามมีเชื้อจีนผสมไทย นามสกุลใช้อยู่ไม่กี่คำมีวันกับถิ ซึ่งคุณตามีนามสกุลวันคุณย่ามีนามสกุลถิคุณปู่มีนามสกุลจีน แล้วอยากจะขอถามว่า ปู่เป็นเวียดนามมีนามสกุลจีนคุณย่าเป็นเวียดนามคุณพ่อจะเป็นลูกครึ่งอะไร ส่วนคุณตาเป็นเวียดนามมาจากทางลาวและคุณยายน่าจะเป็นไทยดังนั้นคุณแม่ควรเป็นลูกครึ่งอะไร แล้วคุณพ่อแต่งงานกับคุณแม่เราจะเป็นลูกครึ่งหรือลูกเสี้ยว”

ตามที่ได้บอกมาเราคิดว่า คุณเปิ้ลอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับนามสกุลกับชื่อกลางในภาษาเวียดนาม เพราะในภาษาเวียดนาม “วัน” และ “ถิ” มักจะใช้สำหรับชื่อกลาง หากเป็นผู้ชายมักจะใช้ชื่อกลางว่า “วัน” และผู้หญิงจะใช้ “ถิ” ค่ะ แต่การตั้งชื่อแบบนี้ส่วนใหญ่พบเห็นในครอบครัวสมัยก่อน ส่วนในครอบครัวสมัยใหม่ ก็จะไม่บังคับตั้งชื่อกลาง “ถิ” หรือ “วัน” โดยสามารถตั้งเป็นชื่ออื่นได้ตามที่ชอบ เช่น เหงียนมิงห์หงอกและเจิ่นฮวีหว่าง สำหรับคำถามเกี่ยวกับคุณพ่อและคุณแม่จะเป็นอะไรนั้น ฉันคิดว่า คุณพ่อน่าจะเป็นลูกครึ่งเวียดนาม – จีน ส่วนคุณแม่ก็เป็นลูกครึ่งเวียดนาม – ไทย ส่วนคุณเปิ้ลเองก็เป็นลูกเสี้ยวที่มีสามสายเลือดคือเวียดนาม ไทยและจีน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณปิยะกษิดิ์เดช หรือ ฟุ๊กในภาษาเวียดนามได้ส่งให้เราดูบทความที่เขาเขียนเกี่ยวกับเมืองซาปาของเวียดนามที่ลงบนเว็บไซต์ aseanwatch.org และอยากให้เราแนะนำบน Fanpage ของเรา ซึ่งคุณผู้ฟังสนใจก็สามารถอ่านบทความนี้ได้ในคอลัมม์ "ความประทับใจเวียดนาม - ไทย" บนเว็บของเรา

ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 20 ตุลาคมปี 2018 - ảnh 3 การเขียนตัวอักษรบนใบบัว (Photo Vtv1)

ก่อนที่จะสิ้นสุดรายการตอบจดหมายท่านผู้ฟังในวันนี้ เราจะแนะนำเกี่ยวกับภาพวาดบนใบบัวโดยเฉพาะการเขียนตัวอักษรบนใบบัวตามคำขอของคุณ Koch Chantharyนักศึกษากัมพูชาที่กำลังเรียนในเวียดนามค่ะ คุณผู้ฟังคะ ที่เวียดนาม มีการเขียนตัวอักษรบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ไม้ ไม้ไผ่และหิน รวมถึงใบบัวด้วย ดอกบัวถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนามโดยพื้นที่ปลูกบัวมากเป็นอันดับหนึ่งของเวียดนามคือเขตด่งท้าปเหมื่อยและศิลปินท้องถิ่นก็ได้มีการคิดค้นการเขียนตัวอักษรบนใบบัวเพื่อมอบเป็นของที่ระลึกที่มีความหมาย สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเพื่อมอบให้แก่ญาติมิตร โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ การเขียนตัวอักษรบนใบบัวยากกว่าบนวัสดุอื่นๆเพราะใบบัวลื่นและไม่ซึมซับน้ำ ดังนั้น ก่อนที่จะใช้เขียนต้องผ่านขั้นตอนต่างๆก่อน เช่น อบแห้งและย้อมสี เพื่อสามารถเขียนอักษรบนใบบัวได้และให้น้ำหมึกติดทนนานหลายปี สิ่งที่น่าสนใจคือ การเขียนตัวอักษรบนใบบัวสามารถเขียนได้ทั้งทั้งสองหน้าของใบบัว ไม่ทราบว่าที่เมืองไทยมีภาพชนิดนี้ไหมคะ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด