ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นมุ่งสู่การพัฒนาใหม่

(VOVWORLD) -เวียดนามกำลังดำรงตำแหน่งประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2018 – 2021 ซึ่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งในตลอดกว่า 45 ปีที่ผ่านมา นำผลประโยชน์ที่สำคัญมาให้แก่ประชาชนของทั้งสองฝ่ายและมีส่วนร่วมต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ในโอกาสการประชุมภายใต้หัวข้อ “ ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อความเจริญรุ่งเรือง”และฟอรั่มอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 34 ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอย นาย เหงวียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ให้สัมภาษณ์นักข่าวสถานีวิทยุเวียดนามเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้

  

ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่นมุ่งสู่การพัฒนาใหม่ - ảnh 1นาย เหงวียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม 

อกราบเรียนท่านรัฐมนตรีช่วย ท่านมีการประเมินเป็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ะหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในตลอดกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมาคะ

  “ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพวกเราสามารถมองเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งนิมิตหมายของญี่ปุ่นในการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในตลอด 45 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า ญี่ปุ่นและอาเซียนได้กลายเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญระหว่างกัน”

การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นที่ดีงามในปัจจุบันมาจากความเป็นฝ่ายรุกและเจตนารมณ์ที่ดีจากทุกฝ่าย สำหรับญี่ปุ่น ท่านมีการประเมินเป็นอย่างไรเกี่ยวกับบทบาทของญี่ปุ่นในการส่งเสริมความร่วมมือและความไว้วางใจในฟอรั่มต่างๆในภูมิภาคคะ

  “ญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนที่ดีของอาเซียนและได้เข้าร่วมกลไกที่อาเซียนเป็นผู้นำอย่างเข้มแข็ง เช่น อาเซียน + 3 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกและ ADMM+ เป็นต้น   ญี่ปุ่นและอาเซียนได้แลกเปลี่ยนจุดยืนร่วมเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและความพยายามร่วมกับอาเซียน ในเวลาที่จะถึง ทั้งสองฝ่ายจะพยายามปฏิบัติยุทธศาสตร์อย่างพร้อมเพรียง อาทิเช่น ญี่ปุ่นมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับมหาสมุทรอินเดียที่เสรีภาพและเปิดเผย ส่วนอาเซียนก็มีจุดยืนร่วมเกี่ยวกับภูมิภาคนี้  นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เสนอข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน ส่วนอาเซียนมีแผนการโดยรวมเกี่ยวกับการเชื่อมโยง  ทั้งสองฝ่ายกำลังหารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงสองโครงการนี้เพื่อช่วยเหลือกันพัฒนา”

ปัจจุบัน อาเซียนและญี่ปุ่นกำลังร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดแต่ทั้งสองฝ่ายกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายร่วม เช่น สถานการณ์ประชากรสูงอายุและการปรับตัวเข้ากับแนวโน้มใหม่ของโลกคือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ช่วยเหลือกันอย่างไรคะ

  “ในสถานการณ์ปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มแข็งในภูมิภาคและโลก ซึ่งสร้างทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องกำหนดแนวทางความร่วมมือเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี ใช้โอกาสใหม่และแก้ไขความท้าทายต่อทั้งสองฝ่ายการปรับตัวเข้ากับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การสร้างสรรค์เครือข่ายตัวเมืองอัจฉริยะ เวียดนามได้เชื่อมโยงเพื่อให้ญี่ปุ่นมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เครือข่ายตัวเมืองอัจฉริยะระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ในสภาวการณ์ที่เวียดนามและบางประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนาการเกษตร ซึ่งญี่ปุ่นที่มีการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสามารภช่วยอาเซียนผลักดันการพัฒนาการเกษตร สำหรับปัญหาประชากรสูงอายุและการขาดแคลนแรงงาน ญี่ปุ่นมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหานี้ พวกเราได้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น ผมหวังว่า ศูนย์ดังกล่าวจะมีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายร่วมของทั้งสองฝ่าย”

  จากการเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2018 -2021 เวียดนามต้องทำอย่างไรเพื่อผลักดันความสัมพันธ์นี้

  “ในฐานะเป็นประเทศผู้ประสานงาน พวกเราต้องมีบทบาทที่สำคัญ ซึ่งเวียดนามต้องพยายามมากขึ้นเพื่อประสานงานกับญี่ปุ่นมีข้อคิดริเริ่ม จัดกิจกรรมต่างๆ วางโครงการและจัดทำเอกสารเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า ข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับการจัดการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและฟอรั่มอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 34ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นและอาเซียน การสัมมนานี้ถูกจัดขึ้นหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายฉลองครบรอบ 45 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์และในสถานการณ์ที่ภูมิภาคและโลกมีการเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องมีขั้นตอนต่อไป  ใน 2 กิจกรรมดังกล่าว บรรดานักวิชาการได้วางนโยบาย และผู้สถานประกอบการทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับปัญหาที่อาเซียนและญี่ปุ่นกำลังให้ความสนใจคือปัญหาสันติภาพ เสถียรภาพ การเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจต่างๆ การเชื่อมโยงดิจิตอล การปรับตัวเข้ากับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้น ผมหวังว่า พวกเราจะมีความคิดริเริ่มใหม่เพื่อผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย”

  ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด