การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่-มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของชาวเวียดนามในทั่วประเทศ

(VOVWORLD) - การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ (Mẫu Tam Phủ) ของชาวเวียดนามคือมรดกวัฒนธรรมนามธรรมลำดับที่ 11ของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2016 โดยเป็นความเลื่อมใสที่พบเห็นได้ใน 21จังหวัดและนครตั้งแต่เหนือจรดใต้ เช่น จังหวัดนามดิ่ง จังหวัดห่านาม กรุงฮานอย จังหวัดท้ายบิ่ง เมืองท่าไฮฟอง จังหวัดเหงะอาน จังหวัดเถื่อเทียนเว้และนครโฮจิมินห์ เป็นต้น
การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่-มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของชาวเวียดนามในทั่วประเทศ - ảnh 1 การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมในทั่วประเทศ

ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อและศาสนาท้องถิ่นกับลัทธิและศาสนาต่างๆที่ได้รับการเผยแผ่เข้าสู่เวียดนาม เช่น ลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา โดยเจ้าแม่และเทพเจ้าที่มีการบูชาตามวิหารศาลเจ้าต่างๆมีต้นกำเนิดจากทั้งชนเผ่ากิงห์และชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเวียดนาม เช่น ชนเผ่าเหมื่อง ไต หนุ่งและเย้า เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเท่าเทียมกันระหว่างชนเผ่าต่างๆในเวียดนาม สำหรับความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่นั้นเป็นการบูชาเทพธิดานางฟ้าที่ดูแลส่วนต่างๆของโลก เช่น สายน้ำ ป่าเขาและฟ้าดิน รวมทั้งบุคคลแห่งตำนานแห่งประวัติศาสตร์ที่มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน ตามข้อมูลในเอกสารทางประวัติศาสตร์และจากเรื่องเล่าขานในชุมชน เจ้าแม่เหลียวแหงคือนางฟ้าที่ลงมาจุติเป็นมนุษย์แล้วออกบวชและได้มีคุณูปการในการช่วยเหลือชาวบ้านสร้างสรรค์ชีวิตที่อิ่มหนำจนได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าแม่และเป็น1ในเทพ4องค์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเวียดนามและตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ได้กลายเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมและความเลื่อมใสที่มีอิทธิพลอย่างกว้างลึกในชีวิตสังคมและในจิตสำนึกของประชาชนเนื่องจากสามารถเข้าถึงความต้องการทางจิตใจของมนุษย์ได้ ศ.ดร.เจิ่นเลิมเบี่ยน นักวิจัยมรดกวัฒนธรรมได้เผยว่า“ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ได้พัฒนาตามการพัฒนาของประชาชาติเวียดนามตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันและมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตทางจิตวิญญาณของคนเวียดนาม คนเวียดนามให้ความสำคัญต่อความเชื่อเรื่องหยิน-หยางดังนั้นในช่วงที่ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ในป่าก็ได้ให้ความสนใจบูชาเทพธิดาแห่งป่าเขาและหลังจากบุกเบิกพื้นที่เพื่อตั้งหลักอาศัยในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำก็มีการบูชาเจ้าแม่คงคาและเทพธิดาต่างๆ โดยเรียกเหล่าทวยเทพนี้ว่า "เจ้าแม่"”

การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่-มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของชาวเวียดนามในทั่วประเทศ - ảnh 2พิธีแห่เกี้ยวเจ้าแม่เถืองหง่านในเทศกาลวิหารดงกวง จังหวัดเอียนบ๊าย 

ปัจจุบัน การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามได้รับการสืบต่อและดำเนินการในท้องถิ่นต่างๆ เช่น เขตตะวันตกเฉียงเหนือ เขตตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและนครโฮจิมินห์ โดยจังหวัดนามดิ่งเป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่มีวิหารบูชาเจ้าแม่เหลียวแหงเกือบ 400แห่งและมีแหล่งโบราณสถานต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนานการปรากฎของเจ้าแม่เหลียวแหงในชุมชน เช่น ฝู่ใหญ่และฝู่เนิบ การปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามแสดงให้เห็นถึงเกียรติประวัติแห่งความรักชาติและ“การดื่มน้ำต้องรำลึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ”ผ่านการบูชาเทพเจ้ารวม  70องค์ รวมถึงบุคคลสำคัญต่างๆในประวัติศาสตร์ เช่น เจิ่นฮึงดาว ฝ่ามหงูหลาวและเหงวียนสี เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการและมีความสามารถ มีส่วนร่วมต่อภารกิจการสร้างสรรค์ประเทศและปกป้องประชาชนจนได้รับการยกย่องเป็นเทพที่มีความศักดิ์สิทธิ์ การบูชาบุคคลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกเกี่ยวกับรากเหง้าของประชาชาติและเป็นการให้การศึกษาแก่เยาวชนเกี่ยวกับจิตใจแห่งความรักชาติ นาย เลซวนนัม อดีตผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดนามดิ่งได้ยืนยันว่า“ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่มีความผูกพันกับความเลื่อมใสบูชาเทพธิดาแห่งธรรมชาติของชาวเวียดนามที่มีมาตั้งแต่เมื่อ 6-7 พันปีก่อน โดยมีพิธีกรรมมากมายและสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีของคนเวียดนาม เช่น การบูชาเจ้าแม่ เจ้าพ่อหลักเมือง องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ การบูชาบรรพบุรุษและบุคคลที่มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะในการต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราชของประชาชาติ”

การปฏิบัติและเข้าร่วมพิธีเข้าทรงและกิจกรรมต่างๆในงานเพื่อขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขและโชคดีแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาในชีวิตประจำวันและทำให้จิตใจมีความเมตตา ซึ่งเป็นพื้นฐานของหลักปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ ทั้งนี้ การบูชาเจ้าแม่ได้มีส่วนร่วมเชิดชูคุณค่าและบทบาทของสตรีในครอบครัวและสังคมเวียดนาม นอกจากนี้ การจัดเทศกาล พิธีเข้าทรงและการร้องเพลงทำนองวันที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมผ่านการเล่นดนตรี การร้องเพลงและการฟ้อนรำ รวมทั้งชุดแต่งกายพื้นเมืองในการปฏิบัติความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ก็เป็นวิธีการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ มรดกและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเวียดนามเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด