จังหวัดดั๊กลั๊กอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้อง

(VOVWORLD) - ภายหลังปฏิบัติมติของสภาประชาชนจังหวัดดั๊กลั๊กเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องมาเป็นเวลา 5ปี การปฏิบัติงานด้านนี้ได้ประสบผลที่น่ายินดี ซึ่งมีส่วนร่วมฟื้นฟูบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องในกิจกรรมต่างๆของชุมชน
จังหวัดดั๊กลั๊กอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้อง - ảnh 1ชั้นเรียนสอนการตีฆ้อง
 
 ฆ้องคือสมบัติอันล้ำค่าของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับการสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนครอบคลุมพื้นที่ของ 5จังหวัดได้แก่กอนตุม ยาลาย ดั๊กลั๊ก ดั๊กนงและเลิมด่ง โดยได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายนปี 2005

อำเภอกรงบง (Krông Bông)คืออำเภอดีเด่นในการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องของจังหวัดดั๊กลั๊กเนื่องจากมีศิลปินตีฆ้องเกือบ 500คนที่สามารถสอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่และผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีทีมตีฆ้องเยาวชน 24ทีมและสโมสรฆ้องระดับตำบลที่กำลังดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี 2007จนถึงปัจจุบัน อำเภอเกอรงบงได้รับฆ้อง 18 ชุดจากสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดดั๊กลั๊ก ทำให้จำนวนฆ้องในท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้นเป็น 95ชุด

ในรอบ 5ปีที่ผ่านมา อำเภอกรงบงได้เปิด 12 ชั้นเรียนเพื่อสอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านต่างๆ ส่วนทุกๆปี แผนกวัฒนธรรมและการสื่อสารของอำเภอฯได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมฆ้องและการเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมือง การละเล่นพื้นเมืองและการร้องเพลงพื้นเมือง ตลอดจนการฟื้นฟูพิธีกรรมและงานเทศกาลพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในท้องถิ่น นาย ฝ่ามดิ่งเติ๊น หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมและการสื่อสารของอำเภอกรงบงได้เผยว่า“ปัจจุบัน อำเภอเกอรงบงมีตำบล 8แห่งที่มีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ โดยทุกปี เราได้เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่เด็กๆเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมฆ้องในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง”

ส่วนที่อำเภอกรงนัง การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้องก็ได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี โดยอำเภอกรงนังมีทีมตีฆ้อง 14ทีม รวมศิลปินเกือบ 500คนและมีฆ้อง 158ชุดที่ถูกนำมาแสดงในงานเทศกาลของหมู่บ้าน นาย เหงวียนวันหวี หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมและการสื่อสารของอำเภอกรงนังได้เผยว่า นอกจากการเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องของจังหวัดและอำเภอแล้ว ศิลปินอาวุโสและคนรุ่นก่อนได้สอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นหลัง รวมทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ที่สอนการตีฆ้องให้แก่ลูกหลานผ่านกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆในชุมชน“ปัจจุบัน ที่อำเภอกรงนัง มีชั้นเรียนสอนการตีฆ้อง 3 แห่งให้แก่เด็กนักเรียนและผู้ที่มีอายุ 15-30ปี โดยเราได้สอดแทรกการสอนตีฆ้องในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนต่างๆ สอนการตีฆ้องในช่วงกลางคืนและในเวลาว่างหลังการทำไร่ทำนา ที่ ศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้านวายเอาและหมู่บ้านงวาน”

กิจกรรมวัฒนธรรมในชุมชนได้ช่วยให้ชาวบ้านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมผ่านการตีฆ้อง การฟ้อนรำพื้นเมืองและพิธีกรรมต่างๆ นาง เฮอ แงวน นีเอ เกอดัม จากหมู่บ้านวายเอา อำเภอกรงนังได้เผยว่า“ดิฉันมีความประสงค์ว่า คนรุ่นใหม่จะอนุรักษ์และสานต่อเกียรติประวัติที่ดีงามของคนรุ่นก่อน อีกทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนทั้งในจังหวัดดั๊กลั๊กและท้องถิ่นอื่นๆทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเตยเงวียน รวมทั้งชนเผ่าเอเด”

จังหวัดดั๊กลั๊กอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมฆ้อง - ảnh 2การแสดงฆ้องในกิจกรรมต่างๆในชุมชนและกิจกรรมการท่องเที่ยว

งานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมฆ้องในจังหวัดดั๊กลั๊กในตลอด 5 ปีที่ผ่านมาได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจังหวัดฯได้รับฆ้องกว่า 100 ชุดและชุดแต่งกายของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆสำหรับศิลปิน อีกทั้งเปิดอบรมการแสดงฆ้อง การเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองและการซ่อมฆ้องให้แก่ช่างศิลป์ ศิลปินยอดเยี่ยมหวูเลินได้เผยว่า ในเวลาข้างหน้า ควรธำรงกิจกรรมการแสดงฆ้องอย่างต่อเนื่องและเผยว่า วิธีสอนการตีฆ้องที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการสอนเป็นกลุ่ม 7 คนเพื่อจัดตั้งทีมตีฆ้อง

ในช่วงปี 2016-2020 จังหวัดดั๊กลั๊กมีศิลปินที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินยอดเยี่ยม 24 คนเนื่องจากมีผลงานดีเด่นในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประชาชาติ ทางการจังหวัดฯได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนเมื่อปี 2017 และเข้าร่วมงานมหกรรมวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนในจังหวัดยาลายเมื่อปี 2018 ส่วนในช่วงปี 2021-2025 ทางจังหวัดดั๊กลั๊กจะพยายามอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมรดกวัฒนธรรมฆ้องอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งขยายการประชาสัมพันธ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด