เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวที่ทุ่มเทให้แก่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไทในจังหวัดเซินลา

(VOVWORLD) -ด้วยความประสงค์เพื่อให้ชนเผ่าไทมีส่วนช่วยเพิ่มความหลากหลายด้านวัฒนธรรมให้แก่ประชาชาติเวียดนาม  ในหลายปีที่ผ่านมา สามีภรรยาคุณหว่างถิมายและกว่างวันหัก เมืองเซินลา จังหวัดเซินลาได้พยายามอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไท ซึ่งได้กลายเป็นครอบครัวดีเด่นในการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าในท้องถิ่น
เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวที่ทุ่มเทให้แก่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไทในจังหวัดเซินลา - ảnh 1ชั้นเรียนสอนการระบำพื้นเมืองของนางหว่างถิมาย
 
 

ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และช่วงปิดเทอมหน้าร้อน นางหว่างถิมาย อายุ 75 ปี หมู่บ้านบ๊อ แขวงเจี่ยงอาน เมืองเซินลาจะสอนการร้องเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าไทให้แก่ลูกหลาน

นาง หว่างถิมาย เกิดและเติบโตที่อำเภอเอียนโจว์ ซึ่งเป็นแผ่นดินที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเผ่าไทในจังหวัดเซินลา  ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เสียงแคน เสียงขลุ่ยและเพลงพื้นเมืองของชาวเผ่าไทมีความคุ้นเคยกับนาง มาย   เมื่อตอนอายุ 12 -13 ปี  นางหว่างถิมาย สามารถร้องเพลงพื้นเมืองและรำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยได้กลายเป็นสมาชิกของคณะแสดงศิลปะจังหวัดเซินลา หลังจากที่เกษียณอายุราชการเมื่อปี 1989 มาจนถึงปัจจุบัน นางหว่างถิมาย ได้ทุ่มเทให้แก่การสอนเพลงพื้นเมือง “คั๊บ”และการฟ้อน “xòe”ให้แก่ลูกหลานในครอบครัวและชาวบ้าน

“ในช่วงแรก กลุ่มแสดงศิลปะของหมู่บ้านมีสมาชิกแค่ 6 คนเท่านั้น จนถึงปี 2005 เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น ดิฉันได้จัดตั้งกลุ่มแสดงศิลปะของสตรีและเยาวชน จนถึงขณะนี้ หมู่บ้านของเรามีกลุ่มแสดงศิลปะ 5 กลุ่ม ซึ่งทุกคนต่างเรียกว่า “กลุ่มแสดงศิลปะของนางมาย” ซึ่งทำให้ดิฉันดีใจมาก”

สำหรับนาง มาย วัฒนธรรมศิลปะถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้จิตใจสดใส เชื่อมโยงกับคนอื่นและเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ในทุกด้าน ซึ่งเธอบอกว่า นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งกลุ่มแสดงศิลปะ ทุกคนก็รู้จักหมู่บ้านบ๊อมากขึ้น ทางหมู่บ้านได้ลงทุนด้านไฟฟ้าและถนนคอนกรีต ซึ่งทำให้ชาวบ้านดีใจมาก

เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวที่ทุ่มเทให้แก่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไทในจังหวัดเซินลา - ảnh 2ชั้นเรียนสอนภาษาเผ่าไทโบราณของครูหัก

ส่วนนาย กว่างวันหัก   สามีของนางมายที่ลูกหลานและชาวบ้านมักเรียกอย่างเป็นกันเองว่า “ครูหัก”เพราะในหลายปีที่ผ่านมา เขาได้ผลักดันการสอนภาษาเผ่าไทโบราณให้แก่ทุกคน  ซึ่งชั้นเรียนแรกของครูหักมีผู้เรียน 3 คนเท่านั้นแต่จนถึงขณะนี้ มีผู้เรียนกว่า 100 คน ซึ่งผู้เรียนที่มีอายุน้อยที่สุดคือ 7 ขวบ ส่วนผู้เรียนที่มีอายุมากที่สุดคือกว่า 60 ปี

“ผมเขียนแผนการสอนเอง แต่ละชั้นเรียนจะสอนเป็นเวลา 3 เดือน เรียนสองคาบต่อสัปดาห์ หลังจากที่เรียนจบ จะมีการสรุปผลการเรียนและมีการชมเชย ขณะนี้ จำนวนผู้ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาเผ่าไทโบราณได้อย่างคล่องแคล่วเพิ่มมากขึ้น ผมกำลังมีแผนการเปิดชั้นเรียนใหม่”

สามีภรรยาคุณหว่างถิมายและคุณ กว่างวันหัก มีลูก 4 คนและหลาน 6คน นับตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ลูกหลานของสามีภรรยาคุณหว่างถิมายและกว่างวันหัก ได้รับการหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ  ด้วยเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าไท ซึ่งใครๆก็เรียนเก่งและสามารถสร้างฐานะได้  สามารถอ่านออกเสียงภาษาเผ่าไทโบราณได้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าตน ลูกชายคนเล็กของพวกเขาเป็นทหารชายแดน สามารถเป่าขลุ่ยและแคนได้อย่างคล่องแคล่ว เด็กหญิงหลู่กวี่ญเฮือง หลานของครูหักได้เผยว่า

“ หนูรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่สามารถพูดภาษาของชนเผ่าตนและเขียนภาษาเผ่าไทโบราณได้ หนูขอขอบคุณตาคุณยายมากที่ได้สอนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไทให้แก่พวกเรา ซึ่งพวกเราจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของชนเผ่าตน”

นอกจากการให้กำลังใจแก่ลูกหลานที่เรียนดี นับตั้งแต่ปี 2009 คุณ หักได้จัดตั้งสมาคมส่งเสริมการศึกษาของตระกูลกว่างในหมู่บ้านบ๊อ ภายหลังกว่า 10 ปีที่ธำรงและพัฒนา ลูกหลานของตระกูลกว่างมีผู้ที่สร้างฐานะ มีผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีและปริญญาโทกว่า 60 คนและมีหลายคนที่ทำงานเป็นทหารและตำรวจ คุณ เลื่องวันดิ๊ก เลขาธิการพรรคสาขาและหัวหน้าหมู่บ้านบ๊อได้เผยว่า

“แม้จะมีอายุสูงแต่คุณมายและคุณหักยังมีความทุ่มเทให้แก่การสอนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าให้แก่ลูกหลาน จากขบวนการที่พวกเรากำลังปฏิบัติ หมู่บ้านบ๊อเป็นที่รู้จักมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งทางวัตถุและจิตใจของชาวบ้านได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น  หมู่บ้านมี 305 ครอบครัว ซึ่งในนั้นร้อยละ 60 -70 มีฐานะที่ดี”

คุณ หักและคุณมายเผยว่า การพบปะแต่ละครั้งไม่เพียงแต่เป็นความภาคภูมิใจเท่านั้นหากยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม

ผมรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้มาพบปะกับบรรดาผู้นำพรรคและรัฐที่กรุงฮานอย บรรดาผู้นำประเทศได้เผยว่า เราต้องมีความภาคภูมิใจเกี่ยวกับชนเผ่าตน อนุรักษ์เอกลักษณ์ของชนเผ่าตน ชาวเผ่าไท กิงและม้งสวมใส่ชุดแต่งกายพื้นเมืองอย่างสวยงาม ช่วยเติมเต็มความงามให้กับประเทศ ผมมีความประสงค์ว่า ทุกคนจะอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตน”

“ชาวเผ่าไทมีภาษาพูดและภาษาเขียน เราต้องเรียนภาษาเผ่าไท ส่วนขนบธรรมเนียมต่างๆ เช่น งานศพและงานแต่งงาน สิ่งใดที่ดีเราต้องธำรง ถ้าหากไม่อนุรักษ์ก็จะถูกหลงลืม”

เมื่อปี 2020 นาย กว่างวันหัก ได้รับหนังสือชมเชยสมาคมการศึกษาของตระกูลกว่างหมู่บ้านบ๊อจากสมาคมการส่งเสริมการศึกษาเวียดนาม ส่วนศิลปินอาวุธโส หว่างถิมายได้มีโอกาสเข้าร่วมการพบปะระหว่างประธานประเทศกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้าน ศิลปินชนกลุ่มน้อยดีเด่นทั่วประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด