การรักษาสันติภาพโลก - มองจากการต่อสู้ลัทธิฟาสซิสต์

(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมปี 1945 หลังจากกองกำลังฟาสซิสต์อิตาลีพ่ายแพ้ให้แก่กองกำลังพันธมิตรไม่กี่วัน กองกำลังฟาสซิสต์เยอรมันก็ได้ประกาศยอมแพ้ เหตุการณ์นี้ทำให้ลัทธิฟาสซิสต์ในยุโรปล่มสลายและส่งผลให้ลัทธิฟาสซิสต์ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้เมื่อวันที่ 2 กันยายนในปีเดียวกัน อันเป็นการปิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยชัยชนะอย่างสมบูรณ์ของฝ่ายพันธมิตร หลังการล่มลสายของลัทธิฟาสซิสต์ หลายสิบประเทศได้รับการปลดปล่อยและประชาชนนับร้อยล้านคนรอดพ้นจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของลัทธิฟาสซิสต์ ด้วยความหมายพิเศษนี้ วันที่ 9 พฤษภาคมทุกปีจึงถูกเลือกให้เป็น “วันแห่งชัยชนะ” ของหลายประเทศในโลก
การรักษาสันติภาพโลก - มองจากการต่อสู้ลัทธิฟาสซิสต์ - ảnh 1กองกำลังทหารของสหภาพโซเวียดฉลองชัยชนะเหนือลัทธิฟาสซิสต์ ณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมปี 1945 (vietnamplus)

แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 7 ทศวรรษ แต่ชัยชนะเหนือลัทธิฟาสซิสต์เมื่อปี 1945 ของกองทัพพันธมิตรและกองกำลังที่ใฝ่สันติภาพและก้าวหน้าในโลก ยังถือเป็นบทเรียนอันล้ำค่าและทรงคุณค่าถึงทุกวันนี้ เป็นการย้ำเตือน ให้มนุษยชาติจดจำถึงหน้าที่การรักษาและปกป้องสันติภาพของโลก

บทเรียนแห่งประวัติศาสตร์จากสงครามโลกครั้งที่2

ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ที่นานาประเทศยอมรับคือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ของประเทศจักรวรรดินิยม โดยประเทศจักรวรรดินิยมที่เพิ่งเกิดใหม่อย่าง นาซีเยอรมัน ญี่ปุ่นและอิตาลีที่สูญเสียอาณานิคมและตลาดการค้าได้จัดตั้งพันธมิตร “ฟาสซิสต์” และสร้างกองทัพของประเทศตนให้กลายเป็น “เครื่องมือแห่งการรุกราน” เพื่อเปิดสงครามแบ่งอำนาจควบคุมโลกใหม่

ในขณะเดียวกันเพื่อต่อต้านกองทัพฟาสซิสต์  ได้มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ3ประเทศมหาอำนาจได้แก่สหภาพโซเวียด สหรัฐและอังกฤษ โดยในการประชุมสุดยอด Yalta ที่สหภาพโซเวียดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1945 ตามข้อเสนอของสหภาพโซเวียด ทั้ง3 ประเทศนี้ได้เห็นพ้องต่อหน้าที่ร่วมคือทำลายลัทธิฟาสซิสต์และลัทธิทหารให้ราบคาบ จัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อนุมัติการตัดสินใจสำคัญๆเกี่ยวกับการแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกคือสหภาพโซเวียดและสหรัฐ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี1946 ได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือธำรงและรักษาสันติภาพของโลก

การเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 7 ทศวรรษก่อนได้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ยังมีความแตกต่าง แม้กระทั่งจะเป็นความขัดแย้งด้านแนวคิด ระบอบการเมืองและผลประโยชน์ แต่ประเทศมหาอำนาจยังคงสามารถจับมือกันเพื่อต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งเป็นศัตรูร่วมของมนุษยชาติเพื่อฟื้นฟูและปกป้องสันติภาพโลก ดังนั้นในปัจจุบัน เมื่อระเบียบและสถานการณ์โลกกำลังมีความผันผวนอย่างเข้มแข็งที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่างๆที่อาจคุกคามต่อสันติภาพและการคงอยู่ของมนุษย์นั้น บทเรียนจากการต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ปี 1945 จึงได้ถูกนำมาตอกย้ำอีกครั้ง

การปกป้องสันติภาพโลกคือหน้าที่ในทุกยุคทุกสมัย

ในฟอรั่ม “โลกรำลึกผู้เคราะห์ร้ายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ณ เมืองเยรูซาเลมที่กำลังอยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอลเมื่อต้นปีนี้ นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้เสนอให้จัดการพบปะระหว่างผู้นำ 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อร่วมกันรับมือภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ได้มองว่านี่เป็น “ข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับการประชุม Yalta-2” เพราะบ่งบอกถึงความสำคัญพิเศษของเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่อาจมีการเข้าร่วมของผู้นำทุกประเทศมหาอำนาจเหมือนการประชุม Yalta ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสร้างความเห็นพ้องในปฏิบัติการและความพยายามรักษาสันติภาพโลกจากความท้าทายและภัยคุกคามที่ร้ายแรงในปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจคือ ต่อข้อเสนอของประธานาธิบดีรัสเซีย นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติก็ได้เตือนว่า โลกกำลังต้องเผชิญกับภัยคุกคามระดับโลกอย่างน้อย 4 อย่างคือ การแข่งขันทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ความเสี่ยงจากการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ วิกฤตของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขาดความไว้วางใจต่อระบอบการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาการใช้เทคโนโลยีใหม่ในเพื่อก่ออาชญากรรม ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์มองว่าภัยคุกคามที่น่าวิตกกังวลเป็นพิเศษคือ “การแข่งขันทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ ความเสี่ยงจากการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์” เพราะนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 1990 ไม่ได้มีแค่ 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคือสหรัฐ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศสและจีน ที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ครอบครองเท่านั้น  ถึงปี 2002 สหรัฐได้ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาป้องกันขีปนาวุธที่ลงนามกับอดีตสหภาพโซเวียดหรือรัสเซียในปัจจุบัน และเดินหน้าการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในยุโรปและเอเชียตะวันออก เมื่อปี 2019 สหรัฐได้ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางหรือ INF ที่ลงนามกับสหภาพโซเวียดหรือรัสเซียเมื่อปี 1987 อีกทั้งปฏิเสธไม่เจรจากับรัสเซียเกี่ยวกับการขยายอายุสนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์หรือ START III ซึ่งจะหมดอายุในปี 2021

ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า การประชุมผู้นำนัดพิเศษเหมือน “การประชุม  Yalta 1945” ต้องได้รับการจัดขึ้นเพื่อหารือและแสวงหามาตรการป้องกันการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกที่มีความร้ายแรงกว่าลัทธิฟาสซิสต์ในอดีต จากบทเรียนในประวัติศาสตร์ของสงครามต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจต้องมองข้ามปัญหาความขัดแย้งเพื่อมีความพยายามร่วมกันและมีปฏิบัติการเพื่อโลกที่มีสันติภาพและปลอดภัย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด