การเจรจาในการประชุมเจนีวา: ชัยชนะทางการทูตที่มีคุณค่า

(VOVworld) – วันที่ 20 กรกฎาคมเมื่อ 61 ปีก่อน ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ข้อตกลงเจนีวาเกี่ยวกับสันติภาพของเวียดนามได้รับการลงนาม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเศสและบรรดาประเทศมหาอำนาจได้ยอมรับเอกราช อธิปไตยและบูรณะภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ซึ่งถือเป็นชัยชนะของการต่อสู้ทางการทูตที่ยาวนาน กล้าหาญและเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นของคณะผู้แทนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเพื่อปกป้องจุดยืนที่เที่ยงธรรมและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชาติ
(VOVworld) – วันที่ 20 กรกฎาคมเมื่อ 61 ปีก่อน ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ข้อตกลงเจนีวาเกี่ยวกับสันติภาพของเวียดนามได้รับการลงนาม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเศสและบรรดาประเทศมหาอำนาจได้ยอมรับเอกราช อธิปไตยและบูรณะภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ซึ่งถือเป็นชัยชนะของการต่อสู้ทางการทูตที่ยาวนาน กล้าหาญและเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นของคณะผู้แทนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเพื่อปกป้องจุดยืนที่เที่ยงธรรมและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชาติ
การเจรจาในการประชุมเจนีวา: ชัยชนะทางการทูตที่มีคุณค่า - ảnh 1
การประชุมเจนีวาปีค.ศ. 1954

หลังชัยชนะเดียนเบียนฟู วันที่ 8 พฤษภาคมปี 1954 การประชุมเจนีวาได้จัดขึ้นตามมติของการประชุมกลุ่ม 4 ประเทศมหาอำนาจ ประกอบด้วยสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและสงครามในอินโดจีน นายเฉิ่นเหวียดเฟือง เลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันด่ง หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามที่เข้าร่วมการประชุมเจนีวาเผยว่า จุดเริ่มต้นของการประชุมเจนีวาคือการประชุมของบรรดาประเทศมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์แตกต่างกัน
แรงกดดันจากฝ่ายต่างๆ
เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการในเชิงรุกได้มากนักทำให้รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิไตยเวียดนามต้องเข้าร่วมการประชุมนานาชาติรวม 8 ประเทศแต่มี 9 ฝ่ายเข้าร่วม โดยแต่ละฝ่ายต่างพยายามทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้น เวียดนามต้องเผชิญกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเจรจาตลอด 75 วัน นายเฉิ่นเหวียดเฟืองเล่าให้ฟังว่า “ หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามในขณะนั้นคือรองนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันด่ง ซึ่งท่านได้พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อชนะในการเจรจา ในการประชุมนัดสุดท้าย หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศต่างๆได้กล่าวปราศรัยแสดงความพอใจเกี่ยวกับผลการประชุม แต่มุมมองของพวกเขาคือว่านี่เป็นแค่การประชุมเท่านั้น ส่วนรองนายกรัฐมนตรีเวียดนามฝ่ามวันด่งได้เลือกที่ยืนมองไปยังประเทศและรายงานต่อประชาชาติว่า คณะผู้แทนเวียดนามได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้วแต่ก็บรรลุเป้าหมายเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นและการต่อสู้ของเวียดนามจะต้องดำเนินไปอย่างยาวนานและเผชิญความลำบากต่อไป”
นักการทูตผู้อาวุโสห่าวันเลิว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้นเขาได้รับมอบหมายให้ร่วมมือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมต๋ากวางบิ๋วทำการวิเคราะห์และเตรียมแผนการรบเพื่อยุติสงครามได้เล่าถึงช่วงเวลาที่เข้าร่วมการเจรจาเจนีวาว่า  บรรยากาศการเจรจาตึงเครียดมาก คณะผู้แทนเวียดนามต้องใช้ทุกวิธีเพื่อต่อสู้กับศัตรู ชัยชนะในสมรภูมิเดียนเบียนฟูบวกกับความเฉลียวฉลาด ความคล่องตัวและการยืนหยัดหลักการ “เอกราช เอกภาพและการบูรณะภาพแห่งดินแดน” บนโต๊ะเจรจา ในที่สุดเวียดนามก็สามารถกดดันให้ฝ่ายตรงข้ามยอมลงนามในข้อตกลงเจนีวา “ช่วงเวลาที่สำคัญและน่าจดจำที่สุดในการเจรจาเจนีวาคือช่วงเวลาสุดท้ายของวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งมีการเห็นพ้องกันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของการประชุม โดยเฉพาปัญหาเกี่ยวกับเส้นขนาน เป้าหมายของคณะผู้แทนเวียดนามในการเข้าร่วมข้อตกลงเจนีวาคือ ยุติสงคราม สร้างสันติภาพกลับคืนมาและเรียกร้องให้ทุกประเทศให้ความเคารพอธิปไตยและบรูณะภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม หลังจากที่ข้อตกลงได้ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องสิทธิของประชาชาติ”
การเจรจาในการประชุมเจนีวา: ชัยชนะทางการทูตที่มีคุณค่า - ảnh 2
ตัวแทนของเวียดนามและฝรั่งเศสลงนามในข้อตกลงยุติสงคราม
ในเวียดนาม (Photo VNplus)

ชัยชนะทางการทูตที่มีความหมาย
หลังการเจรจามาเป็นเวลา 75 วันผ่านการประชุม 31 นัดการพบปะทวิภาคีและพหุภาคีนอกรอบการประชุม เมื่อเวลา 24. 00 น.วันที่ 20 กรกฎาคมปี 1954 ข้อตกลงเจนีวาเกี่ยวกับสันติภาพของเวียดนามได้รับการลงนาม ฝรั่งเศสและประเทศต่างๆที่เข้าร่วมการประชุมได้ยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของเวียดนาม นั่นคือ เอกราช เอกภาพและบูรณะภาพแห่งดินแดน แต่อย่างไรก็ตามประเทศเวียดนามต้องถูกแบ่งเป็นสองภาคเป็นการชั่วคราว อดีตรองนายกรัฐมนตรีหวูควาน ผู้ที่ได้ปฏิบัติภารกิจการทูตมาเป็นเวลากว่า 40 ปีเผยว่า การต่อสู้ทางการทูตในการประชุมเจนีวาคือการต่อสู้ที่เด็ดขาดและยืนหยัดจุดยืนแต่ก็มีความคล่องตัว  ในสภาวการณ์ของโลกและแสนยานุภาพทางทหารในขณะนั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามได้ตัดสินใจยุติสงคราม ยอมรับมาตรการทางการทูตและประเทศถูกแบ่งเป็นสองภาคเป็นชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 เพื่อสันติภาพให้แก่การปลดปล่อยภาคใต้ รวมประเทศเป็นเอกภาพหลังจากนั้น 21 ปี อดีตรองนายกรัฐมนตรีหวูควานกล่าวว่า “พวกเราได้ทำการเจรจาอย่างเข้มแข็งโดยไม่ยอมรับเส้นขนาน 17 โดยรองนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันด่งได้เสนอให้ใช้เส้นขนาน 13 และ 14 แล้วก็ 16 แต่เนื่องจากความเสียเปรียบด้านแสนยานุภาพทางทหารและสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นเราจึงต้องยอมรับเส้นขนาน 17 เป็นการชั่วคราว”
ข้อตกลงเจนีวาคืนสันติภาพให้กลับมาในเวียดนามเป็นชัยชนะทางการทูตที่สำคัญที่สุดของกองทัพและประชาชนเวียดนาม อำนวยควาสะดวกและสร้างพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่เวียดนามทำการต่อสู้ต่อไปเพื่อปลดปล่อยประเทศชาติ ชัยชนะในการเจรจาตลอด 75 วันของคณะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามในการประชุมเจนีวาถือเป็นชัยชนะของการต่อสู้ทางการทูตที่ยาวนาน กล้าหาญและเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งจนถึงปัจจุบันการต่อสู้ดังกล่าวยังคงเต็มไปด้วยคุณค่าเพราะได้แสดงให้เห็นถึงเกียรติประวัติแห่งสันติภาพ มิตรภาพและไกล่เกลี่ยของประชาชาติเวียดนามและแนวคิดการทูตของประธานโฮจิมินห์ นั่นคือ “สันติภาพต้องผูกพันกับเอกราช เสรีภาพ อธิปไตย เอกภาพและบูรณะภาพแห่งดินแดนของปิตุภูมิ”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด