ข้ออ้างของสหรัฐเพื่อเพิ่มแรงกดดันบังคับให้อิหร่านกลับมานั่งเจรจา

(VOVWORLD) -ถึงแม้กลุ่มกบฎฮูธิในประเทศเยเมนได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีใส่โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 14 กันยายน แต่ความสนใจของประชามติโลกกลับมุ่งมาที่อิหร่านหลังจากที่สหรัฐและบางประเทศพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลางได้โยนความผิดให้แก่อิหร่านและสถานการณ์ก็มีความร้อนแรงมากขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ส่วนอิหร่านได้ยืนยันว่า จะมีการตอบโต้ทุกการกระทำที่ยั่วยุ   ทั้งนี้ ดูเหมือนว่า สหรัฐกำลังพยายามบีบบังคับเพื่อให้อิหร่านกลับมานั่งเจรจาเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์แต่นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปฏิบัติ

กลุ่มกบฎฮูธิในประเทศเยเมนได้เผยว่า ได้ส่งเครื่องบินไร้คนขับโจมตีใส่โรงกลั่นน้ำมันที่เมืองอับกอยก์ ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกและที่เมืองคูราอิสในภาคตะวันออกของซาอุดิอาระเบียเพื่อตอบโต้การโจมตีทางอากาศของพันธมิตรที่นำโดยซาอุดิ อาระเบียในสงครามที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 5 ปีในประเทศเยเมน  แต่พันธมิตรทางทหารนำโดยซาอุดิ อาระเบียได้เผยว่า โรงกลั่นน้ำมั่น 2 แห่งดังกล่าวอาจถูกโจมตีด้วยอาวุธจากอิหร่าน  ซึ่งโฆษกของพันธมิตรทางทหารได้ยืนยันว่า การโจมตีนี้ไม่ได้เริ่มจากดินแดนของประเทศเยเมนและกลุ่มฮูธิกำลังอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

ข้อกล่าวหาหลายข้อ

  หลังจากเกิดการโจมตีดังกล่าว ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์และประเทศพันธมิตรของสหรัฐในภูมิภาคตะวันออกกลางต่างกล่าวหาอิหร่านว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง โดยเผยว่า ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การโจมตีนี้เริ่มจากประเทศเยเมนและยืนยันว่า มีการสนับสนุนจากอิหร่าน  ซึ่งนาย  ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้เดินทางไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะทำการตอบโต้  ถึงแม้เขาจะยอมรับกับสื่อมวลชนว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องถึงอิหร่าน  ส่วนนาย Mark Esper รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เผยว่า สหรัฐกำลังประสานงานกับประเทศพันธมิตรเพื่อปกป้องความเป็นระเบียบเรียบร้อยบนพื้นฐานของข้อกำหนดระหว่างประเทศที่กำลังถูกอิหร่านทำลาย  ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ได้สั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Steven Mnuchin เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน โดยเผยว่า “สหรัฐมีหลายตัวเลือก โดยตัวเลือกสุดท้ายคือการเข้าสู่สงคราม”  ส่วนทางการซาอุดิ อาระเบียได้เปิดเผยซากเครื่องบินไร้คนขับที่เก็บได้ในสถานที่เกิดเหตุ โดยกล่าวว่า เป็นซากของขีปนาวุธนำวิถีและเครื่องบินไร้คนขับของอิหร่าน

ซึ่งความผันผวนดังกล่าวทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 เดือนก่อน ที่เรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำถูกโจมตีในเขตทะเลใกล้ช่องแคบฮอร์มุซ  โดยสหรัฐได้กล่าวหาพร้อมเปิดเผยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า อิหร่านเป็นผู้ก่อเหตุโจมตีดังกล่าว

  ส่วนทางฝ่ายอิหร่านนั้น นาย โมฮัมเหม็ด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้ปฏิเสธว่า อิหร่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีใส่โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย พร้อมทั้ง ยืนยันว่า เมื่อสหรัฐประสบความล้มเหลวในยุทธศาสตร์เพิ่มแรงกดดัน พวกเขาก็หันมาปฏิบัติยุทธศาสตร์ หลอกลวงและอิหร่าน จะตอบโต้ทุกปฏิบัติการของสหรัฐที่ต่อต้านอิหร่าน

  กดดันให้อิหร่านกลับมานั่งเจรจา

  ประชามติโลกคุ้นเคยกับกลยุทร์การเพิ่งแรงกดดันของสหรัฐเพื่อบังคับให้อิหร่านกลับมานั่งเจรจา ดังนั้น หลังเกิดเหตุโจมตีดังกล่าว   หลายประเทศได้เรียกร้องให้เปิดการสืบสวนอย่างโปร่งใสและรอบคอบ คาดว่า สหประชาชาติจะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อทำการสืบสวนระหว่างประเทศต่อการโจมตีในกรอบของมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ลงนามกับอิหร่านเมื่อปี  2015และมติอื่นเกี่ยวกับการคว่ำบาตรด้านอาวุธต่อประเทศเยเมน 

  ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านเริ่มขึ้นนับตั้งแต่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลีย์ที่ได้ลงนามระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจเมื่อปี 2015 เนื่องจากเห็นว่า ข้อตกลงฉบับนี้มีเนื้อหาที่ไม่รัดกุม ต่อจากนั้น สหรัฐได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตร โดยเฉพาะการคว่ำบาตรต่อเครือข่ายการเงินและการส่งออกน้ำมัน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของอิหร่าน           และการที่สหรัฐกล่าวอิหร่านว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีใส่โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งของซาอุดิ อาระเบียได้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐกำลังเพิ่มแรงกดดันให้เต็มที่ต่ออิหร่านเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่ ซึ่งข้อกล่าวหาต่างๆจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปจนกว่าฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องจะกลับมานั่งเจรจาหรือที่เลวร้ายกว่าก็คือจะเกิดการปะทะในของเขตทั้งภูมิภาค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด