ความสัมพันธ์อังกฤษ-อียูหลัง Bretxit : จากหุ้นส่วนสู่คู่แข่ง

(VOVWORLD) -  ภายหลังเกือบครึ่งศตวรรษของการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู ประเทศอังกฤษได้ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 มการาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้กระบวนการ Brexit กลายเป็นความจริง ซึ่งถึงแม้เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากสื่อทั่วโลก แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ถึงแม้กระบวนการ Brexit ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้แก่คำถามเกี่ยวกับลักษณะของความสัมพันธ์อังกฤษ-อียูจะเป็นอย่างไรหลัง Brexit
ความสัมพันธ์อังกฤษ-อียูหลัง Bretxit : จากหุ้นส่วนสู่คู่แข่ง - ảnh 1(Photo: Vietnamplus) 

เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 31 มกราคมตามเวลาอังกฤษ สหราชอาณาจักรได้ยุติการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปภายหลังการเป็นสมาชิกขององค์การนี้มายาวนานถึง 47 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ตามข้อตกลงที่ได้บรรลุ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมปี 2020 ซึ่งเรียกว่า ระยะเปลี่ยนผ่าน ประเทศอังกฤษยังคงมีสิทธิผลประโยชน์และข้อผูกมัดกับอียู ยกเว้นการเข้าร่วมด้านการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชามติให้ความสนใจมากกว่าคือในช่วงเวลา 11 เดือนนี้ ทั้งสองฝ่ายจะปฏิบัติอะไรเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ในอนาคต โดยเฉพาะในปัญหาการค้า ด้วยความขัดแย้งหลักที่ยังคั่งค้างอยู่ซึ่งคาดกันว่า กระบวนการเจรจาในระยะนี้จะลำบากมากกว่ากระบวนการเจรจา Brexit

กระบวนการเจรจาเปลี่ยนผ่านเต็มไปด้วยความท้าทา

ในทางเป็นจริง หลังจากถอนตัวออกจากอียูไม่กี่วัน ทั้งอียูและอังกฤษได้เสนอเป้าหมายการเจรจาของตน ซึ่งแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต ถึงแม้มีความประสงค์ร่วมกันคือบรรลุข้อตกลงด้านการค้า โดยสหภาพยุโรปย้ำอีกครั้งถึงข้อเสนอให้อังกฤษปฏิบัติตามข้อกำหนดของอียูเพื่อค้ำประกันการแข่งขันที่เสมอภาค ถ้าหากทางการลอนดอนอยากมุ่งสู่ข้อตกลงที่ไม่มีการเก็บภาษีและไม่มีกำแพงกีดกันด้านการค้าตามความต้องการของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ซึ่งหัวหน้าคณะเจรจา Brexit ของอียู Michel Barnier ได้ย้ำว่า ต้องมีเวทีที่มีความยุติธรรมในระยะยาวเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สัคมและการอุปถัมภ์ของรัฐบาล และยืนยันว่า ข้อตกลงการค้าเสรีต้องครอบคลุมความตกลงเกี่ยวกับการประมง  โดยอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงเขตน่านน้ำของกัน และเงื่อนไขเพื่อปฏิบัติเรื่องนี้ต้องได้รับการจัดตั้งก่อนวันที่ 1 กรกฎาคมปี 2020 เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการเป็นฝ่ายรุกของตน สหภาพยุโรปได้ประกาศว่า พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ รวมทั้งความล้มเหลวในการเจรจากับอังกฤษ

ส่วนนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสันได้มีท่าทีทันที โดยยืนยันว่า ไม่ยอมรับเงื่อนไขที่อียูเสนอ อีกทั้งย้ำว่า ข้อตกลงการค้าเสรีไม่จำเป็นต้องยอมรับข้อกำหนดของอียูเกี่ยวกับนโยบายการแข่งขัน การอุปถัมภ์ การปกป้องสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ความแตกต่างกันเกี่ยวกับทัศนะการเจรจาระหว่างสองฝ่ายแสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถค้ำประกันได้ว่า อังกฤษและอียูจะสามารถบรรลุข้อตกลงที่จำเป็นในระยะเปลี่ยนผ่านอันสั้นนี้เพื่อช่วยกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายหลังปี 2020 ให้มีความชัดเจนได้หรือไม่

จากหุ้นส่วนถึงคู่แข่ง

ที่น่าสนใจคือ ในท่าทีของตน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสันได้ย้ำถึงรูปแบบข้อตกลงการค้าเสรีที่อียูกำลังปฏิบัติกับแคนาดาและออสเตรเลีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แนวทางยึดมั่นการเจรจาของรัฐบาลอังกฤษคือการเป็นทั้งหุ้นส่วนและคู่แข่งของยุโรป

ส่วนในฝ่ายยุโรปนั้น สิ่งที่น่ากังวลของอังกฤษคือทัศนะที่อยากยุติข้อผูกมัดกับยุโรปอย่างสมบูรณ์เพื่อปฏิบัติรูปแบบการพัฒนาใหม่ โดยเฉพาะการค้าที่รัฐบาลอังกฤษได้เสนอเมื่อเร็วๆนี้ เนื่องจากอังกฤษอาจยกเลิกมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แรงงานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนืออียูจนมีคำเตือนเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตดินแดนที่ยุโรปได้ตั้งชื่อที่น่าวิตกกังวลคือ “สิงคโปร์ในแม่น้ำเทมส์” ซึ่งเป็นประตูเข้าสู่ยุโรป โดยนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิลได้พูดตรงว่า อังกฤษจากบทบาทเป็นสมาชิกของอียู ปัจจุบันได้กลายเป็น “ประเทศคู่แข่งที่น่ากลัวที่ประตู”เข้ายุโรป

ในทางเป็นจริง ด้วยความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและกว้างลึกระหว่างอังกฤษกับอียูภายหลังเกือบครึ่งศตวรรษแห่งความผูกพัน จนถึงขณะนี้ Brexit ยังถือเป็น “การเดิมพันครั้งใหญ่ที่สุด” ของทั้งสองฝ่าย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด