ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก

(VOVWORLD) - ผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญภาวะถดถอยที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยได้มีการพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจโลกอาจตกเข้าสู่ภาวะตกต่ำครั้งใหญ่เหมือนวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 1930 หรืออาจเลวร้ายกว่านั้น
ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก - ảnh 1ผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลก (nhadautu.vn

ในบทวิเคราะห์ร่วมที่ลงในนิตยสาร Foreign Policy ฉบับวันที่ 9 กันยายน ทั้งนาง คริสตาลินา จอร์เจียวา   (Kristalina Georgieva) ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟและนาง Gita Gopinath หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟต่างได้ออกคำเตือนว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจะยืดเยื้อต่อไป ความสามารถในการฟื้นตัวยังคงเปราะบางและไม่เท่าเทียมกันระหว่างเขตและหน่วยงาน คำเตือนดังกล่าวได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่โรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในทั่วโลก โดยหลายประเทศต้องประกาศใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด เช่นปิดชายแดน ปิดประเทศหรือพื้นที่บางส่วน จำกัดกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อห่วงโซ่อุปทานโลก ทำให้ยังคงมีการพยากรณ์ว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจและศักยภาพฟื้นฟูเศรษฐกิจยังคงมีความมืดมน

ตัวเลขที่น่าวิตก

บรรดานักวิเคราะห์ในตลาดวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้การขยายตัวจีดีพีของโลกหายไป 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนไอเอ็มเอฟพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะติดลบร้อยละ 4.9 ในปี 2020 โดยเศรษฐกิจที่พัฒนาจะติดลบร้อยละ 8 ส่วนเศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ติดลบร้อยละ 3 ในขณะที่ธนาคารโลกได้พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะติดลบร้อยละ 5.2 โดยเศรษฐกิจพัฒนาจะเติบโตติดลบร้อยละ 7 และเศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่จะติดลบร้อยละ 2.5

สำหรับประเทศสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งด้านจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา การขยายตัวจีดีพีได้ติดลบร้อยละ 9.1 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขติดลบร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรก ไอเอ็มเอฟพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐในปี 2020 จะลดลงร้อยละ 6.6 โดยเฉพาะ สถาบันการเงินระหว่างประเทศบางแห่งได้พยากรณ์ว่า ในปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอาจถดถอยมากกว่าร้อยละ 8 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา

ส่วนที่ยุโรป เยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปได้ติดลบถึงร้อยละ 10.1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 ในขณะที่เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนติดลบร้อยละ 12.1

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ นี่คือตัวเลขที่น่าวิตกกังวล เพราะแสดงให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังเลวร้ายกว่าวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008-2009 และอาจรุนแรงกว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อปี 1930

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก - ảnh 2นาง คริสตาลินา จอร์เจียวา   ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (vietnamplus) 

ความสามารถในการฟื้นตัว

ถึงแม้ได้มีการเตือนว่า วิกฤตในปัจจุบันจะยืดเยื้อต่อไป แต่ในบทวิเคราะห์ในนิตยสาร Foreign Policy ฉบับวันที่ 9 กันยายน ผู้อำนวยการใหญ่และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟได้แสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจโลกกำลังมีสัญญาณฟื้นตัวหลังจากตกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์นั้นมีน้อยมาก  ถ้าหากโลกไม่มีวัคซีนป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคนก่อนหน้านี้ที่ย้ำว่า ศักยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ดังนั้น จากการที่เมื่อเร็วๆนี้ รัสเซียได้ออกใบอนุญาตให้ใช้วัคซีนโควิด-19 เป็นประเทศแรกในโลก ในขณะที่หลายประเทศก็กำลังเร่งผลิตวัคซีนก็ทำให้ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวมีมากขึ้น

นอกจากนั้น ประเทศจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกก็กำลังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการฟื้นตัวที่น่ายินดี โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้อ้างแหล่งข่าวจากธนาคาร UBS Group AG ของสวิสเซอร์แลนด์ที่พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจจีนอาจมีการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2020 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขที่เคยพยากรณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ส่วนไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจจีนอาจขยายตัวร้อยละ 5.5 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 ในไตรมาสที่ 4 การพยากรณ์ใหม่เกี่ยวกับการขยายตัวของจีนอ้างอิงจากการฟื้นตัวของการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศและการลงทุนที่เข้มแข็งของจีน

ถึงกระนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ยังคงมีคำเตือนว่าเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงที่จะถดถอยอย่างหนักเนื่องจากหลายปัญหา รวมทั้งสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยังไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ความลำบากในการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ดังนั้น ทุกประเทศและโลกยังคงต้องระมัดระวัง ยืนหยัดปฏิบัติความพยายามควบคุมการแพร่ระบาด ควบคู่กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เข้มแข็งต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด