ความไร้เสถียรภาพบนเวทีการเมืองไทย

(VOVworld)- สถานการณ์ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงที่เลวร้ายที่สุกนับตั้งแต่เหตุปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อปี2010 และได้มีสัญญาณทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องถึงแม้การชุมนุมของกลุ่มฝ่ายค้านได้ย่างเข้าวันที่32แล้ว ทั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์ไทยจะตกเข้าสู่ความโกลาหลวุ่นวายจนไม่สามารถคาดคิดได้

(VOVworld)- สถานการณ์ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงที่เลวร้ายที่สุกนับตั้งแต่เหตุปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อปี2010 และได้มีสัญญาณทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องถึงแม้การชุมนุมของกลุ่มฝ่ายค้านได้ย่างเข้าวันที่32แล้ว ซึ่งหลังเหตุปะทะเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมของทั้งฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและต่อต้านรัฐบาลที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว4คนพร้อมทั้งบาดเจ็บกว่า2ร้อยคน เจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องใช้แก๊สน้ำตาและรถฉีดน้ำเพื่อสกัดกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์ไทยจะตกเข้าสู่ความโกลาหลวุ่นวายจนไม่สามารถคาดคิดได้

ความไร้เสถียรภาพบนเวทีการเมืองไทย - ảnh 1
นายสุเทพเป็นคนที่มีอิทธพลในพรรคประชาธิปัตย์(Reuter)

สถานการณ์ล่าสุดนี้คือ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลหรือ กปปส. ในข้อหากบฏ ตามความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 113  และแกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยหรือคปท.อีก4คนข้อหา มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ชี้นำกลุ่มผู้ชุมนุมบุกยึดและทำลายทรัพย์สินในสำนักงานต่างๆของรัฐบาล ก่อนหน้านั้นแกนนำกลุ่มนปปส.ก็ได้ยื่นคำขาดให้นายกฯยิ่งลักษณ์คืนอำนาจให้กับประชาชนภายในเวลา2วันแต่ถูกรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯปฏิเสธ

ภาพรวมของแกนนำกลุ่มกปปส.

นายสุเทพ เทือกสุบรรณเคยเป็นรองนายกฯฝ่ายความมั่นคงไทยช่วงปี2008-2011 ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สั่งปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯเมื่อปี2010จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นายสุเทพเป็นคนที่มีอิทธพลในพรรคประชาธิปัตย์และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีช่วยว่าการอีกหลายกระทรวง ภายหลังรัฐบาลชุดใหม่ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการจัดตั้ง นายสุเทพก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายค้านและเมื่อมีการประกาศพิจารณาพ.ร.บนิรโทษกรรมที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างรุนแรง นายสุเทพก็ได้ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อเป็นผู้นำการชุมนุมประท้วงรัฐบาลด้วยความมุ่งมั่นที่จะโค่นล้มระบอบทักษิณที่กำลังเคลื่อนไหวในนามรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ โดยเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้บริหารประเทศ

เจตนาทางการเมือง

เวทีการเมืองไทยในหลายปีที่ผ่านมาได้เจอปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและกลุ่มเสื้อแดงที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนั้นหากฝ่ายรัฐบาลเป็นพันธมิตรกับพ.ต.ท.ทักษิณ กลุ่มที่ต่อต้านก็จะออกมาชุมนุมประท้วงและในกรณีตรงกันข้ามฝ่ายเสื้อแดงก็จะลุกขึ้นประท้วงเช่นกัน ซึ่งถือเป็นวงจรแห่งการประท้วงและเผชิญหน้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี2001จนถึงปัจจุบันก็สามารถเห็นว่า ฝ่ายที่เป็นพันธมิตรกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมักจะเป็นฝ่ายชนะในการเลือกตั้งเสมอส่วนฝ่ายค้านนั้นจะขึ้นเป็นฝ่ายบริหารได้โดยอาศัยการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์ได้ประเมินว่าการเสนอพ.ร.บ นิรโทษกรรมของนายกฯยิ่งลักษณ์ก็ถือเป็นโอกาสเพื่อให้ฝ่ายค้านใช้อ้างเป็นเหตุผลเพื่อมุ่งโค่นล้มรัฐบาลของเธอในครั้งนี้

กลยุทธ์ที่ใช้ความอ่อนโยนเพื่อเอาชนะความแข็งกร้าวจะสำเร็จหรือไม่

จากแนวทางการบริหารประเทศที่เป็นกลางและต่อแรงกดดันที่นับวันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นของฝ่ายต่อต้าน นายกฯไทยได้แถลงว่า พร้อมรับข้อเสนอทุกหนทางที่นำไปสู่การหารือแก้ปัญหาประเทศ ซึ่งหากมีมาตรการที่สามารถฟื้นฟูความสงบได้เธอก็ยินดีจะดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลจะใช้ความอดกลั้นและปฏิบัติมาตรการที่จำเป็นตามระเบียบกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการชุมนุมเท่านั้น นอกจากนี้นายกฯยิ่งลักษณ์ยังมีการกล่าวปราศรัยทางสถานีโทรทัศน์เพื่อพยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่ตึงเครียด ทั้งนี้บรรดาผู้สังเกตุการณ์ได้วิเคราะห์ว่า รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์อาจจะได้ถอดประสบการณ์จากวิกฤตเมื่อปี2010และไม่อยากซ้ำรอยความผิดพลาดของรัฐบาลชุดก่อนในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะตดกับดักที่เคยเกิดขึ้นเเล้วเมื่อปี2008เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกยึดสำนักงานราชการต่างๆจนทำให้ระบบราชการของประเทศไม่สามารถดำเนินการได้
ปัจจุบันยังมีความขัดแย้งกันในการพยากรณ์อนาคตของรัฐบาลไทยเพราะเหตุการณ์ที่ตึงเครียดในขณะนี้อาจจะถูกยกระดับจนถึงขีดสุดที่รัฐบาลไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้และก็ไม่อาจละเว้นกรณีเกิดรัฐประหารอีกครั้ง  ประชามติก็ได้ตั้งความหวังว่าในช่วงเวลาเฉพาะหน้าคือในอีก2วันประชาชนไทยจะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยให้ความเคารพรักยิ่งนั้น สถานการณ์จะผ่อนคลายลงได้บ้าง แต่นี่อาจจะเป็นเพียงช่วงเวลาที่สงบชั่วคราวก่อนที่ไทยจะต้องรับมือกับมรสุมรอบใหม่เพราะการที่จะสามารถแก้ไขต้นเหตุของการแบ่งขั้วที่ลึกซึ้งในสังคมโดยสิ้นเชิงนั้นมิใช่เรื่องง่าย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด