น้ำท่วมในประเทศจีนและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งต้นน้ำ

(VOVWORLD) - ประเทศจีนกำลังต้องเผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อประชาชนนับล้านคน นอกจากสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้วิเคราะห์และมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพและการบริหารจัดการแหล่งน้ำของเขื่อนที่ก่อสร้างในเขตต้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม
น้ำท่วมในประเทศจีนและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งต้นน้ำ - ảnh 1น้ำท่วมในประเทศจีน (Peolpe's Daily) 

 

ตามรายงานสถิติจากรัฐบาลจีน จนถึงขณะนี้ ฝนตกและน้ำท่วมที่กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศจีนได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140 คน ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 38 ล้านคนและสร้างความเสียหายให้แก่ที่อยู่อาศัยร 28,000 หลัง เหตุน้ำท่วมไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อระบบทำนบเขื่อนกั้นน้ำในแม่น้ำแยงซีในภาคใต้เท่านั้น หากยังส่งผลกระทบต่อระบบแม่น้ำฮวงโหและมณฑลต่างๆในภาคเหนือของจีนอีกด้วย

ความเสียหายอย่างหนัก

สถานการณ์ฝนตกหนักที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงปัจจุบันได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายนับร้อยคนและส่งผลกระทบต่อนับล้านครอบครัวในภาคใต้ของจีน ฝนตกหนักที่ผิดปกติเป็นเวลานานทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปีซึ่งสร้างความเสียหายถึง 13,5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ระดับน้ำของแม่น้ำ 33 สายเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่แม่น้ำ 433 สายกำลังเสี่ยงที่จะเกิดน้ำเอ่อล้น

ตั้งแต่ต้นฤดูฝนจนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญจีนและต่างประเทศได้วิเคราะห์และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความสามารถในการป้องกันน้ำท่วม รวมถึงผลกระทบของการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่มีหลากหลายเป้าหมายของจีน ที่น่าสนใจคือเขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) ที่มีความยาว 2.3 กม. และสูง 185 ม เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกบ่นแม่น้ำแยงซีที่ได้รับการก่อสร้างและเปิดใช้เมื่อปี 2003 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เลียบตามแม่น้ำแยงซี แต่เนื่องจากความกังวลว่า เหตุน้ำท่วมบริเวณที่ต้นน้ำในฤดูร้อนทำให้ปริมาณน้ำสูงเกินกว่าที่เขื่อนจะรับได้ ทำให้ต้องเปิดประตูเขื่อนเพื่อปล่อยน้ำ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ด้านล่างของเขื่อน นอกจากนั้น ปริมาณน้ำฝนที่เติมเข้ามาตั้งแต่ต้นเดือนก็มีส่วนทำให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้น

ปัจจุบัน จีนได้ก่อสร้างสถานีสังเกตการณ์น้ำท่วมกว่า 30,000 แห่งเลียบตามแม่น้ำแยงซีเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและช่วยให้ทางการปกครองท้องถิ่นสามารถพยากรณ์สถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง แต่ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพของเครือข่ายป้องกันน้ำท่วมยังขึ้นอยู่กับเขื่อนทุกแห่งและปริมาณน้ำฝน สถานการณ์อุทกภัยที่ยังคงรุนแรงเนื่องจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้การพยากรณ์สถานการณ์อย่างแม่ยำทำได้ยาก ช่วงนี้ ประเทศจีนกำลังย่างเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณกว้างจนถึงต้นเดือนสิงหาคม

น้ำท่วมในประเทศจีนและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งต้นน้ำ - ảnh 2เขื่อนสามผา  (THX) 

การบริหารจัดการแหล่งน้ำจากแหล่งต้นน้ำ

ในเวลาที่ผ่านมา นักธรณีวิทยาได้คัดค้านโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ เช่นโครงการเขื่อนสามผาเพราะสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ นักวางนโยบายได้มองข้ามความสามารถในการควบคุมน้ำจากแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำ ส่วนทางการจีนก็ได้กล่าวยืนยันเมื่อเร็วๆนี้ว่า ไม่สามารถพึ่งพาแค่เขื่อนสามผาในการแก้ปัญหาน้ำท่วมให้แก่เขตที่ราบลุ่มของแม่น้ำแยงซี และจุดสูงสุดของปัญหานี้ในปลายเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคมจะเป็นการทดสอบจริงสำหรับความสามารถในการจัดการน้ำท่วมของเขื่อนสามผา

ปัจจุบัน ประชาชนในหลายประเทศได้ต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และหาทางปกป้องแม่น้ำและการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำ นอกจากการเรียกร้องการชดเชยเนื่องจากได้รับผบกระทบจากการสร้างเขื่อนแล้วก็มีการระดมความคิดเห็นและมาตรการทดแทนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดสรรไฟฟ้า น้ำและการบริหารจัดการน้ำท่วม เช่นการก่อสร้างเขื่อนขนาดเล็กและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั่วโลกได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบในทางลบจากการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งก็ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งต้องหยุดใช้งาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีอีกหลายแห่งที่ยังคงใช้งานและส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด