นำประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขเข้าสู่ชีวิต

(VOVWORLD) - ประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งชาติเวียดนามเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาในกรอบการประชุมครั้งที่ 8 สภาแห่งชาติสมัยที่ 14 ประมวลฉบับนี้เป็นหนึ่งในประมวลกฎหมาย 5 ฉบับที่มีความหมายสำคัญต่อแรงงานและสังคมของเวียดนามและสิ่งที่สำคัญคือ ต้องค้ำประกันให้ประมวลกฎหมายฉบับนี้สามารถตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริงของแรงงานและนายจ้างมากขึ้น
นำประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขเข้าสู่ชีวิต - ảnh 1 (Photo daibieunhandan)

ประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2021 โดยกระบวนการแก้ไขได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2016 ก่อนยื่นเสนอในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งนี้ ร่างประมวลกฎหมายนี้ได้รับการแสดงความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ องค์การระหว่างประเทศและประชาชนทุกชั้นชน

การประเมินในแง่ดี

ข้อกำหนดที่ได้รับการแก้ไขและเสริมเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายแรงงานส่งผลโดยตรงถึงสิทธิผลประโยชน์ของแรงงาน นายจ้าง ความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ตลาดแรงงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม

นี่ถือเป็นนิมิตหมายสำคัญในการแก้ไขประมวลกฎหมายแรงงานครั้งนี้ ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือกลไกเกี่ยวกับสัญญาการจ้างงานตามแนวทางที่ปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงานมากขึ้น เช่น ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างงานที่มีความตกลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน ระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกรณีที่สามารถทำงานล่วงเวลาได้ตั้งแต่ 200 ชั่วโมง - 300 ชั่วโมงต่อปีเพื่อค้ำประกันสิทธิ์ในระยะยาวให้แก่แรงงาน นาย หยวานเหมาเหยียบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมเผยว่า            “การแก้ไขประมวลกฎหมายแรงงานเพื่อค้ำประกันให้กลุ่มแรงงานทุกกลุ่มมีสิทธิและมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในขณะที่เข้าร่วมการเจรจาในสถานที่ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่เวียดนามไม่เคยปฏิบัติมาก่อน”

สิ่งที่น่าสนใจคือการขยายอายุราชการตามขั้นตอนเพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือปัญหาประชากรสูงอายุและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมทั้งมีข้อกำหนดอนุญาตการจัดตั้งองค์การของแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานเวียดนามที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไอแอลโอ คำมั่นระหว่างประเทศต่างๆและอำนวยความสะดวกในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก นาย Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียนประเมินว่า “นี่เป็นนิมิตหมายที่สำคัญต่อปัญหาแรงงานและสังคมที่ประชาคมอาเซียนกำลังพยายามบรรลุ โดยเฉพาะการขยายอายุเกษียณราชการและเพิ่มจำนวนองค์การของแรงงานในสถานประกอบการ ซึ่งเนื้อหาที่ได้รับการแก้ไขในประมวลกฎหมายแรงงานครั้งนี้จะเอื้อประโยชน์ให้แก่การกำหนดแนวทางพัฒนาของประชาคมอาเซียนในเวลาข้างหน้า โดยเฉพาะเกี่ยวข้องถึงแถลงการณ์อาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งบุคลากรและงานด้านสังคม”

ควบคู่กับประเด็นใหม่ๆที่ค้ำประกันสิทธิผลประโยชน์ให้แก่แรงงานมากขึ้น ในประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขยังมี 6 ประเด็นใหม่สำหรับนายจ้าง เช่น เป็นครั้งแรกที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับบทบาทการเป็นตัวแทนปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมและการเข้าร่วมสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านแรงงานให้มีความก้าวหน้า กลมกลืนและมีเสถียรภาพของหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม สมาพันธ์สหกรณ์และองค์การที่เป็นตัวแทนของนายจ้าง ขยายสิทธิของนายจ้างให้สามารถถยุติสัญญาจ้างงานเพียงฝ่ายเดียว รัฐไม่แทรกแซงโดยตรงต่อนโยบายเงินเดือนของสถานประกอบการโดยการจ่ายเงินเดือนจะอ้างอิงตามสัญญาระหว่างแรงงานกับนายจ้าง

ผลักดันการประชาสัมพันธ์

เพื่อให้ประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขสามารถปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของแรงงานและนายจ้างอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพของตลาดแรงงาน จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายฉบับนี้ นาย เหงียนฮวีท้าย ผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดบากเลียวแสดงความคิดเห็นว่า            “สิ่งที่สำคัญคือ สำนักงานที่เกี่ยวข้องต้องประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อกำหนดแต่ละข้อ โดยเฉพาะข้อใหม่ๆ ของประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขให้ประชาชนมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและเห็นพ้อง”

ส่วนคุณ เลกงเหญื่อง ผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดบิ่งดิ่งห์ ได้เสนอว่า            “เพื่อให้ประมวลกฎหมายฉบับนี้สามารถเข้าสู่ชีวิต นอกจากทำการประชาสัมพันธ์แล้ว เราก็ต้องประกาศมติและเอกสารที่แนะนำข้ออื่นๆที่ยังไม่ถูกระบุในกฎหมายฉบับนี้ พร้อมทั้งต้องเฝ้าติดตามและตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแรงงานได้อย่างเต็มที่”

ประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขคือหนึ่งในประมวลกฎหมายขั้นพื้นฐาน 5 ฉบับของเวียดนาม ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยส่งเสริมประสิทธิผลและความก้าวหน้าของประมวลกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไขในการปกป้องสิทธิและผลประโยช์ของแรงงานและนายจ้าง ค้ำประกันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด