ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมายสากล

(VOVWORLD) - ตรงตามการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ ที่ประชุมพิเศษของกลุ่มควอด(QUAD) ประกอบด้วยสหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลียเมื่อกลางสัปดาห์นี้ ณ ประเทศญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นที่จะขยายความร่วมมือเพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์ “อินโด-แปซิฟิก” ที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมายสากล
ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมายสากล - ảnh 1บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มควอด(AFP)

เมื่อปี 2017 ในฟอรั่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวถึงข้อคิดริเริ่มสร้างสรรค์ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยเมื่อเดือนกันยายนปี 2019 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ประกาศรายงานเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี โดยยืนยันถึงวิสัยทัศน์และวิธีการเข้าถึงของสหรัฐที่มีความผูกพันกับแผนการแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของญี่ปุ่น นโยบายมุ่งสู่ตะวันออกของอินเดีย แผนการอินโด-แปซิฟิกของออสเตรเลีย นโยบายทิศใต้แบบใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลีและนโยบายใหม่ที่มีความผูกพันกับภูมิภาคทางทิศใต้ของไต้หวัน ประเทศจีน

ดังนั้น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มควอด ณ กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมาถือเป็นความพยายามล่าสุดของกลุ่มนี้ในการยืนยันถึงวิสัยทัศน์ที่เสมอต้นเสมอปลายและชัดเจนของกลุ่มควอดเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมาย

ให้ความเคารพกฎหมาย: ทัศนะที่ชัดเจนและเสมอต้นเสมอปลายของกลุ่มควอด

ในการประชุม ณ กรุงโตเกียว รัฐมนตรีต่างประเทศของ 4 ประเทศดังกล่าวได้เห็นพ้องผลักดันความสามัคคีเพื่อปฏิบัติภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อีกทั้งผลักดันความเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในฐานะประเทศเจ้าภาพ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โทชิมิตสึ โมเตกิ (Toshimitsu Motegi) ได้ย้ำว่า ในสภาวการณ์ที่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆและการแพร่ระบาดของโรคโควิด—19 ที่นับวันรุนแรงมากขึ้น สมาชิกกลุ่มควอดมีเป้าหมายร่วมกันคือผลักดันความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโลกและภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยวิสัยทัศน์มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติเป้าหมายนี้ ก่อนหน้านั้น ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 29 กันยายน รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โทชิมิตสึ โมเตกิ ได้เผยว่า หนึ่งในเนื้อหาสำคัญของการประชุมกลุ่มควอด ณ กรุงโตเกียวคือ “การผลักดันความเชื่อมโยงเพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้งมีความผันผวนอย่างซับซ้อน”

ก่อนการประชุม ณ กรุงโตเกียว 1 วัน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ออกแถลงการณ์โดยย้ำถึงวิสัยทัศน์ร่วมสหรัฐ-ญี่ปุ่นเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ทางการวอชิงตันยืนยันว่า จะร่วมมือกับทางการโตเกียวเพื่อเป้าหมายร่วมด้วยวิธีการเข้าถึงที่อาศัยกฎระเบียบและให้ความเคารพกฎหมายสากล ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซูงะ โยชิฮิเดะและประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้เห็นพ้องผลักดันความร่วมมือเพื่อสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างให้กลายเป็นความจริง โดยในการเจรจาทางโทรศัทพ์เป็นเวลา 25 นาที ผู้นำทั้งสองประเทศได้ยืนยันว่า จะผลักดันความร่วมมือเพื่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนคุณค่าขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับเสรีภาพ ประชาธิปไตยและการบริหารด้วยกฎหมาย

เช่นเดียวกันทัศนะนี้ หลังการประชุมเจ้าหน้าที่นักการทูตของกลุ่มควอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน กระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้ออกแถลงการณ์โดยยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ของกลุ่มควอดได้ยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นมุ่งสู่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง เจริญรุ่งเรืองและครอบคลุมบนพื้นฐานคุณค่าและหลักการร่วม ตลอดจนการให้ความเคารพกฎหมายสากล

ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมายสากล - ảnh 2การเจรจาระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐและญี่ปุ่น (KYODO)

ความสนใจร่วมของประชาคมโลกและสถานะของอาเซียน

ที่น่าสนใจคือ ในการกล่าวปราศรัยต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โทชิมิตสึ โมเตกิ ได้ยืนยันว่า ข้อคิดริเริ่มทางการทูตของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มได้ขยายผลในประชาคมโลกในขอบเขตที่กว้างขวางอย่างไม่เคยมีมาก่อน คำประกาศของรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากบรรดานักวิเคราะห์หลายคน โดยบรรดานักวิเคราะห์ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

ในทางเป็นจริง เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 อาเซียนได้อนุมัติ “วิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิก” ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ซึ่งถือเป็นก้าวเดินเชิงยุทธศาสตร์เพื่อธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการค้ำประกันสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวิสัยทัศน์แบบบูรณาการเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างที่อาศัยกฎหมายสากล ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้ช่วยอธิบายว่า ทำไมกลุ่มควอดให้ความสำคัญต่อบทบาทของอาเซียนในวิสัยทัศน์เกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ในคำประกาศเมื่อวันที่ 25 กันยายนของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เจ้าหน้าที่นักการทูตของกลุ่มควอดได้แสดงความพร้อมที่จะประสานกับอาเซียนและประเทศอื่นเพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์ร่วมและมีศักยภาพให้แก่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งกลุ่มควอดได้ระบุถึงการสนับสนุนที่มั่นคงต่อกลไกโดยอาเซียนเป็นศูนย์กลางและอาเซียนเป็นผู้นำ โดยเฉพาะการประชุมผู้นำเอเชียตะวันออกหรือ EAS ในโครงสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด