สนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่และความแตกแยกในสหภาพยุโรป

(VOVWORLD) - เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปหรืออียูได้เริ่มหารือเกี่ยวกับสนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่เพื่อมุ่งปฏิรูปนโยบายการลี้ภัยที่ถูกประเมินว่า ประสบความล้มเหลวในเวลาที่ผ่านมาและการแก้ไขความแตกแยกภายในกลุ่มที่เกิดจากปัญหาผู้อพยพ นี่เป็นครั้งแรกที่ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป 27 ประเทศได้หารือเกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้ แต่อย่างไรก็ตามการบรรลุเสียงพูดเดียวกันในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพของสหภาพยุโรปถือเป็นปัญหาที่ยากที่สุดในช่วงมาหลายปีที่ผ่านมา

สนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่และความแตกแยกในสหภาพยุโรป - ảnh 1การประชุมรัฐมนตรีมหาดไทยของยุโรปผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ซึ่งจัดโดยเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม (AFP) 

จำนวนผู้อพยพมากกว่า 1 ล้านคนในยุโรปในปี 2015ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรียได้สร้างวิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดให้แก่สหภาพยุโรป สร้างภาระอันใหญ่หลวงให้แก่ความมั่นคงและระบบสวัสดิการสังคมของหลายประเทศ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดลัทธิขวาจัดในยุโรป จนทำให้ใน5 ปีต่อมาประเทศต่างๆในอียูยังคงไม่สามารถหาวิธีการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากกระแสผู้อพยพนี้ได้

การปรับเปลี่ยนสนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานใหม่

เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีได้ประกาศนโยบายใหม่เกี่ยวกับการอพยพและการลี้ภัย โดยประเด็นสำคัญที่สุดของสนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่คือการเสนอให้ยกเลิกโควต้ารับผู้อพยพ เพราะแต่ละปีอีซีจะพิจารณาและกำหนดจำนวนผู้อพยพที่จะเปิดรับโดยอ้างอิงจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ประชากรและความสามารถของแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งข้อกำหนดใหม่นี้ถูกมองว่า สามารถแก้ไขความชะงักงันที่มีมาช้านานเมื่อบางประเทศในสหภาพยุโรปคัดค้านระเบียบการจัดสรรค์โควต้ารับผู้ลี้ภัยเนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่มีความเป็นธรรม

ควบคู่กับการแก้ไขอีซีก็เสนอมาตราใหม่แทน โดยประเทศสมาชิกที่ไม่สมัครใจรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเติมจะต้องเพิ่มเงินช่วยเหลือ ซึ่งเงินส่วนนี้จะเน้นนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้อพยพออกจากประเทศ โดยเงินช่วยเหลือจะคำนวณตามความสามารถทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรของแต่ละประเทศสมาชิก ข้อกำหนดใหม่นี้ถือเป็นการลดแรงกดดันต่อประเทศแนวหน้าผ่านการเปิดใช้กลไก "บังคับให้สามัคคี" โดยให้ประเทศสมาชิกเลือกว่าจะเปิดรับผู้อพยพหรือสนับสนุนประเทศที่รับผู้อพยพ

เพื่อลดภาระให้แก่ประเทศต่างๆคณะกรรมาธิการยุโรปจะอุดหนุนเงินให้แก่ประเทศที่รับผู้อพยพเป็นเงิน 10,000 ยูโรต่อคนและ 12,000 ยูโรสำหรับผู้อพยพที่เป็นผู้เยาว์

ตามรายงานของอีซีสนธิสัญญาการเข้าเมืองและถิ่นที่อยู่ฉบับใหม่จะเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ สร้างโอกาสใหม่เพื่อเสริมสร้างและรักษาคุณค่าด้านมนุษยธรรมของสหภาพยุโรปยืนยันความสามารถของกลุ่มในการค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ลี้ภัย

สนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่และความแตกแยกในสหภาพยุโรป - ảnh 2ผู้อพยพบนเกาะ Lesvos ประเทศกรีซ  (AFP)

 ความแตกต่างที่ยังคงมีอยู่

นโยบายใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของสหภาพยุโรปในการสร้างระบบการมีส่วนร่วมที่ยืดหยุ่น” แต่มีลักษณะบังคับให้ร่วมมือเมื่อแรงกดดันจากปัญหาผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์ตัดสินจำนวนผู้ลี้ภัยที่จะรับ สนับสนุนเงินแก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ หรือช่วยเหลือผู้อพยพกลับบ้านเกิด แต่ไม่อนุญาตให้มีปฏิบัติการเพียงลำพัง

คาดว่านโยบายใหม่นี้จะได้ใช้อย่างเป็นทางการในปี 2023  แต่เพื่อได้รับการอนุมัติ สนธิสัญญาฉบับนี้ต้องได้รับความเห็นพ้องจาก 27 ประเทศสมาชิกของอียูและรัฐสภายุโรป หลังการหารือเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ข้อมูลและผลการประชุมมีไม่มากนัก มีเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของเยอรมัน โฮร์สต์ ซีโฮเฟอร์ (Horst Seehofer)ผู้แทนเยอรมนีซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของสหภาพยุโรปที่เปิดเผยว่า "มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน" ถึงแม้ทุกฝ่ายได้บรรลุความเห็นพ้องในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับด้านที่ได้บรรลุความเห็นพ้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สนธิสัญญาฉบับนี้ยังไม่ได้รับการขานรับในยุโรปและผลการหารือไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

นโยบายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยไม่เคยเป็นเรื่องง่ายสำหรับสหภาพยุโรปเพราะปัญหาผู้อพยพเป็นความท้าทายสำหรับทั้งกลุ่ม ซึ่งเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างทั่วถึงสหภาพยุโรปจำเป็นต้องบรรลุความเห็นพ้องในนโยบายผู้อพยพและผู้ลี้ภัย แต่จากการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าสนธิสัญญาการย้ายถิ่นฐานฉบับใหม่เป็นเรื่องยากที่จะบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในเดือนธันวาคมนี้ตามความประสงค์ของเยอรมนีซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของสหภาพยุโรป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด