หลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนาม“เป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชน”

(VOVWORLD) - เวียดนามกำลังพยายามสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เรียนรู้ความดีเลิศของมนุษยชาติ ลงทุนด้านวัฒนธรรมและวรรณศิลป์ควบคู่กับการพัฒนามนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกระบุและเป็นการสานต่อหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943
หลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนาม“เป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชน” - ảnh 1นาย ตะกวางดง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมรำลึกครบรอบ 80ปีการอนุมัติหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนาม (VGP)

มติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯ ที่ตำบลหวองลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1943 ในเอกสารการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยต่างๆระบุว่า “พรรคต้องส่งเสริมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมดำเนินกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ก้าวหน้า วัฒนธรรมกู้ชาติเพื่อต่อต้านวัฒนธรรมแบบฟาสซิสต์ที่ล้าหลัง”ซึ่งมีการอนุมัติหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943ที่ ประกอบด้วย5ประเด็นหลักคือ วิธีการเข้าถึงประเด็น ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนาม ผลกระทบจากการอยู่ภายใต้การปกครองของฟาสซิสต์ญี่ปุ่นและนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส การปฏิวัติด้านวัฒนธรรมเวียดนาม และหน้าที่เร่งด่วนของนักวัฒนธรรมลัทธิมาร์กซ์

การเป็นเข็มทิศนำทาง

ในหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943 นับเป็นครั้งแรกที่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามระบุถึง 3 ระยะการพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนาม แนวโน้มการพัฒนาวัฒนธรรม รวมถึงลักษณะ ขอบเขตและบทบาทของวัฒนธรรมในระยะต่างๆ อีกทั้งระบุถึงโลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดการปฏิวัติและวัตถุนิยมวิภาษวิธีเพื่อยืนยันบทบาทและสถานะของวัฒนธรรมในการเป็นหนึ่งใน 3 เสาหลักคือการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็นพลังภายในและเป็นพื้นทางทางจิตใจของสังคม พรรคฯยังได้ระบุถึงการพัฒนาวัฒนธรรมตามแนวทาง “มีความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีความใกล้ชิดกับประชาชนและมีภาวะวิสัย” “หน้าที่ที่เร่งด่วนเฉพาะหน้า”ของนักลัทธิมาร์กซ์ “สิ่งที่ต้องทำ”และ “วิธีการปฏิบัติ”เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชาติ ศ. ฟองเล อดีตหัวหน้าสถาบันวรรณกรรมสังกัดสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์เวียดนามได้วิเคราะห์ว่า

“หลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943 ได้ชี้ชัดว่า ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อ 3 ด้านได้แก่การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม อีกทั้งระบุถึงทฤษฎีวัฒนธรรม อุดมการณ์ การเรียนรู้และศิลปะควบคู่กับองค์ความรู้ ซึ่งรัฐบาลเฉพาะกาลนำโดยประธานโฮจิมินห์ในช่วงนั้นสามารถรวบรวมปัญญาชนที่มีความสามารถเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ”

ทั้งนี้ หลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามถือเป็นเข็มทิศนำทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชาติ เป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชนทั้งในช่วงทำการปฏิวัติ หลังการปลดปล่อยประชาชาติและวางแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมในอนาคต โดยในการประชุมวัฒนธรรมทั่วประเทศครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนปี 1946 ประธานโฮจิมินห์ได้ย้ำถึงบทบาทของวัฒนธรรมต่อภารกิจการสร้างสรรค์ พิทักษ์รักษาและพัฒนาประเทศและยืนยันถึงการที่ “วัฒนธรรมเป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชน”

วัฒนธรรมเวียดนามเป็นประทีปส่องทางให้แก่ประชาชน  

จากการสานต่อและส่งเสริมเจตนารมณ์และวิธีการเข้าถึงปัญหาในหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943 พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้วางยุทธศาสตร์ใหม่ด้านวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับระยะต่างๆ เช่น ในภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศและย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ได้มีมติที่ 03 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 5 สมัยที่ 8 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ปี 1998 เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนาที่ก้าวหน้าและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  ส่วนในกระบวนการโลกาภิวัตน์ การผสมผสานเข้ากับกระแสโลก การสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาประเทศเวียดนามตามแนวทางสังคมนิยม ได้มีมติที่ 33 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 9 สมัยที่ 11 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนปี 2014 เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมและคนเวียดนามให้ตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการขยายขอบเขตวัฒนธรรมให้ครอบคลุมด้านต่างๆมากขึ้น เช่น อุดมการณ์ จริยธรรม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม การศึกษาและฝึกอรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วรรณศิลป์ กลไกสื่อสารมวลชน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ ระเบียบการด้านวัฒนธรรม เป็นต้น มีการวิเคราะห์ถึงบทบาท สถานะและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาวัฒนธรรมอย่างรอบด้านและสมบูรณ์ โดยถือวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจของสังคม เป็นทั้งเป้าหมายและพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพรรคฯต้องชี้นำขบวนการวัฒนธรรม โดยในการประชุมวัฒนธรรมทั่วประเทศครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนปี 2021 เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เหงวียนฟู้จ่องได้ยืนยันทัศนะของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคือให้ความสำคัญต่อบทบาทของวัฒนธรรม “วัฒนธรรมสะท้อนอัตลักษณ์ประชาชาติและเป็นปัจจัยชี้ขาดต่อการคงอยู่ของประเทศ” ศ.ดร.หวูวันเหี่ยน อดีตรองประธานสภาทฤษฎีส่วนกลางได้เผยว่า

“เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เหงวียนฟู้จ่องได้ชี้ชัดถึงทัศนะและการวิเคราะห์ในเชิงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรม ซึ่งในสภาวการณ์ใหม่ ต้องพัฒนาวัฒนธรรมอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเพื่อนำประเทศพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกและสถานะของประเทศนับวันได้รับการยกระดับให้สูงเด่นมากขึ้นบนเวทีโลก”

ในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกย่างกว้างลึกในปัจจุบัน ต้องสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้า เป็นเอกลักษณ์ของชาติ เรียนรู้ความดีเลิศของมนุษยชาติ ลงทุนด้านวัฒนธรรมและวรรณศิลป์ควบคู่กับการพัฒนามนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน ส่วนในการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ต้องปฏิบัติเป้าหมายประชาชนมั่งคั่ง ประเทศเจริญเข้มแข็ง มีประชาธิปไตย มีความยุติธรรม อารยธรรมและก้าวไปสู่สังคมนิยม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกระบุและเป็นการสานต่อหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมเวียดนามปี 1943

จากการปฏิบัติตามหลักนโยบายด้านวัฒนธรรมดังกล่าวและสานต่อนักลัทธิมาร์กซ์รุ่นก่อนๆ เจ้าหน้าที่ดูแลวัฒนธรรมได้เดินหน้าสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติและพัฒนาประชาธิปไตยมากขึ้นเพื่อมุ่งสู่วัฒนธรรมการปฏิวัติที่ก้าวหน้า เอกราชประชาประชาชาติ ลัทธิสังคมนิยม ปฏิบัติตามลัทธิมาร์กซ-เลนินและแนวคิดโฮจิมินห์เพื่อความผาสุก การพัฒนามนุษย์อย่างรอบด้าน อิสระ สร้างสรรค์คนเวียดนามที่รักชาติ อิสระ พึ่งตนเองและมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด