หัวเลี้ยวหัวต่อของเวทีการเมืองญี่ปุ่น

(VOVWORLD) - ในหลายวันที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองของญี่ปุ่นหลังการประกาศจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของนาย ซูงะ โยชิฮิเดะ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกและภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาที่ว่า ใครจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนาย ซูงะ โยชิฮิเดะ และนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะรับมือความท้าทายในปัจจุบันนี้อย่างไร
หัวเลี้ยวหัวต่อของเวทีการเมืองญี่ปุ่น - ảnh 1นายกรัฐมนตรี ซูงะ โยชิฮิเดะ ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (AFP/VNA)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน ในการประชุมของพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือ LDP ที่กุมอำนาจ นายกรัฐมนตรี ซูงะ โยชิฮิเดะ ได้ประกาศว่า จะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานพรรค LDP  ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายเดือนกันยายนนี้ ซึ่งหมายความว่า นายซูงะ โยชิฮิเดะ จะลาออกจากตำแหน่งผู้นำประเทศ

นายกรัฐมนตรี ซูงโยชิฮิเดะ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

เมื่อวันที่ 16 กันยายนปี 2020 นาย ซูงะ โยชิฮิเดะ ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสภาล่างญี่ปุ่นเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนาย ชินโซ อาเบะ ที่ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ในช่วงเวลาที่นาย ซูงะ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี  ดัชนีความเชื่อมั่นต่อครม.ญี่ปุ่นสูงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความความคาดหวังของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า เหมือนกับประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่นกำลังรับมือการแพร่ระบาดที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผลการประเมินในช่วงต้นเดือนกันยายนปี 2021 ของ Nikkei Asia ปรากฎว่า เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกนี้มีดัชนีการฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด -19 ในเดือนสิงหาคมปี 2021 อยู่อันดับที่ 72 จาก 121 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ซึ่งหมายความว่า นายกรัฐมนตรีซูงะ โยชิฮิเดะ และสมาชิกของรัฐบาลต้องเผชิญกับข้อตำหนิต่างๆจากประชาชน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลของนาย ซูงะ ได้ลดลงเหลือเพียงร้อย 30 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเป็นอย่างมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยอธิบายเกี่ยวกับคำประกาศที่จะไม่สมัครเข้าร่วมการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรี ซูงะ โยชิฮิเดะ เพื่อใช้เวลาที่เหลือในวาระมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทายต่างๆ

ที่ญี่ปุ่น การลาออกจากตำแหน่งของนักการเมือง รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นายกรัฐมนตรี ซูงะ โยชิฮิเดะ ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่เป็นผู้นำรัฐบาลเป็นเวลา 1 ปี ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 2006-2012 มีนักการเมืองถึง 6 คนขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งประมาณ 2 เดือน คือนายกรัฐมนตรี สึโตมุ ฮาตะ ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งในระหว่างเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายนปี 1994 ส่วนนายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ ในวาระแรก ก็ดำรงตำแหน่งเพียง  1 ปีเท่านั้นคือช่วงปี 2006-2007

ดังนั้น สิ่งที่ได้รับความสนใจคือ ใครจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนาย ซูงะ และเป็นผู้นำพรรค LDP คนต่อไป ปัจจุบัน สื่อญี่ปุ่นและประชามติญี่ปุ่นกำลังพูดถึงผู้ที่อาจเข้าร่วมการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานของพรรค LDP เช่น อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและการสื่อสาร ซานาเอะ ทาคาอิจิ รัฐมนตรีด้านปฏิรูปการบริหาร ทาโร โคโนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชิเงรุ อิชิบะ และอดีตนายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ

นักวิเคราะห์ได้ระบุว่า ไม่ว่านักการเมืองคนใดจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของพรรค LDP หลังการเลือกตั้ในปลายเดือนกันยายนนี้ ต่างก็ต้องเผชิญกับแรงกดดันและความท้าทายมากมาย ซึ่งก่อนอื่นคือการค้ำประกันให้พรรค LDP ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ในสภาวการณ์ที่ชื่อเสียงของพรรค LDP กำลังลดลง นอกจากนี้ก็ต้องควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูการขยายตัวของเศรษฐกิจและค้ำประกันบทบาทการเป็นประเทศมหาอำนาจในด้านเศรษฐกิจบนเวทีโลกของญี่ปุ่น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด