เวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันสิทธิมนุษยชนในโลก

(VOVWORLD) -  เวียดนามได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติวาระปี 2023-2025 ในฐานะตัวแทนของอาเซียน โดยนาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ประกาศเกี่ยวกับการตัดสินใจนี้ของเวียดนามในการประชุมครั้งที่ 46 สภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การที่เวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติอีกครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อมีส่วนร่วมปกป้องสิทธิของมนุษย์ในโลกผ่านผลสำเร็จในการปกป้องสิทธิมนุษยชน์ภายในประเทศ
เวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันสิทธิมนุษยชนในโลก - ảnh 1นาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ประกาศว่า  เวียดนามจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติวาระปี 2023-2025 ในฐานะเป็นตัวแทนของอาเซียน (VGP)

เมื่อกล่าวถึงระบอบการเมืองที่ก้าวหน้าและประเทศที่มีอารยธรรม ก็ต้องดูว่า ระบอบการเมืองและทางการประเทศนั้นๆให้ความสนใจค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์หรือไม่ โดยเวียดนามกำลังพยายามสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยมของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ซึ่งหลังจากก่อตั้งประเทศตามระบอบประชาธิปไตยสังคมนิยมจนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้ยืนหยัดเป้าหมายปกป้อง ส่งเสริมและค้ำประกันสิทธิของมนุษย์ให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม

สิทธิของมนุษย์ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ

ในปฏิญญาเอกราชที่ประธานโฮจิมินห์เป็นผู้เขียนและอ่านต่อหน้าสาธารณชนเมื่อวันที่ 2 กันยายนปี 1945 เพื่อสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามระบุว่า “ทุกประชาชาติในโลกถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน มีสิทธิที่จะมีชีวิต มีสิทธิเสรีภาพ และมีสิทธิได้รับความสุข” โดยผ่านการยืนยันคุณค่าของประชาชาติที่สะท้อนให้เห็นจากสิทธิความเสมอภาค สิทธิในการมีชีวิต มีความสุขและมีเสรีภาพ ประธานโฮจิมินห์ได้ย้ำว่า สิทธิของมนุษย์จะได้รับการค้ำประกันก็ต่อเมื่อมีความผูกพันกับสิทธิแห่งเอกราชและเสรีภาพของประชาชาติ และในชื่อของประเทศเวียดนามอยู่คู่กับคำขวัญของประเทศที่ว่า  “เอกราช-เสรีภาพ-ความผาสุก” ซึ่งหมายความว่า เป้าหมายที่เสมอต้นเสมอปลายของประชาชาติเวียดนามคือค้ำประกันประชาชาติที่มีเอกราช ประชาชนมีอิสระ เสรีและมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก

สิ่งที่น่าสนใจคือในรัฐธรรมนูญปี 1946 รัฐธรรมนูญปี 1959 รัฐธรรมนูญปี 1980 รัฐธรรมนูญปี 1992 และรัฐธรรมนูญปี 2013 ต่างกำหนดเรื่องสิทธิของมนุษย์และสิทธิพลเมือง โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2013 มี 1 บรรพเกี่ยวกับสิทธิของมนุษย์ สิทธิและหน้าที่ขั้นพื้นฐานของพลเมือง โดยต่อจากมาตราที่ 1 ที่ระบุถึงอำนาจอธิปไตยทางภูมิศาสตร์ มาตราที่ 2 ก็ได้ยืนยันถึงหลักอำนาจอธิปไตยสูงสุดที่เป็นของประชาชน นั่นคือ “รัฐสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามคือนิติรัฐของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” และนับเป็นครั้งแรกที่คำว่า “Nhân Dân” หรือแปลว่า ประชาชน ถูกพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ในรัฐธรรมนูญเพื่อย้ำถึงสถานะและบทบาทชี้ขาดของประชาชนในประวัติศาสตร์และในภารกิจการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาปิตุภูมิ ส่วนในช่วงปี 2014-2019 รัฐเวียดนามได้ประกาศใช้เอกสารประกอบกฎหมายและกฤษฎีกากว่า 100 ฉบับเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิของมนุษย์และสิทธิของพลเมือง ซึ่งเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า หลังจากปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน เวียดนามนับวันตระหนักได้ดีและค้ำประกันสิทธิของมนุษย์ในทุกด้านทั้งการเมือง พลเรือน เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม

สิทธิของมนุษย์ได้รับการค้ำประกันในทุกด้าน

ผลสำเร็จในการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในเวียดนามในตลอดกว่า 75ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นจากผลงานในทุกด้าน โดยเฉพาะก้าวพัฒนาที่ข้ามขั้นในด้านเศรษฐกิจหลังการปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ในตลอดเกือบ 35 ปี โดยจากเศรษฐกิจการเกษตรที่ล้าหลังและมีจีดีพีที่ 1 หมื่น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 1985 ในปี 2019 จีดีพีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสน 4 หมื่น 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ติดกลุ่ม 40 เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและอยู่อันดับ 4 ในกลุ่มอาเซียน ส่วนตามมาตรฐานของธนาคารโลก รายได้ของประชาชนเวียดนามในปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 9 พันดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการขยายตัวด้านเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานให้แก่การปฏิบัตินโยบายสวัสดิการสังคม วัฒนธรรมและสังคม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นจากดัชนีพัฒนามนุษย์หรือ HDI   ของเวียดนามในปี 2020 อยู่ที่ 0.704 อยู่อันดับที่ 117 จาก 189 ประเทศและดินแดน ติดกลุ่มประเทศที่มีดัชนี HDI  ในระดับสูง ซึ่งนี่เป็นความสำเร็จที่ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีรายได้ปานกลางในระดับต่ำจะทำได้และสิ่งนี้ช่วยให้เวียดนามถูกระบุในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวดัชนี HDI สูงที่สุดในโลก

หนึ่งในผลสำเร็จด้านสิทธิมนุษยชนที่สะท้อนความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้งคือเวียดนามได้ให้ความสนใจปกป้องและค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่กลุ่มเสี่ยงในสังคม จนถึงปัจจุบัน พรรคและรัฐเวียดนามได้ประกาศนโยบาย 118 ฉบับเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และค้ำประกันสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ซึ่งการปฏิบัตินโยบายต่างๆอย่างพร้อมเพรียงได้ช่วยให้อัตราครอบครัวที่ยากจนตามแนวทางการเข้าถึงหลายมิติได้ลดลงจากร้อยละ 9.88 เมื่อปี 2015 ลงเหลือร้อยละ 2.75 ในปี 2020 นอกจากนี้ การดูแลและค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่กลุ่มเสี่ยงในสังคมยังสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในสภาวการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ต่ำที่สุดในโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พรรคและรัฐเวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณค่าสูงสุดของมนุษยชน

จากการเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากโอกาสและความสะดวก ปัจจุบัน เวียดนามก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายไม่น้อย ลักษณะที่ดีเลิศและก้าวหน้าของระบอบที่ทั้งประชาชาติได้เลือกเฟ้นและยืนหยัดปฏิบัติผ่านการอนุมัติและปฏิบัติแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่ถูกต้องและสอดคล้องกับแนวโน้มของยุคสมัยได้ช่วยสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและวัฒนธรรมเพื่อค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น การเดินหน้าปฏิบัติเป้าหมายค้ำประกันสิทธิมนุษยชนคือคำมั่นของเวียดนาม ประเทศต่างๆและประชาคมโลกในการปฏิบัติสิ่งที่มีค่าเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ถูกระบุใน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”อย่างมีประสิทธิภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด