การนับปฏิทินของชนเผ่าไทในจังหวัด เซินลา

(VOVWORLD) -เป็นเวลานานมาแล้วที่ชุมชนเผ่าไทในจังหวัดเซินลาได้มีวิธีการนับปฏิทินแบบเฉพาะเพื่อใช้ในทุกกิจกรรมในชีวิตไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ การผลิตตามฤดูกาล เป็นต้น สำหรับประเพณีนี้เป็นอย่างไรขอเชิญท่านฟังสารคดีเรื่อง การนับปฏิทินของชนเผ่าไทในจังหวัด เซินลา ของนักข่าวเลืองแหง
การนับปฏิทินของชนเผ่าไทในจังหวัด เซินลา - ảnh 1
ปฏิทินของเผ่าไทเป็นปฏิทินจันทรคติ มีการนับเวลาโดยอาศัยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ ซึ่งมีรอบการเปลี่ยนคือ 1 เดือน  เวลา 1 เดือนในภาษาเผ่าไทใช้คำ "bươn" หรือก็คือ “เดือน”  หนึ่งปีของปฏิทินไทดำก็มี 12 เดือนเหมือนกับปฏิทินสุริยคติ แต่มีการคลาดเคลื่อนกับปฏิทินสุริยคติและปฏิทินจันทรคติที่ชนชาติกิงกำลังใช้กันถึง 6 เดือน  ในวรรณคดีโบราณและกลอนพื้นบ้านของเผ่าไทได้มีการใช้เดือนเพื่อพูดถึงสภาพอากาศ เช่น “เดือนอ้ายฝนตกพรำๆ เดือนยี่ฝนตกเป็นบางที่ เดือนสามน้ำเต็มตลิ่ง เดือนสี่น้ำหยดติ๋งๆ เดือนห้าฝนลาดอกเลา เดือนหกฟ้าร้องนำหนาวมา...”  โดยชาวบ้านได้ดูจากปรากฎการณ์ธรรมชาติเพื่อทราบฤดูกาลจะได้ทำไร่ทำนาให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ นายหล่อ วัน จุง ตำบลเจียง เล นครเซิน ลา เป็นผู้ศึกษาปฏิทินของชาวเผ่าไท เผยว่า  “เมื่อก่อนชาวบ้านมักจะดูจากผลไม้ในป่าถ้าเริ่มสุกก็ถึงฤดูทำนาปลูกข้าว เช่น เมื่อเห็นผล “ไฮ” สุกก็จะหว่านเมล็ดข้าว เห็นผล “หา” สุกก็จะดำกล้า  แต่ในหมู่บ้านเผ่าไทยังคงมีคนที่มีสมุดบันทึกการนับปฏิทินเพื่อดูฤกษ์ยามให้ชาวบ้านไปหาขอฤกษ์งามยามดีได้”

นอกจากการนับปฏิทินด้วยการสังเกตุดูรูปร่างของพระจันทร์บนท้องฟ้าเพื่อคำนวณวันเดือนปีแล้ว ในแต่ละชุมชนยังมีผู้ที่ชำนาญการในเรื่องนี้เรียกว่า “ปอ” หรือ “ปอหมึอ” ซึ่งเป็นคนที่ดูฤกษ์ดูยามให้คนในพื้นที่และเขาจะมีสมุดจดบันทึกการนับปฏิทินเรียกว่า “ sổ chong bàng”    โดยในวรรณคดีโบราณของชนเผ่าไทนั้นยังมีคำบรรยายรูปร่างของพระจันทร์ในช่วงวันเพ็ญและข้างแรมที่หมายถึงการมองเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเป็นเสี้ยว บางช่วงเป็นเสี้ยวเล็ก บางคืนเสี้ยวใหญ่ บางคืนสว่างเต็มดวง บางคืนก็มืดทั้งดวง ในการนับปฏิทินของชนเผ่าไทยังมีการใช้ระบบ Can หรือ ราศีบน 10 อัน และ Chi หรือ ราศีล่าง 12 อัน  นายหล่อเซืองฮัก อายุ 95ปี ชาวบ้าน เจี่ยงดง อำเภอต่วนย้าว จังหวัดเดียนเบียนเผยว่า“การนับปฏิทินของชาวเผ่าไทต่างกับชนเผ่าอื่นโดยมักสังเกตุดูรูปพระจันทร์บนท้องฟ้าเพื่อคำนวณวันเดือนปี  และผู้มีประสบการณ์จะสามารถดูออกว่าปีไหนฝนจะมาก  ส่วนเรื่องของลมจะดูที่ต้นไม้และพฤติกรรมของมด หากมดทำรังในที่ต่ำ ลมจะแรง แต่ถ้ามดทำรังในที่สูงจะไม่ค่อยมีลมพายุในปีนั้น”

จากการมองเห็นความจำเป็นของการอนุรักษ์และสืบทอดปฏิทินไทเดิม นาย ก่า วัน จุง ชาวเผ่าไท อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีจังหวัดเซินลา จึงได้เสนอและดำเนินโครงการวิจัยหัวข้อ “ศึกษา รวบรวมปฏิทินไทจังหวัดเซิน ลา และสร้างโปรแกรมปฏิทินไทในคอมพิวเตอร์” เขาได้สร้างโปรแกรมปฏิทินไทเดิมในคอมพิวเตอร์สำเร็จในปี 2005 ซึ่งสามารถค้นหาวันที่ได้ในระยะเวลาถึง 400ปี ตั้งแต่ปี 1800 ถึงปี 2199 และเทียบเคียงระหว่างปฏิทินสุริยคติ ปฏิทินจันทรคติทั่วไปของเวียดนาม และปฏิทินของเผ่าไท นายก่า วัน จุง เผยว่า“เราได้ทำโปรแกรมปฏิทินของเผ่าไทในคอมพิวเตอร์แล้ว สมาคมวรรณกรรมพื้นบ้านเวียดนามก็ได้ตีพิมพ์ปฏิทินของเผ่าไทเป็นเล่มมีทั้งหมด 7 ตอน ซึ่งปฏิทินนี้สามารถดูเวลาได้ถึง 400 ปี  ผมหวังว่าจะมีคนรู้จักปฏิทินเผ่าไทมากขึ้น”

ด้วยการนับปฏิทินตามวิธีเฉพาะ ปฏิทินของเผ่าไทนั้นถือเป็นมรกดวัฒนธรรมที่มีค่าที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้แก่คลังวัฒนธรรมของชุมชนเผ่าไทที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด