เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเกอตูบนเทือกเขาเจื่องเซิน

(VOVworld)- ชนเผ่าเกอตู(Cơ Tu)ในครอบครัวใหญ่รวม54ชนเผ่าของเวียดนามมีประชากรกว่า6หมื่นคนที่ส่วนใหญ่อาศัยบนเทือกเขาเจื่องเซิน แม้ชีวิตที่เงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาเขียวที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของสังคมแต่ชาวเกอตูก็ยังพยายามอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าตนเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์


(VOVworld)- ชนเผ่าเกอตู(Cơ Tu)ในครอบครัวใหญ่รวม54ชนเผ่าของเวียดนามมีประชากรกว่า6หมื่นคนที่ส่วนใหญ่อาศัยบนเทือกเขาเจื่องเซินซึ่งอยู่ในเขตปกครองของจังหวัดหลายแห่งคือ กว๋างนาม  เว้ ดานังและนครโฮจิมินห์ แม้ชีวิตที่เงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาเขียวที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของสังคมแต่ชาวเกอตูก็ยังพยายามอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าตนเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเกอตูบนเทือกเขาเจื่องเซิน - ảnh 1
บ้านเกือล (Gươl)

ชาวเกอตูส่วนใหญ่อาศัยในอ.นามยาง ดงยาง เตยยางของจ.กว๋างนาม โดยสร้างเป็นชุมชนใหญ่ที่ลงหลักปักฐานท่ามกลางป่าเขาและก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆในเตยเงวียน สัญลักษณ์แห่งความอิ่มหนำผาสุกของหมู่บ้านได้สะท้อนให้เห็นจากบ้างกลางที่ตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านที่เรียกว่า บ้าน เกือล(Gươl) ชาวเกอตูได้ออกแบบบ้านกลางคล้ายรูปทรงงอบหรือหลังเต่า ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆในเขตเขาภาคกลางตอนใต้ หลังคาบ้านเกือลนี้มุงด้วยจากและไม่สูงมากเหมือนบ้านโรงของชนเผ่าอื่นๆ ส่วนรูปสัตว์ที่มักจะตกแต่งรอบบ้านนั้นส่วนใหญ่เป็นควาย นกพิราบ ตัวเงินตัวทองและสัตว์ป่าที่จับได้ นอกจากนั้นก็มีภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศการดำเนินชีวิตทางวัฒนธรรมของชาวเกอตูด้วย เช่นสาวเกอตูในท่ารำตูงตูงยาย้า นาย เบอลิงเบอเฮ ชาวบ้านเบอห่ง เผยว่าสำหรับชาวเกอตู บ้านเกือล มีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์และเป็นจิตวิญญาณของทั้งหมู่บ้าน ดังนั้นหากชุมชนไหนยังไม่ตั้งบ้านกลางนี้ก็ถือว่ายังไม่เป็นหมู่บ้าน

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเกอตูบนเทือกเขาเจื่องเซิน - ảnh 2
เทศกาลแทงกระบือ

วิถีชีวิตของชาวเกอตูสมัยก่อนอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาทำไร่และล่าสัตว์ในเทือกเขาเจื่องเซินดังนั้นทุกคนจึงมีความเชื่อต่อพระเจ้าหรือเรียกว่าหย่างและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โดยควายถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในการเซ่นไหว้และก็เป็นสัตว์เลี้ยงที่ถือว่ามีความผูกพันธ์ที่สุด ชาวเกอตูเชื่อว่า หลังจากได้รับสิ่งของเซ่นไหว้จากชาวบ้านแล้ว เทวดาฟ้าดินจะดลบันดาลให้ทุกคนคลาดแคล้วจากโรคภัยและสิ่งอัปมงคลต่างๆ ขับไล่ผีป่าและชีวิตมีความสงบสุข ดังนั้นเทศกาลแทงกระบือของชนเผ่าเกอตูยังมีความหมายขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและชาวบ้านทุกคนได้อยู่เย็นเป็นสุข นาย เบอลิง เบอลอ ชาวบ้านนามยาง ได้กล่าวถึงพิธีเซ่นไหว้อันศักดิ์สิทธิ์นี้ว่าสิ่งของที่เตรียมไว้เพื่อทำพิธีต้องมีปลา หนู กระรอก ไก่ ยอดหวายอ่อนและเนื้อชนิดต่างๆที่ย่างสุกแล้ว ในแต่ละวันจะต้องเตรียมงานเช่นเลือกผู้ทำพิธีแทงกระบือก็ต้องมีพิธีเซ่นไหว้ด้วยไก่หนึ่งตัวและในวันจัดพิธีก็ต้องมีไก่ด้วยเพื่อโยนไปบนหางควายตอนที่ควายถูกแทงจนล้ม
เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเกอตูบนเทือกเขาเจื่องเซิน - ảnh 3
เครื่องเซ่นไหว้ต้องมีไก่

ในวิถีชีวิตในชุมชนชาวเกอตูก็ต้องพูดถึงศิลปะพื้นบ้านที่เรียกว่า ฮาตลี้-น้อยลี้ ซึ่งเป็นการแสดงด้วยวาจาที่มีลีลาซึ่งได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องในทุกหมู่บ้านและมักจะใช้ในงานเทศกาลหรือในงานมงคลต่างๆ     สำหรับลักษณะของการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์นี้เป็นการประลองความสามารถระหว่างผู้อาวุโสของหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านด้วยกันหรือระหว่างเจ้าบ้านกับแขก บางทีวิธีนี้ยังถูกใช้ในงานไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในชุมชนหรือในการสนทนาปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนที่ไม่สามารถพูดกันแบบตรงๆอีกด้วย โดยความหมายของการใช้วาจาที่มีลีลานี้มักจะแฝงคติสอนใจหรือมีความหมายที่ลึกซึ้งเพื่อให้ผู้ฟังต้องครุ่นคิด หากใครพูดเก่งก็จะสามารถใช้คำที่มีหลายความหมายนาย เบอริว จิง ผู้ใหญ่บ้าน เบอห่ง เผยว่าผู้สูงอายุในหมู่บ้านแสดงศิลปะพื้นเมืองนี้ได้ไพเราะมากแถมยังถือเป็นคติสอนใจให้ลูกหลานต้องตระหนักเสมอว่า พยายามทำงานให้ดี ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งที่ดีงาม ยกเลิกประเพณีที่ล้าหลังเพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตใหม่ นอกจากนี้ก็มีการให้การศึกษาศิลปะที่โดดเด่นนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป

วัฒนธรรมของชนเผ่าเกอตูในเทือกเขาเจื่องเซินยังมีหลายอย่างที่น่าค้นคว้าซึ่งในรายการสีสัน54ชนเผ่าสัปดาห์หน้าทางรายการจะขอแนะนำการระบำ ตูงตูงยาย้า ของชาวเกอตู./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด